fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นยกเลิกบังคับฉีดวัคซีน เพราะโรคหัวใจจากวัคซีน จริงหรือ?

30 มีนาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้

บทสรุป:


  1. ญี่ปุ่นไม่มีนโยบายบังคับประชาชนฉีดวัคซีนโควิด 19 หรือวัคซีนใดๆ มาตั้งแต่ปี 1994
  2. แม้ญี่ปุ่นจะแจ้งเตือนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบบนฉลากวัคซีน แต่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าวัคซีนมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากอาการข้างเคียง

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ Brisbane National Review เว็บไซต์จากประเทศออสเตรเลียรายงานว่า ประเทศญี่ปุ่นล้มเลิกนโยบายบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด 19 หลังมีการประกาศเตือนบนฉลากขวดวัคซีนเรื่องอาการข้างเคียงเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


ทางการประเทศญี่ปุ่นใส่ข้อความเตือนเกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบบนฉลากวัคซีนโควิด 19 ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2021 ตามแนวทางขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ที่เคยระบุคำเตือนเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบบนฉลากวัคซีนโควิด 19 มาแล้วเช่นกัน หลังพบว่ามีโอกาสที่ผู้ได้รับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer และ Moderna บางคนอาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แม้จะเป็นอาการที่พบได้ยากมาก และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ต่างยืนยันถึงประโยชน์ของวัคซีนที่มีมากกว่าความเสี่ยงจากอาการข้างเคียง

ส่วนการอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นยุตินโยบายบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่เป็นความจริง เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนทุกชนิด

ข้อมูลจากสำนักข่าว Japan Times ระบุว่า หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา กฎหมายรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมาก ญี่ปุ่นจึงไม่มีคำสั่งให้ประชาชนฉีดวัคซีน, สวมหน้ากาก หรือมีคำสั่งล็อกดาวน์ในช่วงที่ประเทศเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่อย่างใด

แต่เดิมทัศนคติของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อวัคซีนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก และญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่ไม่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนต้องฉีดวัคซีนชนิดใดๆ มาตั้งแต่ปี 1994 หลังมีการปฏิรูปกฎหมายวัคซีนที่ศาลออกคำสั่งให้รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบต่ออาการข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีน

ญี่ปุ่นถือเป็นชาติที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิด 19 ล่าช้าเมื่อเทียบกับชาติตะวันตก โดยเริ่มให้ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งแรกช่วงกลางเดือนเมษายนปี 2021 และเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปช่วงเดือนมิถุนายน และเริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแก่บุคลากรทางการแพทย์เมื่อเดือนธันวาคมปี 2021

แต่เมื่อถึงวันที่ 28 มีนาคมปี 2022 ญี่ปุ่นฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั่วประเทศไปแล้วกว่า 252 ล้านโดส โดยมีสัดส่วนการฉีดวัคซีนครบโดสเกือบ 80% ทำให้ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศในกลุ่ม G7 หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด 19 สูงที่สุด

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.politifact.com/factchecks/2022/jan/12/blog-posting/headline-about-japan-dropping-vaccine-mandates-mis/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รวบผู้ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพที่นนทบุรี นำตัวเข้าเซฟเฮาส์

รวบตัวชายไทย อายุประมาณ 35-40 ปี ต้องสงสัยคดีฆ่าหั่นศพ ภายในซอยจัดสรรสวิง 2 ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตำรวจนำตัวเข้าเซฟเฮาส์ อยู่ระหว่างสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

“สารวัตรแจ๊ะ” ยื่นฟ้องหมิ่น “ทนายรัชพล” กล่าวหาจับแพะติดคุกฟรีปีกว่า

“สารวัตรแจ๊ะ” พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาททนายดัง และฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท ยันไม่ได้นําตัวไปเซฟเฮาส์ ด้านทนายเผยพบหลักฐานทนายคู่กรณีบีบผู้เสียหายกลับคําให้การ แบ่งเงินคนละครึ่ง

ข่าวแนะนำ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา เริ่มมีสัญญาณที่ดี-การสู้รบเงียบสงบ

สถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สอด จ.ตาก เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังการสู้รบเงียบสงบเกินกว่า 24 ชั่วโมง คาดมีการเจรจากันของกลุ่มต่อต้านและทางการเมียนมา หยุดยิงชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบ

“บิ๊กโจ๊ก” ยื่น ป.ป.ช.อีกรอบ สอบตำรวจทำคดีเว็บพนันออนไลน์

“บิ๊กโจ๊ก” บุกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกครั้ง เพื่อยื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษหัวหน้าและคณะพนักงานสอบสวนทั้งหมดในคดีเว็บพนันออนไลน์ที่มีการทำคดีโดยมิชอบ

ผู้ว่าการ ธปท.เตือน ครม. หวั่นดิจิทัลวอลเล็ตก่อหนี้จำนวนมาก

ทำเนียบฯ 24 เม.ย.- ผู้ว่าการ ธปท. ทำหนังสือถึง ครม. เตือนเดินหน้าดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท หวั่นก่อหนี้จำนวนมาก นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 เม.ย.2567 มองว่า โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ  ต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันต่อรัฐบาลในอนาคตดังนี้ 1.ความจำเป็น โครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ ควรดูแลครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง  โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ 15 ล้านคน ซึ่งดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณเพียง 150,000 ล้านบาท และควรทำแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลัง  […]

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน-ใต้ พายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพฯ-ปริมณฑล อากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย