ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ชะลอตาเสื่อม

28 มิถุนายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการชะลอตาเสื่อม วิธีใดที่ใช้ได้ผล สิ่งใดที่ควรปฏิบัติ ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ พันโท นายแพทย์ ศีตธัช วงศ์กุลศิริ ประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อสังคม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 25 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : UNCOILEXS ? — การกลั่นแกล้ง ที่เจ็บปวดมากที่สุด

29 มิถุนายน 2567 สิ่งนี้…ถือเป็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์รูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดมากที่สุด และสิ่งนี้…มีงานวิจัยพบว่า เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระบบประสาทของผู้ถูกกระทำ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งร่างกาย และจิตใจ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขยี้ตาบ่อย เสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

30 มิถุนายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์ข่าวชายชาวต่างชาติเกือบตาบอด เพราะขยี้ตาบ่อยตั้งแต่เด็ก ทำให้ต้องพบจักษุแพทย์ และต้องผ่าเปลี่ยนกระจกตา หืม ! ชัวร์เหรอ ? 🎯 บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 5 มิถุนายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: โรนัลโดทำบริษัทน้ำอัดลมสูญเงิน “4 พันล้านเหรียญ” จริงหรือ?

หุ้นของ Coca-Cola ตกลงก่อนที่ คริสเตียโน โรนัลโด จะเลื่อนขวดน้ำอัดลมประมาณ 5 นาที การกระทำของโรนัลโดจึงไม่เกี่ยวกับราคาหุ้นของ Coca-Cola แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่าไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง เพราะจะกัดกระเพาะและทำให้ท้องอืดได้ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ภกญ.ดร.พิมพิกา กาญจนดำเกิง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีการแชร์ว่า “ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง” มีบางส่วนจริงสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และเป็นผู้ที่มีปัญหาน้ำย่อยน้ำตาลในนม (น้ำตาลแล็กโทส) ไม่เพียงพอ แต่คนที่สุขภาพดีทั่วไปสามารถดื่มนมตอนท้องว่างได้ เมื่อนมลงไปอยู่ในท้องจะแปรสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ และกัดกระเพาะอาหารได้ ? เรื่องนี้ไม่จริง นมไม่สามารถกัดกระเพาะอาหารด้วยตัวของนมเอง ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ นมตามธรรมชาติมีความเป็นกรดอ่อน ๆ แต่ความเป็นกรดอ่อนของนมแทบจะไม่ต่างจากความเป็นกลางเลย เนื่องจากนมตามธรรมชาติจะมีองค์ประกอบเป็นเกลือของกรด โปรตีนในนม และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ดังนั้น “นมไม่กัดกระเพาะ” ถึงแม้ว่านมไม่กัดกระเพาะ แต่นมสามารถกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะได้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มนมในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระเพาะอาหารอยู่ ไม่มีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร สามารถดื่มนมตอนท้องว่างได้หรือไม่ ? กลุ่มคนดังต่อไปนี้ สามารถดื่มนมได้ตามปกติ 1. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร 2. ไม่มีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร 3. ไม่มีภาวะพร่อง หรือขาดน้ำย่อยที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทสในนม มีหลายคนเข้าใจว่า “ดื่มนมตอนท้องว่าง” นมจะช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร จริงหรือไม่ ? ถ้าใช้คำว่า “เคลือบกระเพาะอาหาร” คือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เขย่าลูก อันตรายจริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่าการเขย่าลูกทำให้เกิดอันตรายหลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ไปจนถึงทำให้ตาบอด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กุลเสฏฐ ศักดิ์พิชัยสกุล กุมารแพทย์ประสาทวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “การเขย่าลูก” ที่แชร์กัน มีชื่อที่เรียกทางการแพทย์ว่า “Shaken Baby Syndrome” Shaken การเขย่า Baby  เด็กทารก Syndrome อาการ การเขย่าลูกจะทำให้เกิด “เลือดออกในสมอง” ? เขย่าลูกทำให้เลือดออกในสมอง เป็นเรื่องจริง การเขย่าเด็กโดยเฉพาะในเด็กทารก เด็กเล็ก ๆ อายุน้อยกว่า 2 ขวบ สามารถทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ เนื่องจากขนาดของศีรษะเด็กจะใหญ่กว่าขนาดร่างกาย นั่นคือเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว และส่วนกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรงพอ ถ้ามีการเขย่าเกิดขึ้น ศีรษะเด็กจะมีการขยับไปมา และในกะโหลกศีรษะมีเนื้อสมองอยู่ การเขย่าแบบนี้ เนื้อสมองจะถูกกระทบกระแทกทุก ๆ ด้าน เพราะว่ากะโหลกก็คือกระดูก ทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ กะโหลกแตกได้จากการเขย่าลูก จริงไหม ? การเขย่าลูกไม่สามารถทำให้กะโหลกศีรษะเด็กแตกได้ แต่ขณะที่ผู้ใหญ่เขย่าเด็กเกิดความเครียด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินกุ้งดิบเสี่ยงตาบอดจากพยาธิปอดหนู จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข่าวเกี่ยวกับการกินเมนูกุ้งดิบ มีพยาธิปอดหนูไชเข้าตา จนทำให้ตาบอดได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งที่แชร์กันว่า “กินกุ้งดิบเสี่ยงตาบอดจากพยาธิปอดหนู” เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง พยาธิตัวต้นเหตุ ชื่อ “พยาธิปอดหนู” ? พยาธิปอดหนู หรือ พยาธิหอยโข่ง ปกติแล้วตัวอ่อนจะอยู่ตามสัตว์ชนิดอื่น (เช่น หอยโข่ง กุ้ง) สัตว์เลื้อยคลาน (เช่น ตะกวด) เมื่อหนูไปรับตัวอ่อนจากสัตว์เหล่านี้เข้ามา พยาธิจะไชไประบบประสาทส่วนกลาง จากนั้นมาที่ปอด ขณะที่พยาธิอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู ก็จะผสมพันธุ์กันออกไข่ ไข่ก็จะฟักเป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนก็จะไชจากหลอดเลือดแดงที่ปอดหนูไปทางเดินอาหารของหนู จากนั้นก็ปะปนมากับมูลของหนู พยาธิจากปอดหนู กระจายสู่สัตว์อื่น ? หอยโข่ง กุ้ง หรือตะกวด (ตัวเงินตัวทอง) กินมูลของหนูเข้าไปซึ่งมีตัวอ่อนอยู่ ตัวอ่อน (พยาธิ) ก็จะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในสัตว์เหล่านั้น เมื่อคนกินสัตว์เหล่านั้นเข้าไปโดยปรุงไม่สุก พยาธิก็จะเข้าไปสู่ลำไส้ แล้วไชผ่านเข้าไปในกระแสเลือด ไปที่ระบบประสาทส่วนกลางหรือเยื่อหุ้มสมอง และไปอยู่ในน้ำไขสันหลัง พบว่าคนที่มีพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการทางระบบประสาท แต่เนื่องจากคนไม่ใช่หนูที่พยาธิจะสามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสด และ หอมหัวใหญ่ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลเรื่องโรงพยาบาลธรรมชาติ โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ไขมันในเลือดสูง แทนที่จะหายามากินให้กินกระเทียมสดวันละ 10 กลีบ กินหอมหัวใหญ่สดวันละครึ่งหัว เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากข้อมูลที่แชร์กันว่า “ไขมันในเลือดสูง ให้กินกระเทียมสดและหอมหัวใหญ่” นั้นมีส่วนที่ถูกต้องบ้าง แต่รายละเอียดไม่ครบ อาจจะมีข้อควรระวังของอาหารบางอย่างกับโรคบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึง ไขมันในเลือดสูงมีหลายระดับ ถ้าหากเป็นไขมันในเลือดสูงที่มีระดับสูงมาก คือมากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะต้องไปพบแพทย์ กินกระเทียมวันละ 10 กลีบ ช่วยอะไรได้บ้าง ? กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มีการศึกษามาก จนกระทั่งมีการนำหลายข้อมูล หลายการศึกษา มาทำการวิเคราะห์รวมกัน พบว่าการกินกระเทียมมีส่วนช่วยลดไขมันในเลือดได้ “หอมหัวใหญ่” ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเทียม มีการศึกษาหอมหัวใหญ่บ้างแต่น้อยกว่ากระเทียม และพบว่าหอมหัวใหญ่สามารถช่วยลดไขมันในเลือดได้ ที่บอกว่าให้กินกระเทียมมากถึง 10 กลีบ ในการศึกษาไม่ได้ยืนยันจำนวน 10 กลีบ แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่ากินอยู่ที่ 5 กรัม ก็สามารถช่วยลด (ไขมันในเลือด) ได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โรนัลโดเสี่ยงถูกเฆี่ยน 99 ครั้งหลังกอดจิตรกรหญิงในอิหร่าน จริงหรือ?

สถานทูตอิหร่านประจำประเทศสเปนชี้แจงว่าข่าวลือดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่มีคำสั่งลงโทษ คริสเตียนโน โรนัลโด หรือนักกีฬาต่างชาติรายใดในอิหร่านทั้งสิ้น

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจการบำรุงตา

24 มิถุนายน 2567 บำรุงสายตา ทำด้วยวิธีใดได้บ้าง เราต้องการกินหรือทำอะไร ที่จะทำให้ดวงตาของเราดีขึ้นกว่าเดิม 🎯 ตรวจสอบกับ พันโท นายแพทย์ ศีตธัช วงศ์กุลศิริ ประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อสังคม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 25 มีนาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฟลูออไรด์เป็นสารพิษ ทำให้ไอคิวต่ำ ก่อมะเร็ง เบาหวาน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนเกี่ยวกับ “ฟลูออไรด์” ที่คุ้นเคยกันว่าอยู่ในยาสีฟันหลายชนิด เป็นพิษต่อร่างกาย ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ไอคิวต่ำ และเป็นโรคต่าง ๆ หลายโรค เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ทพญ.ดร.วลีรัตน์ ศุกรวรรณ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แชร์กันว่า “ฟลูออไรด์” คือสารเคมีเป็นพิษ เรื่องนี้ “ไม่เป็นความจริง” ในชีวิตประจำวันมีการใช้ฟลูออไรด์ถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย และมีประโยชน์มากกว่าโทษ “ฟลูออไรด์” สามารถพบได้ทั่วไป ทั้งในอากาศ ดิน หิน หรือน้ำ โดยเฉพาะจากแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ อาหาร พืชผัก ผลไม้บางชนิด ก็มีฟลูออไรด์เป็นองค์ประกอบอยู่ในนั้น ความเป็นพิษของฟลูออไรด์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรับปริมาณมาก ๆ หรือปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง สะสมเป็นระยะเวลายาวนาน ฟลูออไรด์ทำให้ไอคิวต่ำและเกิดอีกหลายโรค จริงหรือไม่ ? การได้รับฟลูออไรด์กับระดับไอคิว หรือความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก เรื่องนี้ไม่พบความสัมพันธ์และไม่เกี่ยวข้องกันเลย การได้รับฟลูออไรด์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ นอกจากนี้ ที่มีการอ้างอิงงานวิจัยเกี่ยวกับฟลูออไรด์นั้น […]

1 13 14 15 16 17 120
...