ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม จริงหรือ ?

29 พฤษภาคม 66 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกมะละกอผสมแตงโม โดยให้นำก้านมะละกอไปปักในลูกแตงโม รอให้โต แล้วจะกลายเป็นต้นมะละกอที่ออกลูกเป็นแตงโมนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์  ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า วิธีปลูกมะละกอผสมแตงโมตามที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ผศ.ดร.อารยา กล่าวว่า “จากในคลิปวิดีโอเราจะเห็นว่า มีการนำลูกแตงโมมาเจาะรู และมีการใส่น้ำซึ่งคาดว่าจะเป็นสารอาหารลงไป จากนั้นเสียบยอดมะละกอ เมื่อเวลาผ่านไปมีการเคลมว่าจะมีรากออกมาจากลูกแตงโม วิธีนี้ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากว่า การนำยอดมาปักชำจะเกิดรากฝอยไม่ใช่รากแก้ว ฉะนั้นเมื่อไม่มีรากแก้วจึงไม่มีโอกาสที่จะแทงทะลุเปลือกแตงโมออกมาเจริญเติบโตได้เลย” ผศ.ดร.อารยา กล่าวต่อว่า “ลูกแตงโมเมื่อมีการเจาะรูแล้ว จุลินทรีย์หรือเชื้อราต่าง ๆ จะลงไปในเนื้อผล ทำให้เกิดการเน่าเสีย ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์น่าจะย่อยยอดของมะละกอ ก่อนที่มะละกอจะออกรากได้ด้วยซ้ำ” ผศ.ดร.อารยา แนะนำวิธีสังเกตคลิปเกี่ยวกับการเกษตรที่น่าตื่นตาตื่นใจว่า “จากในคลิปมีการทิ้งลูกแตงโมไว้ 1-2 สัปดาห์ แต่ลูกแตงโมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังสดและไม่เหี่ยวเลย ตามปกติหากมีการเจาะ หั่น หรือผ่าแตงโมไปแล้ว เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เสียงดังในหูเกิดจากไตอ่อนแอ จริงหรือ ?

28 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เรื่องราวว่า เสียงดังในหูมีสาเหตุจากอาการไตอ่อนแอ แนะนำให้บำรุงไต เพื่อช่วยให้อาการหูมีเสียงดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า เสียงดังในหูไม่ได้เกิดจากไตอ่อนแอแต่อย่างใด แต่หากผู้ป่วยมีภาวะไตวายหรือไตทำงานผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดเสียงดังในหูได้ เนื่องจากมีของเสียคั่งอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของไตกับหูมีความคล้ายกันสามารถกรองของเสียได้เหมือนกัน ในผู้ป่วยไตวายจะมีภาวะประสาทหูเสื่อมค่อนข้างเร็ว และส่วนใหญ่จะได้ยิน 2 ข้าง ผู้ป่วยไตวายประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นนั้น เนื่องจากว่ามีของเสียคั่งอยู่ในร่างกายและมีผลต่อระบบเลือดทั้งหมด แต่หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง และควบคุมอาการของไตได้ดี ประสาทหูก็จะเสื่อมตามอายุปกติ ส่วนการกินอาหารบำรุงไต เพื่อบำรุงหูนั้น จริง ๆ แล้วไม่เกี่ยวกัน เป็นอวัยวะคนละส่วนกัน หากผู้ป่วยมีความกังวลใจไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำจะดีกว่า สัมภาษณ์เมื่อ 15 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดมาจากฟัน จริงหรือ ?

22 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปเตือนว่า หินปูนที่เกาะตามฟัน เกิดจากการสะสมของแคลเซียมที่หลุดออกมาจากเนื้อฟันเมื่อเราแปรงฟัน เพราะไม่ใช้ยาสีฟันบางชนิดนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ทพญ.ศิริกาญจน์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญสาขาปริทันตวิทยา ภาควิชาปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แคลเซียมไม่สามารถหลุดออกมาได้ด้วยการใช้ยาสีฟันและการแปรงฟัน แต่จะมีการสูญเสียแคลเซียมในชั้นเคลือบฟันได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งเกิดจากการสร้างกรดอินทรีย์ของเชื้อแบคทีเรียที่จะเป็นสาเหตุทำลายชั้นเคลือบฟันและเกิดการสลายของแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ส่วนสารผสมในยาสีฟันจะมีสารขัดที่มีชื่อว่า ABRASIVE ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ คราบสี หรือคราบอาหารที่ตกค้างอยู่บนผิวฟัน เนื่องจากสารตัวนี้ (ABRASIVE) มีขนาดเล็กจึงไม่ไปทำลายพื้นผิวของชั้นเคลือบฟัน สารพวกนี้จึงมีความปลอดภัย ดังนั้น เรื่องหินปูน คือ แคลเซียมที่หลุดออกมาจากฟัน จึงไม่เป็นความจริง และไม่ควรแชร์ต่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด สัมภาษณ์เมื่อ : 16 พฤษภาคม 2565ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีปลูกกล้วย DIY ง่าย ๆ แค่ปักลงดิน จริงหรือ ?

21 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์คลิปแนะนำวิธีปลูกกล้วย DIY ปลูกง่าย ๆ โดยใช้ผลกล้วยสวย ๆ ปักลงไปในดิน จากนั้นให้นำขวดหรือถุงพลาสติกมาครอบเอาไว้ แล้วจะทำให้มีรากออกมาจากผลกล้วยได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณปลายผลกล้วยไม่มีเนื้อเยื่อเจริญ ดังนั้นการนำผลกล้วยปักลงดินแล้วจะมีรากงอกออกมาจึงไม่สามารถเป็นไปได้ ในคลิปมีการสาธิตให้ดูว่ารากงอกออกมาจากผลกล้วยได้ ? อาจารย์กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้ที่รากจะงอกออกมาจากผล เพราะลักษณะเนื้อเยื่อบริเวณปลายผลนั้นไม่มีส่วนของเนื้อเยื่อที่จะไปกระตุ้นสร้างให้เกิดเป็นรากในสภาพธรรมชาติได้ แม้กระทั่งในห้องปฏิบัติการก็ถือว่าทำได้ยากเช่นกัน ส่วนในเรื่องของการนำขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกมาคลุมเอาไว้ ก็ไม่ได้ช่วยให้ผลกล้วยเจริญเติบโตไปเป็นต้นได้เช่นกัน” ในคลิปยังบอกอีกว่า เมล็ดในผลกล้วยจะสามารถงอกได้ ? อาจารย์กล่าวต่อว่า “โอกาสที่จะติดเมล็ดงอกเป็นต้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก ถึงแม้กล้วยบางชนิดจะมีเมล็ด เช่น กล้วยน้ำว้า ซึ่งเราอาจจะพบการติดเมล็ดได้ แต่ในส่วนของกล้วยหอมนั้น ไม่พบการติดเมล็ดแต่อย่างใด และจากคลิปมีการสาธิตด้วยการใช้กล้วยหอม และบอกว่าจะงอกเป็นต้นใน 2 สัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้นั้นจึงไม่มี ส่วนการปลูกกล้วยด้วยหัวปลีนั้นมีโอกาสแต่ก็น้อยมากเช่นกัน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เสียงดังในหู

เสียงดังในหู คืออะไร เราจะได้ยินตอนไหน และควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำความเข้าใจกับอาการเสียงดังในหู ผศ.พญ.ศิริพร กล่าวว่า “เสียงดังในหูเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติเวลาหูทำงานจะมีการส่งเสียงกลับมาด้วย เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์รับเสียงเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ต้องกระตุ้นแรงขึ้นเลยส่งเสียงกลับมาแรงขึ้น ทำให้เราได้ยินเสียงดังในหู” ลักษณะเสียงที่ได้ยินเป็นแบบไหน ? “ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เสียง ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงวี๊ด ถ้าตามอายุหรือตามเซลล์รับเสียงในหูตาย จะตายที่บริเวณเสียงสูงก่อนเป็นอันดับแรก  แต่ถ้าหากว่าเสียงต่ำเสียก่อน ก็จะเป็นเสียงหึ่ง ๆ เหมือนเครื่องจักร” ผศ.พญ.ศิริพร กล่าว เราจะได้ยินเสียงแบบนี้ตอนไหน ? “เรามักจะได้ยินเมื่อเวลาเรามีความเครียด นอนไม่หลับ อยู่เงียบ ๆ คนเดียว เช่น เมื่อเราอยู่ในห้องเงียบ ๆ ทุกคนจะได้ยินเสียงดังในหู กลับกันหากยืนอยู่ตามท้องถนนมีเสียงที่ดังกว่า สมองของเราจะเลือกฟังเสียงที่ดังกว่า เหมือนเราทำงานเพลิน ๆ ไม่ได้สนใจเสียงแอร์ เสียงดังในหูก็คล้ายกับเสียงแอร์นั่นเอง” ผศ.พญ.ศิริพร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาหูทิพย์ สมุนไพรแก้เสียงในหู จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์แนะนำว่ายาหูทิพย์ สามารถแก้อาการมีเสียงในหู หูอื้อ เสียงวิ้ง ๆ ในหูได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาหูทิพย์ รักษาอาการแก้เสียงดังในหู เพราะยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าสมุนไพรทำให้เสียงดังในหูเบาลง แพทย์กล่าวว่า “การที่ได้ยินเสียงในหู เป็นสัญญาณว่าประสาทหูเริ่มเสื่อม คนที่มีความกังวลควรจะมาพบแพทย์ เพื่อตรวจว่าเป็นโรคหรือไม่” เสียงดังในหูสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน -เสียงดังในหูแบบไม่ได้เป็นอันตราย เป็นการทำงานปกติของหูเรา อาการเสื่อมตามวัย และเสื่อมตามพฤติกรรมหรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อาการเสื่อมตามวัยมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป -เสียงดังในหูแบบที่ผู้อื่นได้ยินด้วย กรณีนี้มักเป็นเสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือดแดงใหญ่, หลอดเลือดดำ บริเวณสมองและคอ จะเห็นได้ว่า อาการเสียงดังในหูเราสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ หรือการฟังเพลง ฟังเสียงเกมในระดับความดังที่สูงมากเกินพอดี ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อเสียงวิ้ง ๆ ในหูได้ สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : คำเตือน แบตฯ รถ EV เสื่อมง่าย ไม่คุ้มค่า จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำเตือนว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เสื่อมง่าย 5-8 ปี ใช้แล้วก็หมดราคา ไม่คุ้มค่าที่จะซื้อนั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับนายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สรุปว่า เมื่อใช้รถยนต์ไฟฟ้าไป 5-8 ปี ราคาขายต่อรถยนต์ไฟฟ้ามือสองอาจจะน้อยกว่ารถยนต์สันดาป ส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปจะมีอายุการใช้งานมากพอสมควร และหากเปรียบเทียบราคานี้มีผลต่อค่าใช้จ่ายรวม เมื่อหักลบส่วนที่ประหยัดได้เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังคุ้มค่าที่จะใช้ การพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางค่ายผู้ผลิตแบตเตอรี่โดยตรงและค่ายผู้ผลิตรถยนต์เอง การพัฒนานี้ก็เพื่อให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตถูกลงและสามารถเข้าถึงได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : สุทธิมนัส ชินอัครพงศ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : คอนแทคเลนส์แก้สายตายาว

7 พฤษภาคม 2566 – ปัญหาสายตายาว สามารถแก้ด้วยคอนแทคเลนส์ ได้หรือไม่ ? และใครควรใช้ หรือไม่ควรใช้ ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตายาว 1.สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไปกระทบที่จอประสาทตา จึงไม่มีระยะที่ชัดทั้งใกล้และไกล 2.สายตายาวตามวัย คนที่มีปัญหาสายตายาวเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีความยากลำบากในการมองระยะใกล้ คอนแทคเลนส์สายตายาว จะมีการใส่คอนแทคเลนส์ในตาข้างที่ไม่ถนัด ให้สามารถมองใกล้ชัด ส่วนตาข้างที่ถนัด ยังคงใช้คอนแทคเลนส์อันเดิมเพื่อมองไกลชัด ต้องอาศัยการปรับตัวในการใช้ตา 2 ข้างพร้อมกันในการมองเห็นชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล แต่การใส่คอนแทคเลนส์มีข้อจำกัดที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องของความสะอาด หรือ ระยะเวลาการใช้งาน และต้องระวังในเรื่องของการติดเชื้อของดวงตาอีกด้วย ทั้งนี้แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์สายตายาวทางออนไลน์ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ไปใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีการใช้หน้ากากอนามัย ป้องกันไวรัสอย่างถูกต้อง จริงหรือ ?

3 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีการใช้หน้ากากอนามัยไว้มากมาย เช่น ห้ามใช้แอลกอฮอล์พ่นหน้ากากอนามัยเพราะจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพ หรือ หน้ากากผ้าที่เราใช้กันนั้นป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1  : มีวิธีใช้หน้ากากอนามัยหลายวิธี จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำวิธีใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยกับคนที่ไม่ป่วยจะต้องใช้สลับด้านกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การใส่หน้ากากอนามัยมีแบบเดียว คือใส่ให้ด้านที่มีสารเคลือบกันน้ำหรือด้านมัน ออกข้างนอกเสมอ และเมื่อสวมใส่ก็ควรจะกดพลาสติกให้แนบกับสันจมูกและใบหน้าของเราอยู่เสมอ” อันดับที่ 2  : หน้ากากผ้าป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จริงหรือ ? บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าหน้ากากผ้าอาจไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 และการแพร่กระจายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : รถปลอดภัยหรือไม่ ดูง่ายๆจาก Moose Test จริงหรือ?

2 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์ความรู้ในการเลือกซื้อรถยนต์ว่าถ้าอยากรู้ว่ารถคันไหนปลอดภัยหรือไม่ ให้ดูที่การทดสอบขับหลบหลีก หรือ Moose Test นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ระบุว่า Moose Test เป็นหนึ่งในการทดสอบความปลอดภัยในการหักพวงมาลัยด้วยความเร็วระดับหนึ่ง และ การ Moose Test เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจซื้อรถเท่านั้น ยังมีอีกหลายปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ของแต่ละบุคคล Moose Test  คืออะไร ? การ Moose Test เป็นการทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ในการหักหลบสิ่งกีดขวางแบบกะทันหัน เพื่อดูการตอบสนองของรถยนต์ในสภาวะคับขัน ฉุกเฉิน นอกจาก Moose Test ปัจจัยอะไรบ้างชี้ว่ารถยนต์คันนั้นปลอดภัย ? >การบังคับควบคุม >ทัศนวิสัย >ขนาดของตัวรถ > อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย การซื้อรถยนต์เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายด้านประกอบกัน นอกเหนือจากเรื่องของฟังก์ชันที่ล้ำสมัย รูปทรง และราคาแล้ว เรื่องระบบของความปลอดภัยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการเลือกรถยนต์เช่นกัน ซึ่งระบบความปลอดภัยยังช่วยทำให้ขับขี่รถได้อย่างมั่นใจอีกด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 พฤติกรรมการนอนกรน เสี่ยงหยุดหายใจ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน ที่อาจเสี่ยงกับการเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับได้ มีตั้งแต่มีท่าทางการนอนที่ผิดปกติ ตื่นมาแล้วคอแห้งมากกว่าปกติ รวมไปถึงมีอาการปวดศีรษะมาก บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สรุปว่า วิธีสังเกตพฤติกรรมนอนกรนตามที่แชร์กันมีความถูกต้อง เป็นการประเมินอาการตัวเองในเบื้องต้น ส่วนเรื่องของการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เป็นคะแนนอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย แบบประเมิน 8 ข้อสังเกตพฤติกรรมการนอนกรน มีดังนี้ 1.มีคนเห็นหยุดหายใจขณะหลับ 2.มีท่าทางผิดปกติขณะหลับ เช่น กัดฟัน ขากระตุก 3.ตื่นนอน คอแห้ง เจ็บคอมากผิดปกติ 4.ตื่นมามีอาการปวดศีรษะมาก 5.ตื่นมาง่วงนอน เหมือนพักผ่อนไม่พอ 6.เป็นโรคความดันโลหิตสูง 7.เป็นผู้ชายผู้หญิง วัยหมดประจำเดือน 8.มีอายุมากกว่า 50 ปี สัมภาษณ์เมื่อ 23 มีนาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 2
...