ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 โรคร้าย จากนกพิราบ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือน นกพิราบมีเชื้อโรคอันตราย สามารถก่อให้เกิดโรคได้ ถึง 6 โรค มีตั้งแต่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และปอดอักเสบ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่แชร์เตือนนกพิราบมีอันตรายสามารถก่อโรคได้มากถึง 6 โรค… เป็นความจริง เพราะนกพิราบสามารถนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคนได้หลายโรค โรคที่ 1. โรคคริปโทค็อกโคซิส เกิดจากเชื้อรา ทำให้ปอดติดเชื้อ ? โรคคริปโทค็อกโคซิส (Cryptococcosis) เกิดจากเชื้อราคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ (Cryptococcus Neoformans) เพราะว่าเชื้อราคริปโทค็อกคัส นีโอฟอร์แมนส์ เข้าสู่ร่างกายทางเดินหายใจและไปฟักตัวอยู่ที่ปอดก่อน ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดีเชื้อก็จะแพร่ไปอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ มีอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่เชื้อราคริปโทค็อกคัสชอบมากก็คือ “สมอง” ไม่ใช่เฉพาะสมองเท่านั้นที่เชื้อราคริปโทค็อกคัสเข้าไปติดได้ แต่ยังมีที่ตับ ม้าม และผิวหนัง โรคที่ 2. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อผ่านระบบทางเดินอาหาร และทำให้เสียชีวิต ? เรื่องนี้เป็นความจริง แต่มีความสัมพันธ์กับโรคที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขยี้ตาบ่อย เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข่าวชายชาวต่างชาติเกือบตาบอด เพราะขยี้ตาบ่อยตั้งแต่เด็ก ทำให้ต้องพบจักษุแพทย์ และต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นไปได้… เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความบอบบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระจกตาดำ ที่มองเห็นเป็นตาดำ มีลักษณะเฉพาะที่มีความบอบบาง และสำคัญกับการทำงานของดวงตามาก เพราะฉะนั้นการที่ถูกกระทำหรือถูกขยี้อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง นอกจากจะทำให้เกิดการถลอกหรือเกิดบาดแผลบริเวณกระจกตาดำ ในระยะยาวยังทำให้ความแข็งแรงของบริเวณกระจกตาดำเสียไป เกิดภาวะที่ทางการแพทย์เรียกว่า “กระจกตาย้วย” ทางการแพทย์เรียกว่าโรคเคอราโทโคนัส (Keratoconus) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย ลักษณะของโรคกระจกตาย้วย ภาวะกระจกตาย้วยเกิดจากการสูญเสียความแข็งแรงของบริเวณกระจกตาดำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของกระจกตา มีลักษณะย้วยลงมามากกว่าปกติ เรียกโรคนี้ว่า “กระจกตาย้วย” สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง “กระจกตาย้วย” ได้แก่ 1. คนที่ขยี้ตาบ่อย ๆ ความแข็งแรงของกระจกตาเสียไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของกระจกตา อาจเป็นคนที่กระจกตาอักเสบ หรือเป็นภูมิแพ้บริเวณเยื่อบุตา ก็ทำให้เกิดอาการคันและมีพฤติกรรมขยี้ตารุนแรงเป็นประจำ 2. กลุ่มคนที่มีความผิดปกติของยีน (ดาวน์ซินโดรม : Down syndrome) หรือกลุ่มคนอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเสียความแข็งแรงของกระจกตาดำ ร่วมกับการขยี้ตาก็อาจจะทำให้เกิดภาวะกระจกตาย้วยได้ สังเกตอาการอย่างไรว่ามีภาวะกระจกตาย้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคที่ได้จากการกินกากหมู จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่ากินกากหมูแล้วจะได้โรคต่าง ๆ ทั้งความดันเลือดสูง มะเร็ง และหลอดเลือดตีบตัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ้าจะแชร์อยากให้เพิ่มข้อความ “ไม่ดี” ในแง่ที่ว่า “กินปริมาณมากและกินประจำ” ส่วนกรณีที่บอกว่ากินกากหมูแล้ว จะได้โรคต่าง ๆ ทั้งความดันเลือดสูง มะเร็ง และหลอดเลือดตีบตัน รู้สึกว่าเป็นการตีตราให้โทษของกากหมูมากเกินไป เพราะกากหมูก็ไม่ได้เป็นตัวร้ายขนาดนั้น เนื่องจากอาหารทุกอย่างมี 2 ด้าน ทั้งคุณและโทษ ข้อ 1. กินกากหมูแล้ว หลอดเลือดตีบตัน ? ถ้าบอกว่ากินกากหมูแล้วเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หรือหลอดเลือดตีบตัน… ถูกต้อง คุณค่าทางโภชนาการของกากหมูคือให้พลังงานและไขมัน ไขมันที่ได้ส่วนใหญ่เป็นไขมันอิ่มตัว ซึ่งกรดไขมันอิ่มตัวจะส่งผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแน่ ๆ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ นอกจากนี้ กากหมูยังให้คอเลสเตอรอลด้วย ซึ่งคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัวไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของหลอดเลือดและหัวใจ ไม่ได้หมายความว่ากินกากหมูปุ๊บแล้วจะเป็นหลอดเลือดตีบตัน ขึ้นกับบริบทรอบตัวด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดจากการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการตีบหรืออุดตันอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ข้อดีของกะปิ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 ข้อดีของกะปิ เช่น บำรุงกระดูก ป้องกันฟันผุ มีวิตามิดี บี 12 โอเมก้า 3 จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อความที่แชร์มีทั้งจริง และเป็นเหตุเป็นผลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ข้อ 1. กะปิบำรุงกระดูก ? แคลเซียมจะถูกปลดปล่อยจากกะปิถ้าผ่านความร้อน ในกะปิมีแคลเซียมจริง ถ้ากะปินั้นทำจากเคยหรือกุ้งก็มีแคลเซียมที่สูง กะปิคุณภาพดี น้ำหนัก 100 กรัม จะมีปริมาณแคลเซียมได้มากถึง 1,300-1,400 มิลลิกรัม กะปิที่คุณภาพไม่ดี หรือรอง ๆ ลงมา น้ำหนัก 100 กรัม อาจจะเหลือแคลเซียมประมาณ 400-500 มิลลิกรัม มีการเปรียบเทียบปริมาณแคลเซียมในกะปิกับแคลเซียมในนมวัว โดยบอกว่าแคลเซียมในกะปิมีมากกว่าในนมวัวหลายเท่า ซึ่งเรื่องนี้จะต้องคิดตามน้ำหนัก ดังนี้ กะปิหนัก 100 กรัม มีแคลเซียมประมาณ 1,300-1,500 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำต้มใบกระท่อม รักษาเบาหวานหายแบบถาวร จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ดื่มน้ำต้มใบกระท่อม จะทำให้หายจากเบาหวานได้ถาวร จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ประธานศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จากที่แชร์กันว่า “ดื่มน้ำต้มใบกระท่อมรักษาเบาหวานหายแบบถาวร” นั้น ไม่เป็นความจริง ปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกว่า “กระท่อม” สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้ ที่สำคัญ ยังไม่มีหลักฐานว่าใบกระท่อมสามารถทำให้เบาหวานหายขาดได้ ซึ่งรวมถึงยาแผนปัจจุบันด้วยก็ยังไม่มียาตัวไหนที่มีหลักฐานว่าสามารถทำให้เบาหวานหายขาดได้ ใบกระท่อมช่วยรักษาเบาหวานได้ หรือไม่ ? จากการศึกษาในหลอดทดลอง ดูว่าเซลล์กล้ามเนื้อสามารถดึงน้ำตาลเข้ามาในเซลล์ได้ดีขึ้นหรือไม่ พบว่าเมื่อใส่ใบกระท่อมเข้าไป ปรากฏว่าเซลล์กล้ามเนื้อสามารถนำน้ำตาลกลับเข้าสู่เซลล์ได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อความเข้มข้นของกระท่อมเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าเซลล์กล้ามเนื้อตายไป การทดลองในเซลล์ไม่สามารถจะตีความ และ/หรือ นำมาใช้ในมนุษย์ได้โดยตรง  แต่ตามหลักต้องเริ่มจากการศึกษาในหลอดทดลอง ต่อมาก็จะเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง หลังจากนั้นศึกษาวิจัยในคน ที่บอกว่า “กระท่อม” ไม่มีผลข้างเคียงต่อตับและไต จริงหรือ ? เรื่องนี้ไม่จริง เนื่องจากมีรายงานมาแล้วว่ากระท่อมทำให้มีตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง และไตวายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาหลาย ๆ อย่างร่วมกัน นอกจากนี้ มีอาการที่สำคัญก็คือทำให้ใจสั่น และความดันเลือดสูงขึ้นได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ​! SMS โจร อ้างปตท. เติมน้ำมัน 200 ฟรี 200

24 กรกฎาคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก OR Official ประกาศเตือนภัย SMS ปลอม หลอกลงทะเบียน แอบอ้างชื่อ ปตท. เติมน้ำมัน 200 ฟรี 200  ตามที่พบว่ามีการนำเสนอโปรโมชั่นเติมน้ำมัน 200 ฟรี 200 บาท ผ่านข้อความ SMS และให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อรับสิทธิ์ โดยมีการใช้ชื่อ ปตท. นั้น OR ในฐานะบริษัทในเครือ ปตท. และเป็นผู้บริหารแบรนด์สถานีบริการ PTT Station ขอชี้แจงว่า OR ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้จัดทำการประชาสัมพันธ์ และไม่ได้จัดกิจกรรมทางการตลาดนี้แต่อย่างใด ขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร และติดตามข้อมูลการประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำมันได้จากช่องทางหลัก ทาง Facebook PTT Station (https://www.facebook.com/pttstationofficial) หรือเว็บไซต์หลัก OR (https://www.pttor.com/th/news/promotion) เท่านั้น หากพบเห็นข้อความ หรือทราบเบาะแสการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว กรุณาแจ้งมาที่ Facebook Page : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพสำรวจดวงจันทร์เป็นของเก๊ เพราะยาน rover ใส่ในยานลงดวงจันทร์ไม่ได้ จริงหรือ?

ยาน Lunar Roving Vehicle ของโครงการ Apollo ถูกออกแบบให้สามารถพับและขนส่งใน Lunar Module สำหรับจอดลงดวงจันทร์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: นสพ.ตีพิมพ์ภาพสำรวจดวงจันทร์ ก่อนนักบินกลับโลกได้อย่างไร?

ภาพการสำรวจดวงจันทร์ของยาน Apollo 11 ที่หนังสือพิมพ์เผยแพร่บนข่าวหน้าหนึ่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นภาพที่นำมาจากการถ่ายทอดสดที่ยิงสัญญาณตรงมาจากดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพถ่าย UFO ที่สวีเดน จริงหรือ?

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่ามีหลักฐานภาพถ่ายการมาเยือนของ UFO/UAP ที่ประเทศสวีเดน

1 11 12 13 14 15 120
...