
กรมชลฯ เดินหน้าพัฒนาอ่างเก็บน้ำทับเสลา
กรมชลฯ เดินหน้าปรับปรุง อ่างเก็บน้ำทับเสลา รองรับการเติบโตของเมืองอุทัยฯ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ดึงเงินเข้าท้องถิ่น
กรมชลฯ เดินหน้าปรับปรุง อ่างเก็บน้ำทับเสลา รองรับการเติบโตของเมืองอุทัยฯ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ดึงเงินเข้าท้องถิ่น
อธิบดีกรมชลประทาน สั่งการโครงการชลประทานทั่วประเทศพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนัก 12-18 ส.ค.นี้ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง 16 จังหวัดต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ขณะที่ 8 จังหวัดริมน้ำโขงต้องเฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นและอาจล้นตลิ่งบางพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.นครพนม ย้ำประสานทุกหน่วยงานพร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชน
กรมชลประทานคุมเข้มการใช้จัดสรรน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะ 5 เขื่อนหลักที่ปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ ย้ำขณะนี้มีน้ำเพียงพอใช้ แต่ต้องร่วมใจกันประหยัดน้ำรับมือ “เอลนีโญ” ส่วนในพื้นที่ EEC ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อผันน้ำเติมอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลเพื่อกระจายน้ำกระจายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค การเกษตร และการอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึง
อธิบดีกรมชลประทานย้ำ ให้โครงการชลประทานในพื้นที่ EEC ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับสภาวะเอลนีโญอย่างเคร่งครัด โดยใช้โครงข่ายน้ำภาคตะวันออกสูบกลับเพื่อเติมน้ำต้นทุนลงอ่างเก็บน้ำประแสร์ แล้วใช้เป็นศูนย์กลางกระจายน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม เพื่อปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ
อธิบดีกรมชลประทานสั่งเตรียมพร้อมตามแผนบริหารจัดการน้ำหลากใน 51 อำเภอ 23 จังหวัดตามประกาศกอนช. และการแจ้งเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า จะมีฝนตกหนักมากบางแห่ง จากมรสุมกำลังปานกลางที่พัดปกคลุม ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านตอนกลางประเทศ ระหว่างวันที่ 25 ก.ค.-2 ส.ค. นี้
กรมชลประทาน รณรงค์ให้เกษตรกรทำนา “เปียกสลับแห้ง” ซึ่งเป็นวิธีทำนาแบบใช้น้ำน้อยเนื่องจากปี 2566 เกิดสภาวะเอลนีโญ ส่งผลให้ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ โดยคาดการณ์ว่า สภาวะเอลนีโญจะต่อเนื่องไปถึงกลางปี 2567
อธิบดีกรมชลประทาน กำชับเข้มแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก จากกรมอุตุฯ เตือนพายุโซนร้อน “ตาลิม” จะเคลื่อนขึ้นฝั่งเวียดนามเย็นพรุ่งนี้ โดยไทยจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นทุกภาคและตกหนักถึงหนักมาก 64 จังหวัด ระหว่าง 17-20 ก.ค. ย้ำเก็บกักน้ำจากฝนที่ตกเหนือเขื่อน
อธิบดีกรมชลประทาน สั่งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากใน 65 อำเภอของ 21 จังหวัด ตามประกาศ กอนช. และประกาศกรมอุตุฯ ที่เตือนว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นทุกภาค ตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ย้ำเตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนทันท่วงที
อธิบดีกรมชลประทานชลประทานลุ่มเจ้าพระยาบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน 66 แบบ 2 มิติอย่างเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยพร้อมรับสถานการณ์น้ำแล้งและน้ำหลากเนื่องจากตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 50% แต่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. นี้ ฝนจะตกชุกหนาแน่นและมีโอกาสที่พายุหมุนเขตร้อนจะเคลื่อนผ่านไทยและอาจเกิดน้ำหลากหรือท่วมฉับพลันบางพื้นที่
อธิบดีกรมชลประทานสั่งการสำนักงานชลประทานที่ 6 เร่งคลี่คลายสถานการณ์ลำน้ำยังล้นตลิ่ง จากฝนที่ตกหนักบริเวณลุ่มน้ำยังตอนบน ล่าสุดส่งผลกระทบ 2 อำเภอ ย้ำจัดเวรยามเฝ้าระวังตลอดแนวพนังกันน้ำลำน้ำยัง 24 ชั่วโมง เร่งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชี-ยัง ให้สอดคล้องกับปริมาณฝนที่อาจตกลงมาเพิ่มอีก
อธิบดีกรมชลประทานสั่งโครงการชลประทานพื้นที่เสี่ยง 34 อำเภอใน 12 จังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากตามประกาศ กอนช. ระหว่างวันที่ 8-11 ก.ค. นี้
กรุงเทพฯ 29 มิ.ย. – กรมชลประทานตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนโดยละเอียด หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่ที่อ. บางกระทุ่ม จ. พิษณุโลก พบว่า ค่าอัตราเร่งสูงสุดที่เขื่อน น้อยกว่าค่าอัตราเร่งที่ออกแบบให้ต้านทานแรงจากแผ่นดินไหวไว้มาก ยืนยันไม่กระทบความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยอย่างแน่นอน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานชลประทานที่ 3 ซึ่งตรวจสอบเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน รวมถึงเขื่อนดิน และอาคารประกอบอื่นๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ตามที่ได้เกิดแผ่นดินไหวคืนที่ผ่านมา (29 มิ.ย.) เวลา 00.17 น. ขนาด 4.5 ที่ระดับความลึก 5 กิโลเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ที่ี่ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนตั้งอยู่ที่ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร เมื่อตรวจสอบอัตราเร่งสูงสุดที่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนซึ่งตรวจวัดได้ 0.00236 g ซึ่งถือว่า น้อยมากเมื่อเทียบกับการออกแบบเขื่อนให้ต้านทานแรงจากแผ่นดินไหวได้ไม่น้อยกว่า 0.2 g จึงยืนยันว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อนอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบความมั่นคงของอาคารชลประทานและทดสอบระบบการ เปิด-ปิดบานระบายน้ำล้น (spillway) […]