ชัวร์ก่อนแชร์ : เมื่อความรุนแรงในครอบครัวขยายตัวสู่โลกไซเบอร์

“ครอบครัว” เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ที่สมาชิกในครอบครัวใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความผูกพันทางสายเลือด กฎหมาย และจิตใจ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรัก ความอบอุ่น และความผูกพัน เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แต่กลับเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่าห่วง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้รูปแบบของความรุนแรงในครอบครัว ขยายขอบเขตออกไปสู่พื้นที่ออนไลน์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากสถิติความรุนแรงในครอบครัว โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 4,833 ราย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยาเสพติด ความเครียดทางเศรษฐกิจ และปัญหาสุขภาพจิต

ทั้งนี้ สถิติความรุนแรงที่เกิดขั้นนั้น เป็นความรุนแรงภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 71 จำนวน 3,421 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็ก 1,450 ราย โดยแบ่งเป็น
– ถูกทำร้ายร่างกาย จำนวน 1,029 ราย 
– ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 270 ราย 
– ถูกกระทำอนาจาร 118 ราย 
– ถูกทอดทิ้ง 33 ราย


ความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร​ ?
พระราชบัญญัติคุ้มครอบผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ให้คำนิยามของ “ความรุนแรงในครอบครัว” เอาไว้ดังนี้

การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ในเกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ ของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท


ทั้งนี้
– การกระทำ คือ ต้องเป็นการกระทำโดยรู้สำนึกถึงการกระทำด้วย
– โดยมุ่งประสงค์ คือ ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา เช่น เจตนาเอาไม้ตีศีรษะแต่หลบได้ แม้จะไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ถือว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัว (แต่ไม่รวมการกระทำโดยประมาท เช่น แม่อุ้มลูกแล้วเดินสะดุดขั้นบันไดล้ม)
– อันตรายต่อจิตใจ คือ ต้องมีผลกระทบต่อจิตใจแบบที่ต้องไปพบกับจิตแพทย์ ไม่ใช่แค่อารมณ์ความรู้สึก เศร้าโศกเสียใจ

ทำไมถึงเกิดความรุนแรงในครอบครัว ?
สาเหตุของการเกิดความรุนแรงในครอบครัวมาจากสภาวะทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล ครอบครัวขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีคนในครอบครัวดื่มสุราและใช้สารเสพติด รวมไปถึงการดูสื่อที่มีความรุนแรงหรือการต่อสู้ จะมีโอกาสให้เกิดความรุนแรงมากกว่าครอบครัวอื่น โดยความรุนแรง แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ความรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การทุบตีทำร้ายร่างกาย ตบ เตะ ต่อย การใช้อาวุธ เป็นต้น
2. ความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การใช้คำพูดหรือการกระทำที่เป็นการดูถูก ดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าว่าให้อับอาย บังคับ ข่มขู่ กักขัง หึงหวง ควบคุมไม่ให้แสดงความคิดเห็น ใช้อำนาจเหนือกว่า เป็นต้น
3. ความรุนแรงทางเพศ เช่น การถูกละเมิดทางเพศ อนาจาร การบังคับให้เปลื้องผ้า การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

เมื่อความรุนแรงในครอบครัว ไม่ได้จบอยู่แค่ใน “บ้าน”
Digital Abuse หรือ การคุกคามและละเมิดโดยใช้เทคโนโลยีหรือสื่อออนไลน์ ครอบคลุมพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพโดยไม่ได้รับอนุญาต การโพสต์ข้อความประจาน การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว หรือแฉความลับในลักษณะที่เป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่น

หนึ่งในปัญหาที่พบได้ชัดเจนในปัจจุบัน คือ การล่วงละเมิดทางเพศผ่านสื่อดิจิทัล โดยเฉพาะกรณีที่เด็กและเยาวชนถูกล่อลวงให้เปิดเผยเรือนร่าง หรือถูกแอบถ่ายในลักษณะล่อแหลม หากภาพหรือคลิปเหล่านั้นถูกเผยแพร่ต่อ ก็อาจนำไปสู่การข่มขู่ แบล็กเมล หรือการล่วงละเมิดซ้ำซ้อนทั้งทางเพศและจิตใจ

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นล่าสุด คือกรณีของครอบครัวหนึ่งในอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีสมาชิกในบ้านประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูกรวม 9 คน ร่วมกันผลิตและเผยแพร่คลิปอนาจารผ่านกลุ่มลับออนไลน์ โดยมีลูกสาวคนโตวัย 21 ปี เป็นผู้ริเริ่มและชักชวนพี่น้องเข้าร่วม

เหตุการณ์ลักษณะนี้เข้าข่าย Digital Abuse อย่างชัดเจน และสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความตระหนักรู้ รวมถึงการวางมาตรการป้องกันในระดับครอบครัวและสังคม


ครอบครัวฉัน ฉันจะทำอะไรก็ได้ ? ไม่จริง !
แม้ว่าจะเป็นการกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวของตัวเอง แต่ก็ถือว่าเป็นการกระทำความรุนแรง มีความผิดอยู่ดี

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 กำหนดไว้ว่า
ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ให้ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น หากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ด้วย ให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้*

*ให้ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ผู้แจ้งสามารถถอนคำร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ แต่หากการกระทำผิดนั้นเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น ผู้กระทำต้องรับผิดตามกฎหมายนั้นด้วย แม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้ยอมความได้ก็จริง แต่คดีความรุนแรงในครอบครัว ไม่ใช่การทำร้ายร่างกายทั่ว ๆ ไป แต่เป็นลักษณะนิสัย ความเคยชิน
ดังนั้น กฎหมายจึงบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการถอนคำร้องทุกข์หรือถอนฟ้อง หรือยอมความ ต้องทำข้อตกลงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความก่อนการถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้อง ถ้าทำสำเร็จก่อนจึงค่อยถอนแจ้งความได้

นอกจากนี้ ในกรณี Digital Abuse ที่มีการร่วมกันผลิตและเผยแพร่คลิปอนาจารผ่านกลุ่มลับออนไลน์ตามที่ได้ยกตัวอย่างไปนั้น ยังมีความผิดในคดีสื่อลามกอนาจารเด็กอีกด้วยตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558 มาตรา 287/1 ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สัญญาณเตือนเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัวที่คนภายนอกอาจมองเห็นและสามารถเข้าช่วยเหลือได้ทัน
– ความรุนแรงระหว่างสามี-ภรรยา ความเครียดและความขัดแย้งกันภายในครอบครัว ก่อให้เกิดความรุนแรงระหว่างสามีภรรยาได้
– ความรุนแรงต่อเด็กทางด้านร่างกาย พบบาดแผลหรือร่องรอยการถูกทำร้ายร่างกาย หากเด็กถูกกระทำรุนแรงทางเพศ อาจพบการตั้งครรภ์ หรือหวาดกลัวผู้ชายในครอบครัว
– ความรุนแรงต่อเด็กทางด้านจิตใจ มีอาการเก็บตัว หวาดกลัว ไม่ไว้ใจใคร ขาดความเชื่อมั่น และพยายามเรียกร้องความสนใจ

หากประสบเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัว ใครแจ้งได้บ้าง แล้วแจ้งได้ที่ไหนบ้าง ?
ผู้ที่สามารถแจ้งเหตุความรุนแรงได้ ได้แก่
– ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
– ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ 
– ผู้ที่ทราบการกระทำความรุนแรงในครอบครัว
ทุกคนที่ต้องแจ้งเหตุเมื่อพบเห็นหรือทราบการกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ทุกคนต้องกระทำ

ช่องทางการแจ้งเหตุ เช่น
– ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 โทรฟรี 24 ชั่วโมง
– ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ESS Help Me ไลน์ @esshelpme
– ระบบเพื่อนครอบครัว Family Line @linefamily
– ระบบการคุ้มครองช่วยเหลือเด็ก สตรี และผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว  www.evcis.org
– ศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ส่วนกลาง : กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว โทร. 0-2659-6728
– ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว
ภูมิภาค : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 76 จังหวัด/บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพฯ และ 76 จังหวัด
– ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191
– ศูนย์พึ่งได้ OSCC ในโรงพยาบาล
– มูลนิธิ/NGO
มูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี 0-2577-0500-1, 1134
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 0-2412-1196
มูลนิธิเพื่อนหญิง 0-2513-1001
สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ (บ้านพักฉุกเฉินดอนเมือง) 0-2929-2222

กรณีผู้ถูกกระทำความรุนแรงประสงค์จะดำเนินคดี ให้แจ้งความประสงค์หรือร้องทุกข์ภายในเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่ถูกกระทำความรุนแรงหรือมีโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ 

เนื่องในวันครอบครัวสากล (International Day of Families) ซึ่งตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว โดยเชื่อว่า สังคมที่เข้มแข็งเริ่มต้นจากครอบครัวที่อบอุ่น

โอกาสนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราควรหันกลับมาทบทวน และย้ำเตือนถึงด้านที่เปราะบางของครอบครัว โดยเฉพาะ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้ ส่งเสริมความเคารพซึ่งกันและกัน และสร้างความสุขร่วมกันในบ้านอย่างยั่งยืน

14 พฤษภาคม 2568
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
สำนักข่าวไทย อสมท
เขียนและรวบรวม โดย นัฐภรณ์ ผลพฤกษา

ดูคลิปชัวร์ก่อนแชร์เพิ่มเติม

อ้างอิง
ทุกวันเป็นวันครอบครัว 
https://sorporkor.dwf.go.th/attach/w103/f20210209143726_czSfy4wtBG.pdf
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550
https://sorporkor.dwf.go.th/attach/w103/f20210208175130_wjUzHEYM5b.pdf
คู่มือสื่อรัก สานสายใย ครอบครัวไร้รุนแรง
https://sorporkor.dwf.go.th/attach/w103/f20210209141434_96Fd5TkGS6.pdf
สถิติความรุนแรง ปีงบประมาณ พ.ศ 2567
https://1300thailand.m-society.go.th/statyearly
วันครอบครัวสากล (International Day of Families)
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/285629
ความรุนแรงในครอบครัว และวิธีการแจ้งเหตุ
https://www.facebook.com/watch/?v=509297568164989
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558
https://dep.kpo.go.th/law/raberb/pramaun%20law/aya%2024-2558.pdf

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผบ.เรือนจำทักษิณป่วย ไม่ได้ส่งตรวจ รพ.ราชทัณฑ์ก่อน  

13 มิ.ย. – ศาลฎีกาฯ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ไต่สวนกรณีกรมราชทัณฑ์อนุญาตให้ “ทักษิณ” เข้ารักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ นัดไต่สวนเพิ่มอีก 6 นัด เดือน ก.ค.68 ด้าน ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ยอมรับไม่ได้ส่งตรวจ รพ.ราชทัณฑ์ก่อน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ไต่สวนคดีชั้น 14 ในเรื่องการบังคับคดีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ล่าสุดการไต่สวนนัดแรกเสร็จสิ้นแล้ว โดยศาลได้สอบถาม นายมานพ ชมชื่น ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพคนปัจจุบัน เกี่ยวกับกระบวนการในการส่งตัวนายทักษิณจากเรือนจำไปโรงพยาบาลตำรวจ ในคืนวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งนายทักษิณ มีอาการแน่นหน้าอก นอนไม่หลับ พยาบาลเวรตรวจอาการแล้ว ถึงโทรไปหาแพทย์ และมีความเห็นให้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้เข้าไปที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อน และอาการก็ตรงกลับใบส่งตัวที่แพทย์เขียนไว้ล่วงหน้า เพราะเป็นผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน แต่ก็ยอมรับว่าไม่ได้เข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อน จากนั้นศาลได้นัดไต่สวน 6 นัด ในเดือนกรกฎาคม 2568 และใน […]

เครื่องบินแอร์อินเดีย ตกใส่อาคารที่พักแพทย์ ตาย 241 รอดคนเดียว

นิวเดลี 13 มิ.ย. – เครื่องบินโดยสารของสายการบินแอร์อินเดีย พร้อมคนบนเครื่อง 242 คน ประสบอุบัติเหตุตกใส่อาคารในย่านชุมชนทางตะวันตกของประเทศ มีผู้เสียชีวิต 241 ราย รอดชีวิตปาฏิหาริย์เพียงคนเดียว ยังไม่มีการยืนยันว่ามีคนในอาคารบ้านเรือนเสียชีวิตเท่าไร เครื่องบินลำที่ประสบอุบัติเหตุเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 ดรีมไลน์เนอร์ ของสายการบิน แอร์ อินเดีย เที่ยวบิน เอไอ171 (AI171) พร้อมคนบนเครื่อง 242 คน ประกอบด้วยผู้โดยสาร 230 คน และลูกเรือ 12 คน เพิ่งจะออกเดินทางจากท่าอากาศยานระหว่างประเทศเมืองอาห์เมดาบัด รัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดียเมื่อเวลา 13.34 น. วานนี้ มุ่งหน้าไปยังท่าอากาศยานแกตวิค กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คนบนเครื่องบินเป็นชาวอินเดีย 169 คน และมีพลเมืองอังกฤษ 53 คน โปรตุเกส 7 คน และแคนาดา 1 คน คลิปที่ผู้ใช้งานสื่อออนไลน์ในอินเดียส่งต่อกันแพร่หลาย เผยให้เห็นช่วงเวลาขณะที่เครื่องบินโดยสารลำนี้เครื่องบินค่อยๆ […]

แพทยสภายืนยันมติเดิม เอาผิดแพทย์ 3 ราย

กทม. 12 มิ.ย.- แพทยสภามีมติ 2 ใน 3 ยืนยันมติเดิม เอาผิดแพทย์ 3 ราย ปมส่งตัว “ทักษิณ” รักษาชั้น 14 รพ.ตร. ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภา เปิดเผยหลังการประชุมการลงมติแพทยสภากว่า 5 ชม. ว่า กรณีที่มีการกล่าวโทษแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ เกี่ยวกับการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม การประชุมคณะกรรมการแพทยสภาครั้งที่ 6/2568 ประจำเดือนมิถุนายน คือวันนี้ มีวาระสำคัญคือการพิจารณาหนังสือยับยั้งมติลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของคณะกรรมการแพทยสภาจากสภานายกพิเศษ วาระนี้มีคณะกรรมการแพทยสภาเข้าร่วมประชุมจำนวน 68 คน จากจำนวนแพทยสภาที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งสิ้น 69 คน ได้พิจารณาการยับยั้งมติแพทยสภาของสภานายกพิเศษ มีมติด้วยคะแนนเสียงเกินกว่า 2 ใน 3 ของคณะกรรมการฯ ที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งคณะ ซึ่งมีคะแนนโหวตมากกว่า 60 เสียง ยืนยันตามมติเดิมของคณะกรรมการแพทยสภาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 กระบวนการต่อไปแพทยสภาจะออกคำสั่งบังคับตามมติและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ คาดว่าคำสั่งจะออกได้ในวันพรุ่งนี้ และจะมีผลการลงโทษหลังจากคำสั่งไปยังผู้ถูกร้องเรียน ทั้งนี้ […]

“ทีมสุดซอย” ลุยตรวจโรงงานรีไซเคิลทุนจีน

ฉะเชิงเทรา 12 มิ.ย. – “ทีมสุดซอย” ลุยตรวจโรงงานรีไซเคิลทุนจีน จ.ฉะเชิงเทรา พบกองขยะอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องยนต์นำเข้ากองเต็มพื้นที่ ฝ่าฝืนคำสั่งกรมโรงงานฯ น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าทีมสุดซอย พร้อมเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัด และตำรวจสอบสวนกลาง เข้าตรวจสอบโรงงานรีไซเคิลใน อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นการขยายผลจากข้อมูลที่ผู้ใหญ่บ้าน ต.เขาหินซ้อน อ้างว่ามีบริษัทคัดแยกขยะอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้นำดินไปแจกฟรี แต่กลับพบว่าเป็นขยะอุตสาหกรรม จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทแห่งนี้จะรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ เศษสายไฟ วัสดุแบตเตอรี่ มอเตอร์ และชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ผ่านบริษัทแห่งหนึ่งที่ฮ่องกง โดยบริษัทดังกล่าวรับซื้อเศษขยะมาจากญี่ปุ่นอีกทอดหนึ่ง ก่อนส่งมาที่โรงงานรีไซเคิลในไทยให้คัดแยก แต่สำแดงเป็นโลหะผสม (Mixed metal) และมีการเสียภาษีต่อเที่ยวตามน้ำหนัก รวมแล้วประมาณ 33,000 บาท การคัดแยกขยะจะใช้แรงงานต่างด้าวคัดแยกเหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดงออก โดยในส่วนของเหล็ก จะส่งโรงเหล็กในประเทศ สำหรับอะลูมิเนียมกับทองแดง จะส่งกลับไปฮ่องกง เพื่อขายต่อ โดยไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากเป็นเศษโลหะ อีกทั้งยังมีกองขยะที่ไม่สามารถนำไปแปรรูปใช้งานต่อได้จำนวนมากถูกทิ้งไว้ในประเทศ โรงงานดังกล่าวมีการขออนุญาตประกอบกิจการตั้งแต่ปี 2558 แต่ก่อนหน้านี้พบว่ามีการขยายโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต การจัดเก็บวัสดุไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน คือกองอยู่ลานโล่งด้านนอกอาคาร ปัญหาเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการประกอบกิจการ และการปล่อยน้ำเสีย […]

ข่าวแนะนำ

ผู้รอดชีวิตจากแอร์อินเดียเผยหนีออกทางประตูฉุกเฉินที่เสียหาย

นิวเดลี 13 มิ.ย. – ผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวจากเหตุเครื่องบินแอร์อินเดียตก ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 240 คน กล่าวว่า เขาเดินออกมาจากประตูฉุกเฉินที่พังเสียหาย หลังจากเครื่องบินชนเข้ากับหอพักวิทยาลัยแพทย์ในเมืองอาห์เมดาบัด นายราเมศ วิศวาศกุมาร ซึ่งตำรวจระบุว่า เขานั่งอยู่ที่นั่ง 11เอ (11A) ใกล้ประตูฉุกเฉิน และสามารถหนีรอดมาได้ทางช่องทางประตูฉุกเฉินที่ชำรุดเสียหาย เขาถูกบันทึกภาพไว้หลังเหตุเครื่องบินตกเมื่อวันพฤหัสบดี ขณะกำลังเดินกะเผลกๆ อยู่บนถนนในสภาพเสื้อยืดเปื้อนเลือดและมีรอยฟกช้ำบนใบหน้า คลิปภาพชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียผู้นี้ที่เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ ถูกนำไปออกอากาศในสถานีข่าวเกือบทั้งหมดของอินเดีย หลังจากเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 ดรีมไลเนอร์ ลำดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุตกหลังออกเดินทางจากสนามบินได้ไม่นาน นายวิศวาศกุมาร ให้สัมภาษณ์ขณะนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลว่า เขาไม่อยากจะเชื่อว่ารอดชีวิตมาได้อย่างไร และคิดว่าต้องตายแน่ ๆ แต่พอเขาลืมตา เขาก็รู้สึกตัวว่ายังไม่ตาย และพยายามปลดเข็มขัดนิรภัย เพื่อออกจากที่นั่ง และพยายามหนีออกมาจากตัวเครื่องบิน นายวิศวาศกุมาร เล่าว่า เครื่องบินดูเหมือนจะหยุดนิ่งกลางอากาศเป็นเวลา 2-3 วินาที หลังจากที่ขึ้นบินไปในอากาศ และไฟในห้องโดยสารที่เป็นสีเขียวและสีขาวก็สว่างขึ้น เขารู้สึกได้ว่าแรงขับเคลื่อนของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น แต่แล้วเครื่องบินก็ชนเข้ากับหอพักด้วยความเร็ว แพทย์ระบุว่า นายวิศวาศกุมารไม่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงใด ๆ ในขณะที่เขากล่าวว่า เขาเดินออกจากจุดเครื่องบินตก โดยบาดเจ็บจากบาดแผลไฟไหม้ที่แขนซ้ายเท่านั้น นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี […]

นายกฯ เชื่อกัมพูชาเข้าใจผิด ตัดไฟ-เน็ต ส่ง กต.เคลียร์

ถนนวิทยุ 13 มิ.ย.- นายกฯ เชื่อกัมพูชาเข้าใจผิด ไทยออกแถลงการณ์ “ตัดไฟ-เน็ต” เผยแค่มาตรการเตรียมพร้อม ส่ง กต.เคลียร์ หลัง “ฮุน เซน” งัด 6 มาตรการโต้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สมเด็จฯฮุนเซน ประกาศ 6 มาตรการตอบโต้ประเทศไทย หากไม่ยอมเปิดด่านพรมแดน ซึ่งล่าสุดได้มีการปิดด่านที่จังหวัดจันทบุรีโดยไม่มีการแจ้งให้ทางการไทยทราบก่อน โดยนายกฯระบุว่าตอนแรกทางกัมพูชาได้ยินว่าไทยจะตัดน้ำตัดไฟ(ตัดไฟตัดเน็ต) แต่จริงๆแล้ว เรื่องนี้ต้องอยู่ในมาตรการที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ สมช. ก่อน และเรายังไม่ได้มีการประกาศออกไป แต่ยอมรับว่ามีการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ และย้ำว่าเรายังไม่ได้ทำแบบนั้น ซึ่งอาจมีความเข้าใจผิดเกิดขึ้น จึงได้มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและคณะทำงานว่าเกิดอะไรขึ้น จนทำให้เข้าใจผิดว่ารัฐบาลออกแถลงการณ์ว่าจะตัดน้ำตัดไฟ ซึ่งไม่จริง ซึ่งก่อนหน้านี้ที่มีการพูดคุยกันก็มีการตกลงกันว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะปรับกำลัง และจะรอการพูดคุยในการประชุม JBC วันพรุ่งนี้ (14 มิ.ย.) จึงอยากให้สื่อมวลชนช่วยสื่อสารด้วยว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่แถลงการณ์จากรัฐบาล ส่วนนายกรัฐมนตรีจะต้องประสานโดยตรงกับกัมพูชา หรือมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันหรือไม่ นายก รัฐมนตรี กล่าวว่า จะมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศประสานไปทางกัมพูชาว่าข้อมูลดังกล่าวมาได้อย่างไร มีกระบวนการอย่างไร เพราะจริงๆแล้วเราได้มีการเตรียมการทุกสถานการณ์และเมื่อผ่านความเห็นชอบจาก สมช. […]

ผบ.เรือนจำทักษิณป่วย ไม่ได้ส่งตรวจ รพ.ราชทัณฑ์ก่อน  

13 มิ.ย. – ศาลฎีกาฯ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ไต่สวนกรณีกรมราชทัณฑ์อนุญาตให้ “ทักษิณ” เข้ารักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ นัดไต่สวนเพิ่มอีก 6 นัด เดือน ก.ค.68 ด้าน ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ยอมรับไม่ได้ส่งตรวจ รพ.ราชทัณฑ์ก่อน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ไต่สวนคดีชั้น 14 ในเรื่องการบังคับคดีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ล่าสุดการไต่สวนนัดแรกเสร็จสิ้นแล้ว โดยศาลได้สอบถาม นายมานพ ชมชื่น ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพคนปัจจุบัน เกี่ยวกับกระบวนการในการส่งตัวนายทักษิณจากเรือนจำไปโรงพยาบาลตำรวจ ในคืนวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งนายทักษิณ มีอาการแน่นหน้าอก นอนไม่หลับ พยาบาลเวรตรวจอาการแล้ว ถึงโทรไปหาแพทย์ และมีความเห็นให้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยไม่ได้เข้าไปที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อน และอาการก็ตรงกลับใบส่งตัวที่แพทย์เขียนไว้ล่วงหน้า เพราะเป็นผู้ป่วยกรณีฉุกเฉิน แต่ก็ยอมรับว่าไม่ได้เข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อน จากนั้นศาลได้นัดไต่สวน 6 นัด ในเดือนกรกฎาคม 2568 และใน […]

กัมพูชาสั่งแบนหนัง-ละครไทย

พนมเปญ 13 มิ.ย. – เว็บไวต์ขแมร์ไทม์ส ของกัมพูชารายงานว่า นายฮุน เซน ประธานวุฒิสภา เรียกร้องให้สถานีโทรทัศน์กัมพูชายกเลิกการออกอากาศละครไทย เลิกฉายหนังไทย และอาจจะยกเลิกการนำเข้าสินค้าจากไทยด้วยเพื่อรักษาอธิปไตยและศักดิ์ศรีของประเทศในยามที่เผชิญแรงกดดัน กระทรวงข่าวสารกัมพูชาได้ออกหนังสือถึงเจ้าของสถานีโทรทัศน์ทุกแห่งแจ้งให้ทราบว่าตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 12 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป ทุกสถานีของกัมพูชาต้องงดออกอากาศภาพยนตร์ไทยทุกประเภทเพื่อความเหมาะสมของสถานการณ์และรักษาความมั่นคงของชาติ นอกจากนี้กระทรวงศิลปะและวัฒนธรรมกัมพูชายังออกประกาศแจ้งเตือนให้ระงับการฉายและห้ามนำเข้าภาพยนตร์ไทยทุกประเภทในกัมพูชาตั้งแต่ 12 นาฬิกาวันนี้เป็นต้นไป.-816.-สำนักข่าวไทย