ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : TUBETWES ? — พฤติกรรมชอบแซะ บนทวิตเตอร์

24 สิงหาคม 2567 – สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมคล้ายการเหน็บแนม หรือพูดแซะอีกฝ่าย บนทวิตเตอร์ และ สิ่งนี้…อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ Echo Chamber สำหรับผู้กระทำได้ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 13 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผิวมะนาว ป้องกัน และรักษาโรค จริงหรือ ?

25 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ว่า “ผิวมะนาว” มีประโยชน์ มีสารสำคัญช่วยป้องกันโรค และฆ่าเซลล์มะเร็งได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ส่วนที่จริง คือ เปลือกมะนาวมีวิตามินซีสูงมากกว่าน้ำมะนาวส่วนที่ไม่จริง คือ ผิวมะนาวรักษาโรคมะเร็งได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: นักกีฬาเกาหลีเหนือ-ใต้ ถ่ายรูปร่วมกันในโอลิมปิก จริงหรือ?

นักกีฬาเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ถ่ายรูปร่วมกันหลังพิธีมอบรับเหรียญรางวัลกีฬาเทเบิลเทนนิสคู่ผสม

ชัวร์ก่อนแชร์: เรื่องจริงเบื้องหลังนักแม่นปืนสุดเท่จากโอลิมปิก จริงหรือ?

ยูซูฟ ดิเคช เคยร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมาแล้ว 5 ครั้ง และเขาไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเล็งปืนเพราะถนัดการเล็งด้วยตาทั้ง 2 ข้าง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใส่คอนแทคเลนส์บ่อย ๆ ทำให้ตาดำเล็กลง

22 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือน การใส่คอนแทคเลนส์บ่อย ๆ ทำให้ตาดำมีขนาดเล็กลงจากเดิมได้นั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การใส่คอนเทคเลนส์ เป็นระเวลานานติดต่อกัน จะทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงกระจกตาดำน้อยลง  ร่างกายจึงสร้างเส้นเลือดเล็ก ๆ ให้งอกเข้าไปในกระจกตาดำเพื่อนำพาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงกระจกตาเพิ่มให้มากขึ้น ดังนั้นพื้นที่บริเวณขอบของกระจกตาดำ จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นเส้นเลือดและเยื่อบุตาขาวแทน ทำให้เหลือพื้นที่ที่เป็นกระจกตาดำเล็กลง สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดคำเตือน ห้ามกินปลา จริงหรือ ?

21 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์สารพัดคำเตือน ห้ามกินปลา ทั้งกินปลาทูนึ่ง ต้องระวังสารกันบูด กินปลาที่ยังไม่สุก เสี่ยงพยาธิขึ้นตาได้ และใครชอบกินปลานิล อันตราย เพราะกินแล้ว เสี่ยงมะเร็งถึง 10 เท่า ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : กินปลาดิบเสี่ยงพยาธิขึ้นตา  จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนว่า การกินปลาดิบอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีพยาธิไชขึ้นตาได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : วรรณวิภา สุวรรณรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง และ อ.ดร.วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์  – ในคลิปที่แชร์กันเป็นหนอนแมลงวัน อย่างไรก็ตามการกินปลาดิบโดยเฉพาะปลาน้ำจืดก็ต้องระวัง เพราะอาจเสี่ยงอันตราย เจอพยาธิตัวจี๊ดได้เช่นกัน อันดับที่ 2 : กินปลาแซลมอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นักกีฬาอิสราเอลเรียกร้องปล่อยตัวประกันกลางโอลิมปิก จริงหรือ?

การเรียกร้องปล่อยตัวประกันของนักกีฬาอิสราเอล เกิดขึ้นก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะเริ่มขึ้น

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรค Mpox (ฝีดาษลิง) จาก “แอฟริกา” ถึง “อาเซียน”

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ Mpox (ฝีดาษลิง) เป็น “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ” หลังจากโรคแพร่กระจายไปตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 450 คน โรค Mpox น่ากลัวจริงหรือ ? และทำไมองค์การอนามัยโลกถึงต้องประกาศภาวะฉุกเฉินรอบที่ 2 ? รู้จัก “โรคฝีดาษลิง : monkeypox” โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัส monkeypox ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย ปี พ.ศ. 2513 พบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จากนั้นแพร่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก คนที่ติดเชื้อไวรัส monkeypox มีอาการคล้ายกับไข้ทรพิษ (โรคฝีดาษ : Smallpox) แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงตั้งชื่อภาษาไทยว่า “โรคฝีดาษลิง” จาก “ฝีดาษลิง” ถึง โรค “Mpox” […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นักไตรกีฬาอาเจียน 10 รอบ เพราะน้ำเน่าแม่น้ำแซน จริงหรือ?

มีนักนักไตรกีฬาป่วยหลังว่ายในแม่น้ำแซนหลายราย แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าอาการป่วยเป็นเพราะคุณภาพของแม่น้ำหรือไม่

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผัก 5 ชนิด ดีต่อตับ จริงหรือ ?

19 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์แนะนำ ผักสีเขียว 5 ชนิด ดีต่อตับ ทั้งผลกีวี บรอกโคลี ต้นหอม แตงกวา และหน่อไม้ฝรั่งนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งตับ และ ประธานมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีงานวิจัยสนับสนุนเรื่องดังกล่าว แต่โดยรวมการรับประทานผักที่สะอาดนั้นก็จะมีผลดีต่อร่างกายโดยรวมอยู่แล้ว ไม่ได้เจาะจงว่าจะดีเฉพาะที่ตับอย่างเดียว สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กรกฎาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์”

20 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รู้จักน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของเอทานอล ในขณะที่แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน และเอทานอล ในประเทศไทย แก๊สโซฮอล์ หมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) และการผสมเอทานอลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85) แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์เป็นที่แพร่หลาย ค่าออกเทน คืออะไร ? ค่าออกเทน (RON) ย่อมาจาก Research Octane Number เชื้อเพลิงที่กลั่นออกมาจากน้ำมันดิบ และนำมาปรับปรุงคุณภาพ เรียกว่า ออกเทน · น้ำมันเบนซิน 95 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95  ไม่มีส่วนผสมของเอทานอล มีราคาค่อนข้างสูง · น้ำมันเบนซิน 91 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน […]

1 7 8 9 10 11 120
...