ชัวร์ก่อนแชร์: รวมมือลอบสังหาร “โดนัลด์ ทรัมป์” ตัวปลอมที่ถูกแชร์ว่อนเน็ต

ก่อนการระบุตัวตนผู้ลอบสังหาร โดนัลด์ ทรัมป์ บนสื่อสังคมออนไลน์ได้แชร์ภาพและข้อมูลของบุคคลหลายรายที่ถูกอ้างอย่างผิด ๆ ว่า เป็นผู้ก่อเหตุลอบสังหารกระฉ่อนโลก

เก็ง 5 มุกมิจจี้ ดิจิทัลวอลเล็ต | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

30 กรกฎาคม 2567 คุณคิดว่า “มิจฉาชีพ” หรือแบบที่หลายคนเรียกว่า “มิจจี้” จะฉวยโอกาสนำ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต มาหลอกลวงเรากันอย่างไรบ้าง ? วันนี้ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รวบรวม 5 มุกมิจฉาชีพที่อาจมาพร้อมดิจิทัลวอลเล็ตมาเตือนภัย เพื่อให้ทุกคนสามารถลงทะเบียนได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น  หนึ่งในกลลวงที่อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ คาดว่ามาแน่ คือ แอปพลิเคชันปลอม ที่ตั้งชื่อคล้าย โลโก้เหมือน มีตัวอย่างให้เห็นมาหลายเคส ทั้ง แอปพลิเคชันเป๋าตัง ไทยชนะ หมอพร้อม ที่ต่างก็เคยโดนมิจฉาชีพปลอมมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งแอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้ อาจมีการเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเรา หรือเรียกเก็บค่าบริการแอปพลิเคชัน ทำยังไง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแอปผี ? ก่อนจะดาวน์โหลด ต้องเช็กให้ชัวร์ ว่าเป็นแอปพลิเคชันจริงหรือไม่ ของจริงต้องชื่อ “ทางรัฐ” เท่านั้น เป็นต้องเป็นแอปทางรัฐแท้ที่มาจาก App store (iOS) หรือ Play Store (Android)  สำหรับคนที่เข้าไปค้นคำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นักสิ่งแวดล้อมวางแผนลดประชากรโลก ก่อนโควิด-19 ระบาด จริงหรือ?

เจน กูดดอลล์ เชื่อว่ายิ่งผู้หญิงมีการศึกษามากเท่าไหร่ โอกาสการมีลูกเกินความจำเป็นก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ เสี่ยงระเบิดได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าไปในลิฟต์ เพราะประจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก จนระเบิดได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น ที่เขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ในปี 2564 ส่วนสาเหตุการระเบิด ไม่ได้เกิดจากการนำแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์แต่อย่างใด เนื่องจากแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ได้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง จึงไม่สามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเฉพาะในระหว่างการชาร์จหรือการคายประจุเท่านั้น ดังนั้น การระเบิดอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดัดแปลงแบตเตอรี่ หรือมีความร้อนสูงเกินไป นอกจากนั้น ยังพบรายงานเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ที่ประเทศสิงคโปร์ จากการสืบสวน เจ้าหน้าที่ระบุว่า เกิดจากการดัดแปลงแบตเตอรี่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระเบิด ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าอาจลุกไหม้ได้ หากความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในการผลิต การใช้งานผิดวิธี ความเสียหายจากภายนอก ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้เกิดการระเบิดภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปวิดีโอนั้น ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ อ้างอิง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือแผนลดประชากรโลกของ WHO จริงหรือ?

อ้างถึงโครงการวัคซีนเพื่อการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ของ WHO เมื่อปี 1974 ที่มีการทดลองใช้วัคซีน anti-HCG ยับยั้งการตั้งครรภ์แบบชั่วคราว ไม่ใช่การทำหมันอย่างถาวร

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารเสริมแก้อาการหนังตาตก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความแนะนำอาหารเสริมที่สามารถช่วยแก้อาการหนังตาตกได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ไม่มีอาหารเสริมใด ๆ แก้อาการหนังตาตกได้ ภาวะ “หนังตาตก” เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการดึงเปลือกตา โดยทั่วไปที่เราเห็นเปลือกตามีร่อง 2 ชั้น เป็นการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อทางการแพทย์ว่ากล้ามเนื้อที่ใช้เปิดหนังตา (levator muscle) ทำหน้าที่ดึงเปลือกตาทั้ง 2 ข้าง ดังนั้น ถ้ากรณีที่มีปัญหากับการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดหนังตา ไม่ว่าจะเป็นจากตัวกล้ามเนื้อตาเองหรือเป็นจากระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาหนังตาตก การรักษาเรื่องนี้ก็คงต้องรักษาตามสาเหตุ วิธีการรักษาหนังตาตก ? “หนังตาตก” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ กลุ่ม 1. หนังตาตกแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ดึงเปลือกตา กลุ่ม 2. หนังตาตกตอนโต อาจจะมีโรคทางระบบร่างกายบางชนิดที่พบบ่อย เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis : MG) ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอ่อนแรง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ออกกำลังกายวันละ 35 นาที ลดเสี่ยงภาวะซึมเศร้า จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า การออกกำลังกายวันละ 35 นาที สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.วิศรัชต์ พฤฒิถาวร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช การออกกำลังกายวันละ 35 นาที มีส่วนลดความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าได้จริง จากงานวิจัยที่มีการศึกษามาก่อนหน้านี้กล่าวถึงอยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับการใช้การออกกำลังกายเป็นส่วนเสริมในการรักษาภาวะซึมเศร้า และพบว่าการออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการลดอาการซึมเศร้าได้ สำหรับข้อมูลที่แชร์มาเน้นเรื่องการป้องกัน เป็นลักษณะช่วยลดความเสี่ยงด้วย แต่การระบุว่าออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวสามารถลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้โดยตรง ยังต้องการข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม เพราะการวิจัยมีรูปแบบและข้อจำกัดหลายอย่าง เกณฑ์ประเมินภาวะซึมเศร้า ? ปัจจุบัน การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าจะเน้นที่กลุ่มอาการ เช่น มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ มีอาการเรื่องการนอน การกินอาหารที่เปลี่ยนไป หรือเรื่องของความคิดที่อาจจะเกิดความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือว่าคิดโทษตัวเอง รู้สึกไร้คุณค่า อาการเหล่านี้จะต้องมีต่อเนื่องและมากจนถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2 สัปดาห์ ถ้าไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือเป็นบางครั้งบางคราว และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติก็จะไม่เข้าเกณฑ์ภาวะซึมเศร้า สาเหตุ “ซึมเศร้า” มีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งเรื่องของพันธุกรรม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสงแดดกับการปกป้องดวงตา

แสงแดดทำอันตรายกับดวงตาได้แค่ไหน แว่นกันแดดจำเป็นหรือไม่ และควรเลือกเลนส์แว่นกันแดดอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “แสงแดด” สามารถทำอันตรายกับดวงตาได้ทุกส่วน แสงที่เป็นอันตรายกับดวงตาอย่างมาก คือแสงที่มีช่วงความยาวคลื่นที่เรียกว่า “อัลตราไวโอเลต” หรือที่คุ้นเคยกันคือ แสงยูวี (Ultra Violet) ที่มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 ถึง 400 นาโนเมตร ในแสงยูวียังแบ่งออกเป็นโซนของแสงยูวีเอ ยูวีบี ยูวีซี (มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 นาโนเมตรขึ้นไป) แสงยูวีซี (UV-C) มักจะไม่พบในแสงแดดธรรมชาติทั่วไป แต่นำไปใช้ทางการแพทย์ เช่น นำมาทำเลสิกผ่าตัดแก้ไขสายตา แสงยูวีเอ ยูวีบี ทำอันตรายกับดวงตาได้อย่างไร รังสีอัลตราไวโอเลต ทั้งยูวีเอ (UV-A) และยูวีบี (UV-B) คลื่นแสงทั้ง 2 ชนิดนี้มีอันตรายต่อดวงตาค่อนข้างมากและพบอยู่ในธรรมชาติ โดยยูวีเอ (UV-A) จะมีความสามารถทะลุทะลวงเข้าไปในบริเวณดวงตาได้ค่อนข้างสูงมาก และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อกระจก และโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ สำหรับยูวีบี (UV-B) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินที่ควรและไม่ควรกินคู่กัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เกี่ยวกับคู่วิตามินที่ควรกินและไม่ควรกินด้วยกัน เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.​ดร.​กรกช​ กังวาลทัศน์ ผู้จัดการร้านยาโอสถโดม​ คณะเภสัชศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คู่วิตามินที่ควรกินและไม่ควรกินด้วยกัน ส่วนใหญ่จริง และอาจจะตีกันจริง แต่การตีกันนั้นก็อาจจะไม่ได้ส่งผลอะไรมากมาย วิตามิน “แฝดดี” 5 กลุ่ม ได้แก่ แฝดดีคู่ที่ 1. วิตามินซี : คอลลาเจน ? ด้วยกลไกการสร้างคอลลาเจน จะมีตัววิตามินซีเข้าไปช่วย เพราะฉะนั้นคู่นี้พอฟังขึ้นอยู่ แต่ว่าตัวคอลลาเจนเองก็จะมีหลายรูปแบบ ซึ่งคอลลาเจนตัวเต็มเขาบอกว่าจะไม่ค่อยดูดซึม จะย่อยกลายเป็นกรดอะมิโน เหมือนกับอาหารที่เป็นโปรตีนทั่วไป แต่ถ้าเป็นไตรเพปไทด์ (Tripeptide) ก็มีงานวิจัยที่ค่อนข้างจะแน่ชัดกว่าเรื่องเกี่ยวกับผิวพรรณ แฝดดีคู่ที่ 2. ธาตุเหล็กควรกินคู่กับวิตามินซี ? เรื่องธาตุเหล็กกินคู่กับวิตามินซีจริง เพราะวิตามินซีเป็นตัวที่ปรับให้โครงสร้างธาตุเหล็กเหมาะสมกับการดูดซึม ซึ่งตัวที่เป็นวิตามินส่วนใหญ่จะทำรูปแบบที่เหมาะสมกับการดูดซึมอยู่แล้ว มักจะมาคู่กันกับวิตามินซี ส่วนที่เป็นจากอาหารก็จะเป็นรูปแบบที่ดูดซึมได้ดีกว่าพวกอยู่ในยาเม็ด แฝดดีคู่ที่ 3. แคลเซียมและแมกนีเซียม ? แคลเซียมคู่กับแมกนีเซียม… ไม่จริง เรื่องของแคลเซียมกับแมกนีเซียม หรือธาตุเหล็ก ถ้ากินด้วยกันจะแย่งกันดูดซึม ทำให้แต่ละตัวจะดูดซึมได้ไม่ดี สิ่งที่แนะนำก็คือให้กินแยกกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 ผลข้างเคียงของยาลดคอเลสเตอรอล จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 9 ผลข้างเคียงของยาลดคอเลสเตอรอล มีตั้งแต่อาจทำให้ไตวายไปจนถึงเป็นมะเร็ง จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ภก.อรัมษ์ เจษฎาญานเมธา คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลข้างเคียงของยาลดคอเลสเตอรอล 9 ข้อที่แชร์กัน โดยภาพรวมบอกได้ว่า ปัจจุบันยาลดคอเลสเตอรอลที่ใช้กันทางการแพทย์มากก็คือ ยาลดคอเลสเตอรอลกลุ่มสแตติน (Statin) มีบางส่วนที่แชร์เป็นความจริง แต่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทีเดียว ไม่ได้บอกอัตราการเกิดผลข้างเคียงเหล่านั้น ทำให้เกิดความหวั่นวิตก ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถหาการศึกษาทางการแพทย์มาสนับสนุนได้อย่างชัดเจน ข้อ 1. ยาลดคอเลสเตอรอล “ทำให้เจ็บกล้ามเนื้อและเป็นตะคริว” ? ยาลดคอเลสเตอรอลทำให้บางคนเจ็บกล้ามเนื้อและเป็นตะคริวได้ แต่อัตราการเกิดค่อนข้างน้อย มีการศึกษาขนาดใหญ่พบว่าอัตราการเกิดน้อยกว่า 0.1% แต่ชีวิตจริงอาจจะพบได้มากกว่านั้น เนื่องจากคนที่ใช้ยากลุ่ม Statin อาจจะมีการใช้ยาชนิดอื่นร่วมด้วย หรือเป็นคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้วอัตราการเกิดค่อนข้างน้อย ข้อที่ 2. ยาลดคอเลสเตอรอล “ทำให้อัตราการเป็นเบาหวานสูงขึ้น 20%” ? มีส่วนจริงที่ยาลดคอเลสเตอรอลทำให้อัตราการเป็นเบาหวานสูงขึ้น แต่ตัวเลขที่แชร์บอกว่า 20% อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ นั่นคือคนจะเข้าใจว่า 20% หมายถึงคนที่กินยากลุ่ม Statin จะมีความเสี่ยงเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผักแขยง แก้ไขมันอุดตัน แก้มะเร็งได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิปแนะนำผักแขยง พร้อมข้อความว่า “ผักแขยงเป็นผักที่โด่งดังไปทั่วโลก ไทยส่งออกอันดับ 1 ฝรั่งแห่กินแก้ไขมันอุดตัน แก้มะเร็งได้” เรื่องนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ในภาพรวม ยังไม่พบงานวิจัยว่า “ผักแขยงช่วยลดไขมันได้” แต่พบว่าผักแขยงมีฤทธิ์ปกป้องหลอดเลือดไม่ให้ถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระหรือว่าสารพิษ เรื่อง “ผักแขยงต้านมะเร็ง” ไม่มีการศึกษาวิจัยโดยตรง แต่อาจจะอนุมานจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่ได้ยืนยันทั้งหมด นอกจากนี้ มีการกล่าวถึงผักแขยงในภาษาต่าง ๆ พูดได้ว่า “แขยง” เป็นหนึ่งในผักประจำถิ่นอาเซียนที่มีคนหลายชาติสนใจและกินเป็นอาหารประจำครัวเรือน ซึ่งรวมถึงคนไทยนิยมกินเป็นผักเคียงด้วย แพทย์แผนไทย มีบันทึกสรรพคุณ “ผักแขยง” ไว้หรือไม่ ? “แขยง” เป็นผักพื้นบ้านของประเทศไทย แพทย์พื้นบ้านก็มีการใช้ผักแขยงเพื่อดูแลสุขภาพ เช่น ขับลม ช่วยเป็นยาระบาย รักษาฝีหนอง โดยการนำมาทุบ ตำ โปะกับฝีกับหนอง “ผักแขยง” มีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองที่แผลได้ เชื่อมโยงกับการใช้แบบโบราณ การนำต้นสดผักแขยงมาตำแล้วโปะกับแผล ป้องกันการเกิดหนอง หรือแก้ผดผื่นคันได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: บิล เกตส์ วางแผนลดประชากรโลกด้วยวัคซีน จริงหรือ?

บิล เกตส์ เชื่อว่า เมื่อระบบสาธารณสุขมีประสิทธิภาพและการเข้าถึงวัคซีนเป็นไปอย่างทั่วถึง อัตราการเสียชีวิตของทารกย่อมลดลง เมื่อนั้น หลาย ๆ ครอบครัวก็จะเลือกมีลูกน้อยลง ส่งผลให้อัตราการเพิ่มประชากรโลกลดลงอย่างมาก

1 10 11 12 13 14 120
...