สทนช.เร่งแก้ท่วม-แล้งลุ่มน้ำทะเสสาบสงขลา ล็อกเป้า 3 จุดสำคัญ

สงขลา 10 ต.ค. – สทนช.ลงใต้ตรวจงานโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ล็อกเป้า 3 จุดสำคัญ


ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เดินทางลงพื้นที่ จ.สงขลา เพื่อติดตามการดำเนินการโครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสงขลา ที่ สทนช. ได้ดำเนินการศึกษามาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ปัจจุบันผลการศึกษาใกล้จะแล้วเสร็จ และจะจัดให้มีการประชุมปัจฉิมนิเทศ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

เลขาธิการ สทนช. ระบุว่า ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นลุ่มน้ำสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา (อำเภอเมือง หาดใหญ่ สะเดา รัตภูมิ ระโนด สทิงพระ ควนเนียง กระแสสินธุ์ นาหม่อม บางกล่ำ คลองหอยโข่ง จังหวัดพัทลุงทั้งหมด และจังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอชะอวด และหัวไทร) ที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณนี้ มีปัญหาน้ำท่วม ขาดแคลนน้ำ คุณภาพน้ำ การรุกตัวของน้ำเค็ม ตะกอนในทะเลสาบ เป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจ และเริ่มมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหามาตั้งแต่ปี 2514 แต่ด้วยสภาพพื้นที่ขนาดกว้างใหญ่และการใช้ประโยชน์ที่แตกต่าง ทำให้การศึกษาและการดำเนินการโครงการยังไม่ได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้มีบางโครงการต้องถูกระงับไป ภายหลังจากที่รัฐบาลได้จัดตั้ง สทนช. เมื่อปี 2560 และหลังจากที่พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ได้ประกาศใช้เมื่อต้นปี 2562 ได้กำหนดให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษารูปแบบและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์และบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนศึกษาแผนหลักและแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการบรรเทาอุทกภัย ภัยแล้ง และพื้นที่ Area Based ที่เกี่ยวข้องในทุกลุ่มน้ำ สทนช. จึงได้คัดเลือกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาขึ้นมาดำเนินการ เพื่อหวังผลในการหาทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง


ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลจากรอบด้านทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และจากการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ผ่านมา ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำที่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำ 5 ด้าน ได้แก่ 1. ปัญหาอุทกภัย 2.ปัญหาการขาดแคลนน้ำ/การรุกตัวของน้ำเค็ม 3. ปัญหาคุณภาพน้ำ 4. ปัญหาตะกอนในทะเลสาบ/สิ่งแวดล้อม และ 5.ปัญหาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

ในการศึกษาได้กำหนดแนวทางพัฒนาทรัพยากรน้ำ สำหรับจัดทำแผนหลัก 20 ปี รวมงบประมาณกว่า 69,395 ล้านบาท ได้แก่ ด้านน้ำท่วม 14 กลุ่มโครงการ ด้านขาดแคลนน้ำ/รุกตัวของน้ำเค็ม 28 กลุ่มโครงการ ด้านคุณภาพน้ำ 9 กลุ่มโครงการ ด้านตะกอนในทะเลสาบ/สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ 20 กลุ่มโครงการ ด้านองค์กร/ การบริหารจัดการ จัดทำในลักษณะของข้อเสนอแนะการปรับองค์กร การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้บริหารจัดการน้ำได้มีประสทธิภาพมากขึ้น เช่น แก้ไขปัญหาด้านพื้นที่ทับซ้อน

ในการลงพื้นที่ในวันนี้ คณะเลขาธิการ สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการที่สอดคล้องกับการศึกษาที่เกี่ยวกับตะกอนในทะเลสาบสงขลา ได้แก่ การดำเนินการขุดลอกร่องน้ำทะเลสาบสงขลา (ร่องใน) ของกรมเจ้าท่า บริเวณแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เป็นจุดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมาก เนื่องจากเป็นร่องน้ำทางเดินเรือของเรือสินค้าขนาดกลางที่มาขนถ่ายสินค้าขึ้น-ลงบริเวณท่าเรือเอกชน รวมถึงเรือประมงที่มาขนถ่ายสัตว์น้ำบริเวณท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา อีกทั้งยังเป็นร่องน้ำที่ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำจากทะเลสาบสงขลาตอนล่างสู่อ่าวไทย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการขุดลอกร่องน้ำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อนำตะกอนสะสมในร่องน้ำออกไม่ให้เกิดความตื้นเขิน ป้องกันการเกิดเนินทรายหรือสันดอนทราย การขุดลอกร่องน้ำดังกล่าวต้องทำควบคู่ไปกับการขุดลอกร่องกลางทะเลสาบตอนล่างและร่องน้ำร่องนอก เพื่อให้เรือสามารถสัญจรเข้า-ออกได้ตามปกติ และช่วยระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดที่สอง การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ ได้แก่ การดำเนินการของกรมชลประทาน บริเวณแก้มลิงบ้านชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรสทิงพระซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ได้แก่ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบชายทะเล ในอดีตไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำ รวมถึงคลองและระบบลำเลียงน้ำในพื้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งจากการศึกษาของกรมชลประทานพบว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด คือ การสร้างแก้มลิง 3 จุด โดยแก้มลิงบ้านชะแล้เป็นหนึ่งในโครงการดังกล่าว ลักษณะโครงการเป็นการขุดแก้มลิงเนื้อที่ประมาณ 275 ไร่ ลึก 4 เมตร ความจุประมาณ 1.76 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมก่อสร้างอาคารและส่วนประกอบ เช่น อาคารระบายน้ำ อาคารรับน้ำ อาคารอัดน้ำ รางระบายน้ำ ทำนบดิน และถนนลาดยาง ซึ่งหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเก็บกักน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งสำหรับทำการเกษตรของประชาชนใน ต.ชะแล้ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ประมาณ 816 ครัวเรือน ประชากร 2,908 คน พื้นที่การเกษตร 1,418 ไร่


​สำหรับจุดสุดท้าย คือ แนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยกรมชลประทาน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบรรเทาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ระยะที่ 2) เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จากเดิมได้เพียง 465 ลูกบาศก์เมตร/วินาที โดยมีกิจกรรมหลัก ได้แก่
1.งานปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ความยาว 21.34 กิโลเมตร
2.งานก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานโค้ง ขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง
3.งานก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 เป็นประตูระบายน้ำชนิดบานระบายตรง ขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง
และ 4.งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยี อัตราการสูบรวม 90 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

​“ทั้ง 3 จุด แม้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แต่ถือเป็นตัวอย่างการดำเนินงานภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีความเหมาะสมทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และการบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการดำเนินการไม่ได้คำนึงเพียงการพัฒนาสิ่งก่อสร้างให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาภายใต้การศึกษาที่คำนึงถึงความสมดุลของน้ำ ชลศาสตร์ รวมถึงประเด็นในเรื่องคุณภาพน้ำ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตของประชาชน และอาชีพของคนในพื้นที่ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะนำมาซึ่งความยั่งยืนที่แท้จริง” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

​ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ไม่เพียงแต่การวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างเป็นระบบข้างต้นแล้ว การติดตามประเมินสถานการณ์น้ำเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการป้องกันผลกระทบไว้ล่วงหน้า ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีการติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนตุลาคมร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านทางตอนล่างของประเทศ ส่งผลให้ภาคใต้เริ่มมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก จากการคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วง 7 วันข้างหน้า พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 5 จังหวัด บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล

ทั้งนี้ กอนช. จะมีการประชุมติดตามแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 51 แห่ง ยังคงเหลือ 12 แห่ง จากแผนทั้งหมด 115 แห่ง. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทบ.​ เชิญ​ผู้ช่วยทูตทหาร รับฟังข้อเท็จจริง​ปมทุ่นระเบิดช่องบก

กองทัพบก 22 ก.ค.- ทบ.​ เชิญ​ผู้ช่วยทูตทหาร​ 47 ประเทศ​ รับฟังคำชี้แจง​สถานการณ์​ชายแดน​ไทย​-กัมพูชา​ หลังกำลังพลเหยียบกับระเบิดบาดเจ็บ​ 3 นาย​ พบ เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคล​วางใหม่​ โดยมีหลายชาติ สนใจรับฟังขณะ​ พลจัตวา​ ฮอม​ คิม ผู้ช่วยทูตทหารดัมพูชา ร่วมด้วย กองบัญชาการ​กองทัพ​บก​ เชิญผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศประจำประเทศไทย​ รับฟังการชี้แจงสถานการณ์​ชายแดนไทย​-กัมพูชา​ ถึงข้อเท็จจริงกรณีไทยโดนรุกล้ำอธิปไตย​ และมีการวางทุ่นระเบิดสังหารบุคคล​ ทำให้ทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 6 ได้รับบาดเจ็บ 3 นาย​ และมีการตรวจสอบว่าเป็นการวางทุ่นระเบิดใหม่​ ที่วางในเขตไทย​ ซึ่งขัดต่ออนุสัญญา​ออตตาวา​ ที่ทั้งไทยและกัมพูชาเป็นประเทศภาคี​ที่ให้สัตยาบัน​​ บรรดาทูต​ทหาร​ ทยอยเดินทางมายังห้อง ศรีสิทธิสงคราม​ ภายในกองทัพบก ตั้งแต่เวลา​ 13.20 น.​ อาทิทูตทหารจากเวียดนาม เมียนมา อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อังกฤษ บูรไน ออสเตเรีย สหรัฐอเมริกา อินโดนิเซีย จีน กัมพูชา เยอรมันนี แคนนาดา […]

พายุวิภากระหน่ำจันทบุรี ซัดหลังคาร้านอาหารถล่ม

จันทบุรี 22 ก.ค. – พายุกระหน่ำจันทบุรี ซัดหลังคาร้านข้าวมันไก่ถล่ม กระแทกหลังแม่เจ้าของร้านได้รับบาดเจ็บ ส่วนที่ภูเก็ตพายุถล่มภูเก็ต ป้ายล้ม-ต้นไม้ทับสาวจีนเสียชีวิต หลังคาร้านข้าวมันไก่ บริเวณตลาดศิริการ อ.เมือง จ.จันทบุรี ถูกพายุพัดร่วงลงมาทั้งแผง ท่ามกลางความตื่นตระหนกของลูกค้าและพนักงานในร้าน เหตุดังกล่าวเกิดช่วงเที่ยงพอดี จึงมีลูกค้ามานั่งกินข้าวเต็มร้าน กระทั่งมีฝนเทลงมา ทางร้านและลูกค้าจึงช่วยกันขนย้ายโต๊ะเก้าอี้เข้าข้างในเพื่อหลบฝน ก่อนพายุจะซัดเข้ามาอย่างรุนแรง จนหลังคาถล่ม เบื้องต้นไม่มีลูกค้าได้รับบาดเจ็บ มีเพียงแม่เจ้าของร้านข้าวมันไก่อีกร้าน ที่อยู่ติดกัน ถูกหลังคากระแทกหลังได้รับบาดเจ็บ นำส่งโรงพยาบาลแล้ว พนักงานร้านข้าวมันไก่ บอกว่า ปกติบริเวณนี้มีฝนตกบ่อย หลังคาแข็งแรงดี ไม่ได้ชำรุดอะไร แต่วันนี้ ลมแรงมาก มาแบบวูบเดียว พัดหลังคาลอยขึ้นก่อนพังลงมา ทั้งนี้ลมพายุได้พัดหลังคาของตึกที่อยู่ในละแวกร้านข้าวมันไก่พังเสียหายจำนวน 15 คูหา เบื้องต้นกำลังทหารและตำรวจ ได้เข้าตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือ ขนย้ายเศษซากหลังคาเคลียร์พื้นที่เพื่อความปลอดภัยแล้ว พายุโซนร้อนวิภาถล่มภูเก็ต ป้ายล้ม-ต้นไม้ทับสาวจีนเสียชีวิต ที่หน้าหาดเกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ หอบข้าวของวิ่งหนีลมพายุ จังหวะนั้นต้นไม้ขนาดใหญ่ถูกลมพัดโค่นลงมา ในคลิปจะได้ยินเสียงคนพูดว่า “เห็นไหม คน ๆ อยู่ใต้นั้น” หลังเหตุการณ์สงบ […]

รถบรรทุกพุ่งชน จยย.พ่วงข้างรับส่ง นร. ตาย 3 เจ็บ 6

พระนครศรีอยุธยา 22 ก.ค. – สลด รถบรรทุก 6 ล้อ พุ่งชนรถจักรยานยนต์พ่วงข้างรับส่งนักเรียน มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 6 คน เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุก 6 ล้อ ทะเบียนพระนครศรีอยุธยา พุ่งชนรถจักรยานยนต์พ่วงข้างรับส่งนักเรียน โรงเรียนวัดมณฑลประสิทธิ์ ก่อนตกลงไปในร่องน้ำ บนถนนชนบทเลียบคลองระพีพัฒน์ หมู่ 5 ตำบลวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอัดกับรั้วบ้านจนรถพังยับ มีผู้ติดอยู่ในรถ 2 คน เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องใช้อุปกรณ์ตัดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั้ง 2 คนออกมา แต่ผู้โดยสารเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนคนขับบาดเจ็บสาหัส ใกล้กันพบรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง สภาพรถเสียหายยับเยิน คนบนรถ 7 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดมณฑลประสิทธิ์ 6 คน ผู้ปกครอง 1 คน บาดเจ็บทั้งหมด เจ้าหน้าที่กู้ภัยจึงช่วยกันนำตัวส่งโรงพยาบาลวังน้อย และมีนักเรียน 2 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่มูลนิธิพุทไธสวรรย์ จุดกิตติวังน้อย […]

โฆษก ทบ. เผยนานาชาติเข้าใจไทยเคลียร์ปมทุ่นระเบิด

กองทัพบก 22 ก.ค.- โฆษก ทบ. เผยเคลียร์ปมทุ่นระเบิด นานาชาติเข้าใจไทย ขณะผู้ช่วยทูตทหารกัมพูชานั่งนิ่งไม่โต้แย้ง – ให้กองทัพภาคที่ 2 ประเมินสถานการณ์หลังคนไทยนัดรวมตัวปราสาทตาเมือนธม ปลายเดือนนี้ พลตรีวินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวภายหลังการเชิญผู้ช่วยทูตทหาร รับฟังคำชี้แจง​สถานการณ์​ชายแดน​ไทย​- กัมพูชา​ หลังกำลังพลเหยียบกับระเบิดบาดเจ็บ​ 3 นาย​ ว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ส่วนใหญ่เป็นการรับฟังและมีคำถามบ้าง ถือว่าน้อย เนื่องจากทุกท่านอาจจะได้รับข่าวสารจากช่องทางอื่นมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ที่พยายามบอกกล่าวและชี้แจงกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในเรื่องข้อเท็จจริง พลตรีวินธัย เปิดเผยว่า ทูตทหารของกัมพูชา ไม่ได้ชี้แจงหรือมีคำถามอะไร คำถามส่วนใหญ่มาจากท่านอื่นมากกว่า ที่ถามเรื่องของความมั่นใจและยืนยันใช่หรือไม่ ซึ่งทางเรา ก็ให้เหตุผลไป และจะให้เอกสารชี้แจง ส่วนท่าทีของประเทศมหาอำนาจ ก็ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ ซึ่งการเชิญมาในวันนี้เราก็ทำตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก คือทำให้เป็นทางการ ส่วนการหารือได้ชี้แจงเรื่องของการละเมิด บูรณภาพดินแดน และเอ็มโอยู 2543 และอนุสัญญาออตตาวา ด้วยหรือไม่ พลตรีวินธัย ระบุว่า มีการพูดถึงประเด็นดังกล่าว และได้อธิบายตามหลักอนุสัญญา ที่ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิก และเล่าถึงกลไกการแก้ไขปัญหา […]

ข่าวแนะนำ

น้ำท่วมตัวเมืองน่าน-เขตเศรษฐกิจขยายวงกว้าง

น่าน 23 ก.ค. – ตอนนี้น้ำท่วมตัวเมืองน่าน รวมทั้งเขตเศรษฐกิจ ยังเพิ่มสูงขึ้นและแผ่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ หลังระดับน้ำท่วมสูงเกิน 9 เมตร และทะลักเข้าท่วม .-สำนักข่าวไทย

ผบ.ทบ.นำคณะลงช่องอานม้า พรุ่งนี้ จ่อใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ

23 ก.ค.- “ผบ.ทบ.” สั่ง ทภ.2-ทภ.1 เตรียมพร้อม “แผนจักรพงษ์ภูวนาถ” รับมือชายแดนไทย-กัมพูชา พร้อมยกคณะลงพื้นที่บัญชาการ วันที่ 23 ก.ค.68 พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผข.ทบ.) ได้สั่งการไปยังกองทัพภาคที่ 2 และกองทัพภาคที่1 รับผิดชอบพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา เตรียมใช้แผนจักรพงษ์ภูวนาถ แก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชาหลัง กำลังพลของกองทัพบกไทยจากชุดลาดตระเวน พัน.ร.14 ประสบเหตุเหยียบกับระเบิดบริเวณห้วยบอน ช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พิกัด VA 950911 ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการตามแนวชายแดน โดยส่งผลให้ จ่าสิบเอกพิชิตชัย บุญโคราช ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียขาขวา และอยู่ระหว่างการส่งตัวรักษาต่อ ณ โรงพยาบาลน้ำยืน โดยให้พร้อมปฏิบัติหน้าที่ทันที เมื่อสั่งการ ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.) พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก พลโท ชัยพฤกษ์ ด้วงประพัฒน์ รองเสธ ทบ. พลโทบุญสินพาดกลาง มทภ.2 […]

ตอบโต้เขมร! ปิด 4 ด่าน หลังทหารเหยียบกับระเบิดขาขาดอีก 1 ราย

23 ก.ค.- ศบ.ทก. เห็นชอบให้ทัพภาค 2 ปิดด่านชายแดน-สถานที่ท่องเที่ยว 4 จังหวัดอีสานใต้ ตั้งแต่พรุ่งนี้ (24 ก.ค.) หลังล่าสุดทหารไทยเหยียบกับระเบิดขาขาดอีกราย จากกระแสข่าวมีทหารไทยเหยียบกับระเบิดขาขาดบริเวณแนวชายแดนไทยกัมพูชาเมื่อเวลา 16.55 น. นั้น ล่าสุด แหล่งข่าวจากศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา หรือ ศบ.ทก. ยอมรับว่าเป็นเรื่องจริงโดยกองทัพภาคที่ 2 ได้ปรึกษามาที่ ศบ.ทก. เพื่อขออนุญาตปิดด่านในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 2 ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวตามแนวชายแดน เพื่อเป็นการประท้วงกัมพูชา จากการลักลอบวางทุ่นระเบิดที่เกิดขึ้น ซึ่ง ศบ.ทก. เห็นชอบ ขณะเดียวกันจะส่งหนังสือประท้วงโดยใช้กลไก RBC และรายงานกระทรวงต่างประเทศ เพื่อประท้วงต่อไป ดังนั้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (24 ก.ค.) จะปิดด่านชายแดนทั้งหมดในพื้นที่ 4 จังหวัดอีสานใต้ของไทย หลังจากที่ฝั่งไทยมีการกำหนดเวลาเปิด-ปิด และในส่วนสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง 3 ปราสาท คือ ตาเมือนธม ตาเมือนโต๊ด และตาควาย […]

พายุวิภาทำเชียงรายอ่วม-รพ.เทิง งดรับผู้ป่วยชั่วคราว

เชียงราย 23 ก.ค. – พายุวิภาทำ อ.เทิง จ.เชียงราย อ่วม น้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือน พื้นที่การเกษตร โรงพยาบาลเทิง ประกาศงดให้บริการผู้ป่วยทั่วไปชั่วคราว รับเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ด้านนายอำเภอสั่งการเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง อพยพผู้ป่วยและผู้สูงอายุไปยังที่ปลอดภัย ฝนตกหนักจากอิทธิพลพายุวิภา ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรหลายอำเภอใน จ.เชียงราย โดยเฉพาะ อ.เทิง สถานที่ราชการ ได้แก่ สภ.เทิง ศาลจังหวัด และโรงพยาบาลเทิง เกิดน้ำท่วมขัง โรงพยาบาลต้องงดให้บริการผู้ป่วยทั่วไป รับเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น ขณะที่สถานการณ์โดยทั่วไปยังมีฝนตกหนัก นายอำเภอเทิงลงพื้นที่ สั่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือชาวบ้านขนย้ายของขึ้นที่สูง อพยพผู้ป่วยและผู้สูงอายุไปยังที่ปลอดภัย ส่วนถนนพหลโยธิน ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย น้ำป่าจากดอยโป่งพระบาทไหล่เอ่อท่วมถนนด้านขาขึ้น การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก ภาพรวมสถานการณ์ จ.เชียงราย เบื้องต้นมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนประมาณ 100 ครัวเรือน เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต.-สำนักข่าวไทย