ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปานและไฝที่ดวงตา

22 กันยายน 2567 จุดดำที่ดวงตาเกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ไฝที่ดวงตาเกิดจากอะไร ? ไฝ (Nevus) เป็นสิ่งที่เราสามารถพบได้ตามผิวหนังของทุกคน โดยทั่วไปมักไม่มีอันตรายใด ๆ แต่หากเป็นไฝที่โตเร็วผิดปกติ มีผิวหนังขรุขระ หรือมีเลือดออกควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจชิ้นเนื้อ วิธีการรักษา 1. กรณีไฝอันตราย ควรพบแพทย์เพื่อเก็บตัวอย่างผิวหนัง ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา2. กรณีไฝธรรมดาสามารถกำจัดออกด้วยการจี้ไฝออกไปได้ ปานที่เยื่อบุตาขาว เกิดจากอะไร ? ปาน (Melanosis) เป็นภาวะที่มีพื้นที่บางส่วนของตาขาว มีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักพบตั้งแต่กำเนิด บางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ หากเป็นบริเวณที่ค่อนข้างกว้าง อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคต้อหินได้ ซึ่งอาจต้องได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: Resveratrol ในไวน์แดงยืดอายุ-ป้องกันโรคหัวใจ จริงหรือ?

Resveratrol ในไวน์แดง ไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรค การจะได้รับประโยชน์จาก Resveratrol ปริมาณ 1 กรัม ต้องดื่มไวน์แดงวันละ 1,000 แก้ว

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีสังเกตกระดูกสันหลังคด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์แนะนำวิธีสังเกตอาการกระดูกสันหลังคด โดยให้ดูระดับไหล่ ระดับหน้าอก สะโพกไม่เท่ากัน หรือตัวเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามีกระดูกสันหลังคด จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.กภ. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ อาจารย์คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะเราไม่สามารถมองเห็นแนวกระดูกของเขาได้ เมื่อกระดูกมีความเอียง ทำให้ร่างกายข้างนอกที่สังเกตเห็นได้มองเห็นว่าไม่เท่ากัน ข้อ 1. ระดับไหล่ไม่เท่ากัน ระดับไหล่ไม่เท่ากันใช้สังเกตว่ากระดูกสันหลังคดได้ แต่คนที่ไหล่ไม่เท่ากันก็ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องกระดูกสันหลังคด บางคนอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อของไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือเกิดจากสะบักสูงต่ำไม่เท่ากันก็เป็นไปได้ ข้อ 2. ระดับหน้าอกไม่เท่ากัน ถ้าหากหน้าอกไม่เท่ากัน บอกได้คร่าว ๆ ว่ามีกระดูกสันหลังคด ถ้าสำรวจดูด้วยตัวเองในห้องน้ำ ระดับหัวนมสูง-ต่ำ เท่ากันหรือไม่ หรือตัวหน้าอกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าทรวงอกมีการบิดหมุน แปลว่ากระดูกสันหลังเอียง การเอียงของกระดูกสันหลังทำให้เกิดการบิดหมุนของกระดูกซึ่โครงจะสูง-ต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งสามารถให้คนรอบข้างในบ้านช่วยดูให้ก็ได้ ว่าคนที่หน้าอกไม่เท่ากันที่มองเห็นจากด้านหน้า ให้ทดลองก้มหลังดู แล้วดูระดับหลัง 2 ข้าง ถ้าสูง-ต่ำไม่เท่ากัน แปลว่ากระดูกซี่โครงมีการบิด คนที่กระดูกซี่โครงบิดคือคนที่มีกระดูกสันหลังคด ข้อ 3. ระดับสะโพกไม่เท่ากัน สะโพกไม่เท่ากันก็อาจจะไม่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ความดันโลหิตมาตรฐานคือ 150/90 สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า สหรัฐอเมริกาได้กำหนดอย่างเป็นทางการว่า “ความดันเลือดมาตรฐาน สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คือ 150/90” เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ข้อมูลที่แชร์ส่วนใหญ่ไม่จริง เป็นข้อมูลเก่า และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันเลือดสูงเสียโอกาสในการรักษาได้ สหรัฐอเมริกากำหนดอย่างเป็นทางการว่า “ความดันเลือดมาตรฐาน คือ 150/90” จริงหรือ ? สำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่อ้างกันตรงนี้ไม่เป็นความจริง ตามวิทยาลัยโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา และสมาคมหัวใจของสหรัฐอเมริกา การวินิจฉัยความดันเลือดสูงในผู้ใหญ่ทุกกลุ่มอายุ ถือว่าความดันเลือดในเกณฑ์ปกติคือ “ตัวบน” น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท)  และ “ตัวล่าง” น้อยกว่า 80 มม.ปรอท โดยไม่ได้กินยาลดความดัน ผู้สูงอายุปกติ อายุมากกว่า 80 ปี ความดันเลือด 160 หรือ […]

วร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 4 ปรสิตใกล้ตัวคนไทย ที่มีภัยต่อสมอง

ปรสิตหลายชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจส่งผลร้าย มีบางชนิดอาจจะส่งผลถึงสมองของเรา มาทำความรู้จัก 4 ปรสิตใกล้ตัวคนไทย ที่มีภัยต่อสมอง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ทวี สายวิชัย ภาควิชาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล “ปรสิต” สิ่งมีชีวิตที่เข้าสู่ร่างกายของเราแล้วอาจส่งผลร้าย และบางชนิดอาจจะมีภัยถึงสมองได้ ตัวที่ 1. “อะมีบา” ? อะมีบา (Amoeba) หรือเชื้ออะมีบา เป็นสัตว์เซลล์เดียวประเภทโปรโตซัว (protozoa) ชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียไม่มากนัก ปกติแล้ว “อะมีบา” เข้าสู่ร่างกายคนจากการกินอาหาร ดื่มน้ำ ที่มีการปนเปื้อนของอะมีบาระยะติดต่ออยู่ โดยส่วนใหญ่ปนออกมากับอุจจาระ และอุจจาระไปปนเปื้อนกับผัก ผลไม้ น้ำ เมื่อคนเรากินเข้าไป อะมีบาตัวนี้จะมีผลกับลำไส้ ไปทำลายเซลล์ลำไส้ เมื่อเซลล์ลำไส้ทำงานไม่ได้ก็จะเกิดอาการท้องร่วง และอาการอาจจะรุนแรงกว่าท้องร่วงได้ ถ้าอาการรุนแรง ปรสิตชนิดนี้จะกินเซลล์ลำไส้ลึกลงไปถึงหลอดเลือดฝอยที่มาเลี้ยงลำไส้ เข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่วนใหญ่จะไปที่ปอดและสมอง เมื่อปรสิตไปที่ไหนก็จะกินเซลล์ตัวนั้น ไปที่สมองก็จะเกิดเป็นฝีที่สมอง อะมีบาบางชนิดก่อให้เกิดโรคในคนได้ เป็นอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ประโยชน์ 6 ประการจากไวน์แดง จริงหรือ?

นอกจากประโยชน์ของไวน์แดงต่อสุขภาพจะไม่ชัดเจนแล้ว ผลเสียจากการได้รับแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งอีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุและการรักษาโรคเส้นเลือดขอด

19 กันยายน 2567 หลอดเลือดขอด หรือเส้นเลือดขอดคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด และจะมีวิธีการป้องกันและรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.เทิดภูมิ เบญญากร สาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เส้นเลือดขอด คืออะไร เส้นเลือดขอด เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังขยายตัวผิดปกติ เกิดเป็นแรงดันที่หลอดเลือดดำ ซึ่งทำให้เส้นเลือดโป่งพองสีเขียวคล้ำ สาเหตุการเกิดเส้นเลือดขอด -เกิดจากความดันในหลอดเลือดดำขณะยืน เดินนาน ๆ การนั่งไขว่ห้าง และการใส่ส้นสูง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกจึงทำให้เส้นเลือดโป่งพองขึ้น -ผู้หญิงมีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง การตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น -น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นภายในหลอดเลือดที่บริเวณขา เป็นเหตุให้เกิดเส้นเลือดขอดที่ขาได้ -อายุเพิ่มขึ้น จะพบเส้นเลือดขอดมากขื้น  เนื่องจากความยืดหยุ่นของเส้นเลือดและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง แนวทางในการรักษาเส้นเลือดขอด เริ่มจากการใส่ถุงน่องความดัน ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ถุงน่องจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาบีบตัวได้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการรับประทานยา หากไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดเอาเส้นเลือดออก แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่การใช้สายสวน อาจจะใช้ความร้อนหรือกาวมาอุดบริเวณเส้นเลือดขอด สัมภาษณ์เมื่อ : 19 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: “ดื่มสุราพอเหมาะ” ดีต่อสุขภาพ จริงหรือ?

ดื่มสุราพอเหมาะดีต่อสุขภาพ เป็นความเชื่อผิด ๆ จากงานวิจัยที่ได้การสนับสนุนจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ WHO ย้ำว่าไม่มีปริมาณที่ปลอดภัยจากการดื่มสุรา เพราะแอลกอฮอล์คือสารก่อมะเร็ง

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ลมยางไนโตรเจน

17 กันยายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ลมยางไนโตรเจนว่า แตกต่างจากลมยางธรรมดาทั่วไปอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 25 กรกฎาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือนห้ามกินหอย จริงหรือ ?

18 กันยายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดคำเตือนห้ามกินหอย โดยเฉพาะหอยนางรมสด เสี่ยงเจอแบคทีเรียกินเนื้อมนุษย์ และควรหยุดกินหอยแครง เพราะอาจเป็นเหตุทำให้เกิดมะเร็งตามมาได้ ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.กิตติยศ ภู่วรวรรณ ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ นายแพทย์ สุพจน์ นิ่มอนงค์ สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลศิริราช คุณวรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย ผู้อำนวยการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดี กรมประมง รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: “โดนัลด์ ทรัมป์” อ้างตึก World Trade Center ถล่มเพราะระเบิด จริงหรือ?

ผลการตรวจสอบโดยสำนักงาน NIST ยืนยันว่าตึก World Trade Center ถล่มจาการถูกเครื่องบินชนและความร้อนจากไฟไหม้ในอาคาร

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปส่องตัวไรในบะหมี่-ขนมขบเคี้ยว จริงหรือ ?

16 กันยายน 2567 – ตามที่มีการคลิปการส่องกล้อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ มันฝรั่งขนมขบเคี้ยว พบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเต็มไปหมด พร้อมเตือนคนที่ชอบกินระวังไว้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วนิดา อ่วมเจริญ รองหัวหน้าภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 28 พฤษภาคม 2567 และ ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สัมภาษณ์เมื่อ : 4 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 9 10 11 12 13 126
...