ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรค Mpox (ฝีดาษลิง) จาก “แอฟริกา” ถึง “อาเซียน”

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ Mpox (ฝีดาษลิง) เป็น “ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ” หลังจากโรคแพร่กระจายไปตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 450 คน โรค Mpox น่ากลัวจริงหรือ ? และทำไมองค์การอนามัยโลกถึงต้องประกาศภาวะฉุกเฉินรอบที่ 2 ? รู้จัก “โรคฝีดาษลิง : monkeypox” โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัส monkeypox ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย ปี พ.ศ. 2513 พบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จากนั้นแพร่ระบาดในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก คนที่ติดเชื้อไวรัส monkeypox มีอาการคล้ายกับไข้ทรพิษ (โรคฝีดาษ : Smallpox) แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงตั้งชื่อภาษาไทยว่า “โรคฝีดาษลิง” จาก “ฝีดาษลิง” ถึง โรค “Mpox” […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นักไตรกีฬาอาเจียน 10 รอบ เพราะน้ำเน่าแม่น้ำแซน จริงหรือ?

มีนักนักไตรกีฬาป่วยหลังว่ายในแม่น้ำแซนหลายราย แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าอาการป่วยเป็นเพราะคุณภาพของแม่น้ำหรือไม่

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผัก 5 ชนิด ดีต่อตับ จริงหรือ ?

19 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์แนะนำ ผักสีเขียว 5 ชนิด ดีต่อตับ ทั้งผลกีวี บรอกโคลี ต้นหอม แตงกวา และหน่อไม้ฝรั่งนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต.นพ.อนุชิต จูฑะพุทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็งตับ และ ประธานมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีงานวิจัยสนับสนุนเรื่องดังกล่าว แต่โดยรวมการรับประทานผักที่สะอาดนั้นก็จะมีผลดีต่อร่างกายโดยรวมอยู่แล้ว ไม่ได้เจาะจงว่าจะดีเฉพาะที่ตับอย่างเดียว สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กรกฎาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์”

20 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รู้จักน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของเอทานอล ในขณะที่แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน และเอทานอล ในประเทศไทย แก๊สโซฮอล์ หมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) และการผสมเอทานอลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85) แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์เป็นที่แพร่หลาย ค่าออกเทน คืออะไร ? ค่าออกเทน (RON) ย่อมาจาก Research Octane Number เชื้อเพลิงที่กลั่นออกมาจากน้ำมันดิบ และนำมาปรับปรุงคุณภาพ เรียกว่า ออกเทน · น้ำมันเบนซิน 95 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95  ไม่มีส่วนผสมของเอทานอล มีราคาค่อนข้างสูง · น้ำมันเบนซิน 91 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำตาเทียมทำให้ไตอักเสบได้ จริงหรือ ?

16 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือน ผลการทดสอบน้ำตาเทียมหลายยี่ห้อ ทำให้ไตอักเสบได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย น้ำตาเทียมเป็นยาหยอดตาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดวงตา น้ำยามีการซึมเข้าสู่เยื่อบุตาขาว และบริเวณกระจกตาดำ เพราะฉะนั้นหากนำน้ำตาเทียมมาหยดที่บริเวณผิวหนังจะไม่มีการดูดซึมเข้าสู่ระบบกระแสเลือดได้ ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อไตตามที่แชร์กัน น้ำตาเทียมถือว่าเป็นยาหยอดตาที่ปลอดภัยใช้เพื่อให้น้ำหล่อลื่น เลี้ยงลูกตามาฉาบดวงตา ดังนั้นในคนปกติทั่วไปที่มีความรู้สึกเคืองตา รู้สึกมีน้ำตาเหนียวๆ เกาะหาง ตาหรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นระคายเคืองตาน่าจะมาจากภาวะที่เรียกว่า “ภาวะน้ำตาแห้ง” การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะทำให้รู้สึกสบายตาและลดอาการดังกล่าวได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: รัสเซีย+IBA กับที่มาข่าวฉาว นักมวยชายต่อยผู้หญิงในโอลิมปิก

การมีโครโมโซม XY ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าเจ้าของโครโมโซมจะต้องเป็นผู้ชายเสมอไป ข้อกล่าวหายังมาจากหน่วยงานที่ถูกขับออกจากกีฬาโอลิมปิก และเชื่อมโยงกับแผนสร้างข่าวปลอมโดยเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียอีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ความรุนแรงและอาการไวรัสตับอักเสบ

15 สิงหาคม 2567  ไวรัสตับอักเสบ แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สัมภาษณ์เมื่อ : 23 กรกฎาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วิตามินบี 17 ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ จริงหรือ?

วิตามินบี 17 ไม่มีจริง แต่เป็นนำ Amygdalin มาเปลี่ยนชื่อจนเกิดความเข้าใจผิด Amygdalin สะสมในร่างกายจะกลายเป็นสารพิษ Cyanide

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำตาเทียม ใช้มากส่งผลให้ “ไตวาย ไตเสื่อม” จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า “น้ำตาเทียม” เมื่อใช้นาน ๆ อาจทำให้ “ไตวาย ไตเสื่อม” ได้ เรื่องนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โดยปกติแล้วคนเรามี “น้ำตา” ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนและความชุ่มชื้นแก่กระจกตาและเยื่อบุตา ช่วยปรับสภาพของกระจกตาให้มีความเรียบเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน และช่วยป้องกันการติดเชื้อและขจัดของเสียออกจากกระจกตา เมื่อใดก็ตามที่น้ำหล่อเลี้ยงกระจกตาระเหยไป หรือร่างกายผลิตน้ำตาธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะใช้ในการหล่อเลี้ยงกระจกตาและเยื่อบุตา จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา แสบตา และตาพร่า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องใช้ “น้ำตาเทียม” เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา “น้ำตาเทียม” คือยาหยอดตารูปแบบหนึ่ง ผลิตจากสารสังเคราะห์คล้ายน้ำตาธรรมชาติเพื่อทดแทนน้ำตาธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นหรือหล่อลื่นดวงตา ใช้สำหรับบรรเทาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียม ทำให้ไตวาย ไตเสื่อม จริงหรือ ? เรื่องนี้ไม่จริง ยังไม่พบผู้ป่วยไตเสื่อม ไตวาย จากการใช้น้ำตาเทียมที่ผลิตจากสารที่มีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำตาธรรมชาติของคนเรา น้ำตาธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำตาพื้นฐาน น้ำตาจากสิ่งเร้าภายนอก น้ำตาจากอารมณ์ 1. น้ำตาพื้นฐาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: น้ำมะนาวอุ่นรักษามะเร็งดีกว่าคีโม 1,000 เท่า จริงหรือ?

แม้การบริโภคผลไม้ที่มีวิตามินซีจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็ง แต่สารอาหารจากการกินผลไม้ไม่เพียงพอที่จะสามารถรักษาผู้ที่ป่วยมะเร็งได้

1 14 15 16 17 18 126
...