กรมชลฯ ปรับเพิ่มระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดระดับสูงท้ายเขื่อนสูงขึ้น 20-80 ซม.

กรุงเทพฯ 9 ต.ค. – กรมชลประทานคาดน้ำเหนือจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น จากฝนที่ตกระหว่างวันที่ 8-11 ต.ค. จึงเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่ง แต่ยังจำเป็นเพิ่มปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเป็น 1,500-1,800 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาด้านท้ายเขื่อนสูงขึ้น 20-80 เซนติเมตร สทนช. เตือน 26 จังหวัด 4 ลุ่มน้ำ เฝ้าระวังน้ำท่วม-น้ำหลาก และน้ำล้นตลิ่งระหว่าง 9-15 ต.ค.นี้ กรมชลประทานแจ้งว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงที่ผ่านมาร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้มีน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 8 – 11 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้น้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ในช่วงวันที่ 9 – 15 ตุลาคม 2566 โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำท่า C.2 จ.นครสวรรค์ […]

“ธรรมนัส” สั่งกรมชลฯ ติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด

กรุงเทพฯ 6 ต.ค.- รมว. ธรรมนัสสั่งกรมชลประทานให้เตรียมรับน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุดกรมชลประทานแบ่งน้ำด้านเหนือกทม. ออกแม่น้ำบางปะกง ปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ เชื่อมั่นกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำได้ ส่วนลุ่มน้ำชี-มูลให้เพิ่มการหน่วงน้ำ ก่อนไหลลงไปสมทบที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน พร้อมย้ำให้ติดตามสถานการณ์ฝนที่จะยังตกต่อเนื่องถึง 9 ตุลาคมนี้

“ธรรมนัส” ยืนยันกรมชลฯ รับมือน้ำเหนือได้

รมว.ธรรมนัส รายงานสถานการณ์น้ำนายกฯ โดยกำชับให้เตรียมรับน้ำเหนือที่จะไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุดกรมชลประทานแบ่งน้ำด้านเหนือกทม. ออกแม่น้ำบางปะกง ปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ เชื่อมั่นกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำได้

จับตาน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีก 1-1.5 ม.หลังเขื่อนปล่อยน้ำเพิ่ม

เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตรียมรองรับฝนที่จะตกระลอกใหม่ คาดพื้นที่นอกคันกั้นน้ำในจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยาจะมีระดับน้ำสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 1-1.50 เมตร ขอประชาชนริมแม่น้ำ ติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด

นายกฯ ประชุมด่วนติดตามสถานการณ์น้ำท่วม สั่งทุกหน่วยช่วยเหลือประชาชน

กรุงเทพฯ 2 ต.ค.- นายกรัฐมนตรีประชุมด่วนเพื่อติดตามสถานการณ์อุทกภัย ย้ำกรมชลประทานจัดจราจรลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำยม-น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลดผลกระทบจากภาวะน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ พร้อมกำชับทุกหน่วยงานช่วยเหลือประชาชน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา (1 ตุลาคม 2566)  ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ VDO conference พร้อมกับมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าที่ร้อยตรี ธนสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร. ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้กรมชลประทานรายงานสถานการณ์น้ำว่า จากปริมาณฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2566เป็นต้นมา ทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่เช่น ลุ่มน้ำวัง มีพื้นที่น้ำท่วมเนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำวังล้นตลิ่ง ส่งผลกระทบกับจังหวัดลำปางและตากบางส่วน ลุ่มน้ำยม-น่าน […]

นายกฯ ห่วงสถานการณ์น้ำท่วม

นายกฯ ตามสถานการณ์น้ำที่กรมชลประทาน ห่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะอุบลราชธานี สั่งเร่งระบายน้ำ บอก อีก 10 วัน จะลงพื้นที่ด้วยตัวเอง เข้าใจทุกคนทำงานหนัก แต่ขอทำงานอย่างลืมความเหน็ดเหนื่อย

นายกฯ ติดตามแผนบริหารน้ำ กำชับ ก.เกษตรฯ รับมือเอลนีโญ

กรุงเทพฯ 27 ก.ย. – นายกฯ ติดตามแผนบริหารจัดการน้ำ กำชับ รมว.ธรรมนัส เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงทุกจุดเนื่องจากขณะนี้มีฝนชุก ต้องระบายน้ำให้เร็ว ขณะเดียวกันเป็นจังหวะที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับฤดูแล้ง รองรับสถานการณ์เอลนีโญที่จะลากยาวตลอดปี 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเดินทางมายังกรมชลประทานเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่าในลำน้ำสายหลักและแผนบริหารจัดการน้ำช่วงปลายฤดูฝน 2566 โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานต้อนรับ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์น้ำทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังทุกพื้นที่เสี่ยง โดยขณะนี้มีฝนตกชุกทั้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำชี-มูล จึงขอให้กรมชลประทานเร่งระบายน้ำ ขณะเดียวกันให้เก็บกักน้ำสำหรับไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะมาถึงด้วยเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จากการที่ฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำท่าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับขณะนี้เข้าสู่ช่วงปลายฤดูฝน จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และเร่งเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยาที่มีปริมาณการใช้น้ำสูงเนื่องจากมีพื้นที่ปลูกข้าวมาก สำหรับฤดูแล้งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 นี้ จะประชุมเพื่อกำหนดแผนบริหารจัดการน้ำรองรับสภาวะเอลนีโญอีกครั้ง พร้อมกันนี้จะหารือกับกรมต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เพื่อปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเพาะปลูก ขอความร่วมมือเกษตรกรงดทำนาต่อเนื่อง แล้วหันไปปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อย โดยถือเป็นเรื่องเร่งด่วน […]

เปิดแผนบริหารจัดการน้ำปลายฤดูฝน เร่งเก็บกัก รับเอลนีโญ

อธิบดีกรมชลประทาน เผยใช้เวลาอีก 38 วันก่อนสิ้นสุดฤดูฝน 2566 เร่งเก็บกักน้ำจากฝนที่ตกชุกขึ้นในระยะนี้ กำชับทุกโครงการชลประทาน หาแหล่งน้ำสำรองสำหรับฤดูแล้งที่กำลังจะมาถึง ย้ำแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยจัดสรรอย่างประณีตตามความต้องการใช้แต่ละภาคส่วน เพื่อรองรับสภาวะเอลนีโญ ซึ่งจะต่อเนื่องตลอดปี 2567

“ธรรมนัส” เรียกกรมชลฯ ถกด่วนรับมือน้ำท่วม-น้ำแล้ง

กรุงเทพฯ 21 ก.ย.- รัฐมนตรีเกษตรฯ ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ ย้ำให้กรมชลประทานเตรียมมาตรการรับมือน้ำท่วม-น้ำแล้งอย่างทันท่วงที ล่าสุดมีพื้นที่น้ำท่วม 18 จังหวัด ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมด่วนที่กรมชลประทานเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ โดยย้ำว่า เป็นห่วงภาวะน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ในช่วงวันที่ 23 – 26 กันยายนจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก จึงสั่งการให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ได้รับรายงานจากนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 18 จังหวัดได้แก่ จังหวัด อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ กำแพงเพชร อุดรธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครพนม จันทบุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และอ่างทอง ซึ่งสำนักงานชลประทานในพื้นที่เร่งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำ ร้อยเอกธรรมนัสกล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีห่วงใยประชาชนและเกษตรกรเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ จึงได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมรับสถานการณ์ โดยในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งปกติแล้ว จะมีฝนตกชุก อาจเกิดอุทกภัย ขณะเดียวกันสภาพอากาศแปรปรวน บางพื้นที่ยังคงมีฝนตกต่ำกว่าปกติเนื่องมาจากสภาวะเอลนีโญ […]

กรมชลฯ เตรียมรับน้ำท่วม-หลาก 16 จว. พร้อมเฝ้าระวังน้ำโขงล้นตลิ่ง

อธิบดีกรมชลประทาน สั่งการโครงการชลประทานทั่วประเทศพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนัก 12-18 ส.ค.นี้ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง 16 จังหวัดต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ขณะที่ 8 จังหวัดริมน้ำโขงต้องเฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและอาจล้นตลิ่งบางพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.นครพนม ย้ำประสานทุกหน่วยงานพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชน

คุมเข้มน้ำใช้การใน 5 เขื่อนใหญ่ที่น้ำน้อยกว่า 30%

กรมชลประทานคุมเข้มการใช้จัดสรรน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะ 5 เขื่อนหลักที่ปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ ย้ำขณะนี้มีน้ำเพียงพอใช้ แต่ต้องร่วมใจกันประหยัดน้ำรับมือ “เอลนีโญ” ส่วนในพื้นที่ EEC ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อผันน้ำเติมอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลเพื่อกระจายน้ำกระจายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค การเกษตร และการอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึง

1 3 4 5 6 7 49
...