ชัวร์ก่อนแชร์: เน็ตไอดอลทำนายแผ่นดินไหวแคลิฟอร์เนีย จริงหรือ?

11 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีบอกเหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้าเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อผู้ใช้ X ที่ชื่อว่า เบรนต์ ดมีทรัก เคยคาดการณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองยูเรกา เมืองชายหาดทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่เดือนตุลาคม จนกระทั่ง 2 เดือนต่อมา เกิดเหตุแผ่นดินไหวทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียในระดับ 7.3 แมกนิจูด ทำให้ชื่อเสียงด้านการทำนายแผ่นดินไหวของเขาเป็นที่ร่ำลือทางโลกออนไลน์ บทสรุป : ปัจจุบันไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่จะคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แต่กระนั้น ความสำเร็จในการทำนายแผ่นดินไหวครั้งนั้น น่าจะเกิดจากการคาดเดามากกว่าความสำเร็จในการคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหวที่แท้จริง แคลิฟอร์เนียเกิดแผ่นดินไหวต่อเนื่อง ข้อมูลจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (USGS) ระบุว่า ในแต่ละปีมีการเกิดเหตุแผ่นดินไหวทั่วโลกนับแสนครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่รอบ ๆ เมืองยูเรกาที่อยู่ทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย เป็นจุดที่แผ่นเปลือกโลก 3 แผ่นมาบรรจบกัน ส่งผลให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก โดยมีแผ่นดินไหวเฉลี่ยปีละ 700 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: กฟภ. แจ้งเตือน! ไลน์ปลอมระบาด หลอกติดตั้งมิเตอร์

เตือนภัย ! ตอนนี้มีไลน์ปลอมแพร่ระบาดแอบอ้างเป็น “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)” หลอกลวงประชาชน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยืนยัน บัญชี LINE ชื่อ “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า” เป็นบัญชีปลอม โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดให้บริการติดต่อผ่านไลน์ ไอดี @PEAThailand และของแท้ต้องมีโล่สีเขียวเท่านั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถติดต่อได้ที่ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า มิจฉาชีพมักแอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้ง  หากได้รับข้อความหรือการติดต่อในลักษณะดังกล่าว ควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สิน 10 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์: การเรียงตัวของดาวเคราะห์ส่งผลต่อแผ่นดินไหว จริงหรือ?

10 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีบอกเหตุแผ่นดินไหวล่วงหน้าเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่าการเรียงตัวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะส่งผลต่อการเกิดแผ่นดินไหวบนพื้นโลก บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ผู้ที่อ้างหลักการดังกล่าวได้แก่ แฟรงค์ ฮูเกอร์แบรตส์ ชาวดัชต์ที่อ้างว่าเป็นนักวิจัยด้านแผ่นดินไหว ซึ่งเคยเป็นข่าวดังจากการอ้างว่าตนเองประสบความสำเร็จในการคาดการณ์เหตุแผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรียเมื่อปี 2023 โดยใช้ข้อมูล Solar System Geometry Survey (SSGEOS) ที่เชื่อว่าการเรียงตัวของโลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มีความสัมพันธฺต่อการเกิดแผ่นดินไหวบนโลก ในช่อง Youtube ของ SSGEOS ที่ แฟรงค์ ฮูเกอร์แบรตส์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ยังได้กล่าวถึงแผ่นดินไหวในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยคลิปที่เผยแพร่ทางช่อง SSGEOS เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ได้พยากรณ์ว่า ในวันที่ 27 […]

ปาฏิหาริย์การทำนายแผ่นดินไหวเมืองไห่เฉิง 1975

09 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล หนึ่งในความเข้าใจผิดว่ามนุษย์สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ได้ เกิดจากความสำเร็จในการอพยพชาวเมืองไห่เฉิง นครอานชาน มณฑลเหลียวหนิง เมืองทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1975 ก่อนเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน ช่วยให้ชาวเมืองรอดชีวิตจากมหันตภัยครั้งใหญ่นับแสนชีวิตอย่างปาฏิหาริย์ การเตือนภัยแผ่นดินไหวในจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนต้องเผชิญกับเหตุแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 1966 – 1969 นำไปสู่การประชุมของหน่วยงานภาครัฐในปี 1970 เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอนาคต ก่อนจะพบว่าภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ หลังรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 4 ปี ในเดือนมิถุนายน 1974 มีการคาดการณ์ความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 5-6 แมกนิจูดภายในระยะเวลา 2 ปี ในพื้นที่รอบ ๆ ทะเลปั๋วไห่ อันได้แก่มณฑลซานตง มณฑลเหอเป่ย์ เทียนจิน และมณฑลเหลียวหนิง นำไปสู่การออกมาตรฐานเตรียมพร้อมรับมือเหตุแผ่นดินไหวที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 1975 เป็นต้นไป ในเดือนธันวาคม 1974 พบการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอย่างต่อเนื่องในเมืองเหลียวหยาง ของมณฑลเหลียวหนิง ซึ่งอยู่ติดกับเมืองไห่เฉิง โดยวัดความรุนแรงสูงสุดได้ 4.5 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : King Power ปิดทุกสาขาสิ้นเดือนนี้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ คิง เพาเวอร์ประกาศปิดทุกสาขาภายในสิ้นเดือน นั้น  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ บริษัท คิงเพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บริษัทคิง เพาเวอร์ ยืนยันว่า ไม่จริง ทางบริษัท คิง เพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ดังนี้  – คิง เพาเวอร์ รางน้ำ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 – 21.00 น. – คิง เพาเวอร์ ศรีวารี เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – 20.00 น. – คิง เพาเวอร์ พัทยา เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำลดเยอะ สัญญาณภัยธรรมชาติ จริงหรือ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพและคลิปน้ำในแม่น้ำที่จังหวัดสมุทรปราการลดลงผิดปกติ จนทำให้ประชาชนเกิดความหวั่นใจว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เหตุการณ์ในคลิปเป็นน้ำขึ้น-น้ำลงตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ สาเหตุที่น้ำลดลงต่ำมากเป็นเพราะแรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงจันทร์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่สัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติดังที่มีการตั้งข้อสังเกตในช่องแสดงความคิดเห็น FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพและคลิปที่ส่งต่อในไลน์ดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 และวันที่ 2 เมษายน 2568 โดยต้นโพสต์เป็นการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณท่าเรือข้ามฟากปากน้ำ-พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ที่น้ำในแม่น้ำแห้ง ทำให้การสัญจรทางเรือระหว่างสองฝั่งต้องหยุดให้บริการชั่วคราว ทั้งนี้ ลักษณะข้อความที่โพสต์เป็นการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ไม่ได้ชี้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจหรือเป็นสัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติ  อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางส่วนเกิดกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น “น้ำแห้งจนน่ากลัว” “แห้งแบบนี้น่ากลัวจัง ทำให้คิดถึงสึนามิ” จึงเป็นเหตุให้มีผู้อ่านเกิดความกังวลและได้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ก มิตรเอิร์ธ – mitrearth ว่า สาเหตุที่น้ำลดลงเป็นจำนวนมากส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์ Perigee ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เซนเซอร์รถยนต์ Tesla ตรวจจับวิญญาณได้ จริงหรือ?

08 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับรถยนต์ BEV ยี่ห้อ Tesla เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า ระบบเซนเซอร์ของรถยนต์ Tesla สามารถจับการเคลื่อนไหวของวิญญาณได้ หลังมีการนำหลักฐานมาแชร์ทางออนไลน์ว่า หน้าจอแสดงผลในรถยนต์ Tesla แสดงเงาของผู้คนเดินไปมารอบ ๆ รถ ทั้ง ๆ ที่บริเวณดังกล่าวไม่มีผู้คนอยู่เลย โดยมักจะพบภาพวิญญาณตอนที่ขับรถไปในสุสานอีกด้วย บทสรุป : ภาพที่คล้ายวิญญาณ แท้จริงแล้วคือภาพการประมวลผลที่ผิดพลาดของระบบป้องกันการชนของรถยนต์ Tesla FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แท้จริงแล้ว ภาพคล้ายคนเดินตามถนนบนหน้าจอในรถยนต์ Tesla ไม่ใช่ภาพถ่ายวิญญาณ แต่เป็นภาพการประมวลผลที่ผิดพลาดของระบบป้องกันการชนของรถยนต์ Tesla หรือ Collision Avoidance Systems Collision Avoidance Systems ทำงานด้วยการใช้ภาพจากกล้องและระบบเซนเซอร์เพื่อวิเคราะห์สิ่งกีดขวางที่อยู่รอบ ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: รถ Tesla ในอเมริกาเหลือล้นสต็อก-มองเห็นจากนอกโลก จริงหรือ?

07 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรถยนต์ BEV ยี่ห้อ Tesla เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า ในช่วงต้นปี 2024 รถยนต์ Tesla ถูกผลิตมากกว่าความต้องการเกือบ 50,000 คัน จนต้องนำไปเก็บตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วสหรัฐฯ จำนวนรถยนต์ตกค้างมีมากเสียจนมองเห็นได้จากนอกโลก บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้อความดังกล่าว อ้างจากรายงานของ Sherwood เว็บไซต์ข่าวด้านเศรษฐกิจที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน 2024 ในหัวข้อ Tesla’s massive pileup : Tesla’s unsold inventory is creating stockpiles you can see from […]

เบื้องหลังผลสำรวจรถ Tesla เสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่ายี่ห้ออื่น

มีข้อมูลสร้างความกังวลให้กับผู้สนใจการขับขี่รถยนต์ BEV ยี่ห้อ Tesla เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีรายงานพบว่าการขับขี่รถยนต์ Tesla ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าการขับรถยนต์ยี่ห้ออื่น ๆ รายงานอุบัติเหตุจากรถยนต์ Tesla ข้อมูลที่ถูกแชร์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 นำมาจากการศึกษาโดย iSeeCars เว็บไซต์จำหน่ายรถยนต์มือสองที่พบว่า Tesla เป็นรถยนต์ยี่ห้อที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ตามมาด้วยรถยนต์จากค่าย Kia, Buick, Dodge และ Hyundai อย่างไรก็ดี ผลสรุปดังกล่าวสร้างข้อโต้แย้งจากสื่อยานยนต์และ Fact Checker เนื่องจากปัญหาด้านความโปร่งใสของข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ iSeeCars อธิบายว่า ข้อมูลดังกล่าวนำมาจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่รวบรวมโดยองค์กรบริหารความปลอดภัยบนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา (NHTSA) นำมาเฉพาะรถยนต์รุ่นที่จัดจำหน่ายระหว่างปี 2018-2022 ที่เกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย ในปี 2022 จากนั้นจึงนำข้อมูลระยะทางการขับรถยนต์มากกว่า 8 ล้านคันบนถนนในสหรัฐฯ ช่วงปี 2022 มาคำนวณกับยอดการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อหาสัดส่วนการเกิดอุบัติเหตุต่อระยะทางของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ ผลสรุปของ iSeeCars พบว่า Tesla เป็นรถยนต์ยี่ห้อที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด โดยทุก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: แคนาดาตั้งภาษีรถยนต์ Tesla จากสหรัฐ 100% จริงหรือ?

05 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรถยนต์ BEV ยี่ห้อ Tesla เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าประเทศแคนาดาตั้งกำแพงภาษีนำเข้ารถยนต์ Tesla จากสหรัฐฯ สูงถึง 100% เพื่อตอบโต้นโยบายการตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของแคนาดาโดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ในช่วงต้นปี 2025 ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดาตกตต่ำสุดขีด เนื่องจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ขู่ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดา นำไปสู่การตอบโต้ด้วยคำขู่การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากผู้นำของทั้งสองประเทศ ก่อนที่ผู้นำสหรัฐฯ จะชะลอการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดาออกไปจนถึงวันที่ 2 เมษายนนี้ แต่การที่ผู้นำสหรัฐฯ มีแนวคิดจะผนวกประเทศแคนาดาเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ กลายเป็นชนวนสร้างความไม่พอใจแก่ชาวแคนาดาอย่างแพร่หลาย นำไปสู่กระแสการคว่ำบาตรสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ และกระตุ้นให้คนในชาติหันมาให้การสนับสนุนสินค้าภายในประเทศ กระทั่งต้นเดือนมีนาคม มีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์ว่า รัฐบาจะขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากสหรัฐฯ รวมถึงรถยนต์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ริกเตอร์หรือแมกนิจูด? ไขความต่างของสองคำที่มาพร้อมแรงสั่นสะเทือน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนตระหนักและเริ่มให้ความสนใจกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวมากยิ่งขึ้น โดยคำศัพท์ที่ได้ยินจากการรายงานข่าว ได้แก่ “ริกเตอร์” และ “แมกนิจูด” มักก่อให้เกิดความสับสนว่า แท้จริงแล้วแผ่นดินไหวมีวิธีการวัดขนาดอย่างไร และค่าที่รายงานนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลผ่านรายการ Mahidol Science Café ถามตอบข้อสงสัยแผ่นดินไหว เอาไว้ว่า แท้จริงแล้วในการวัดค่าแผ่นดินไหวนั้น “ไม่มีหน่วยวัด” แต่ “ริกเตอร์” คือชื่อมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย ประเทศไทยก็ใช้มาตราริกเตอร์ในการวัดขนาดแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน ริกเตอร์ กรมทรัพยากรธรณีให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตราริกเตอร์ (Richter scale) ไว้ดังนี้ มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดย Charles F.Richter […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : SMS จริง ! สนง.สถิติฯ ชวนตอบแบบสอบถาม ลุ้นรับรางวัลรวม 6 ล้านบาท

ตามที่มีการแชร์ รูป SMS สนง. สถิติ ชวนตอบแบบสอบถาม ลุ้นรับรางวัลรวม 6 ล้านบาท นั้น  📌 บทสรุป : เป็นข้อความ SMS จริง ที่ส่งโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สนง.สถิติฯ) ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ทางการ ว่า ข้อความ SMS ดังกล่าว เป็นข้อความจริงที่ส่งโดย สนง.สถิติฯ เพื่อเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมตอบแบบสอบถามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ สนง.สถิติฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าการส่ง SMS ดังกล่าวเป็นการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เว็บไซต์ “ทางรัฐ” หรือเว็บไซต์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเท่านั้น โดยมีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท  ทั้ง 3 ช่องทาง เมื่ออยู่ที่หน้าแบบสอบถามฯ แล้ว สามารถเริ่มตอบแบบสอบถามตามขั้นตอน ดังนี้  […]

1 12 13 14 15 16 155
...