ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ประคบเย็น

14 มิถุนายน 2567 ประคบเย็น เป็นอย่างไร มีกลไกต่อร่างกายอย่างไรบ้าง และควรเลือกใช้ในกรณีไหน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.กภ. วรรธนะ ชลายนเดชะ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สัมภาษณ์เมื่อ : 21 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม จริงหรือ ?

16 มิ.ย. 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เตือนว่า อาหารบางชนิด กินแล้วเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ โดยเฉพาะคนวัยทองและน้ำหนักเกินเกณฑ์ สรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ. นพ.ประกาศิต จิรัปปภา อาจารย์ประจำสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: นมข้าวโอ๊ตมีน้ำตาลมากกว่าน้ำอัดลม จริงหรือ?

แม้นมข้าวโอ๊ตมีน้ำตาลมอลโทสซึ่งร่างกายดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว นมข้าวโอ๊ตจึงมีดัชนีค่าดัชนีน้ำตาลสูงกว่าน้ำอัดลม แต่ ใยอาหาร โปรตีน และไขมัน ในนมข้าวโอ๊ตมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ซึ่งน้ำอัดลมไม่มี

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษามะเร็งเต้านม

13 มิถุนายน 2567 – มะเร็งเต้านม ตรวจพบระยะต้นได้ด้วยการคัดกรอง หากตรวจพบแล้วจะมีแนวทางการรักษาอย่างไร แล้วมีโอกาสหายอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ. นพ.ประกาศิต จิรัปปภา อาจารย์ประจำสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำอาหารร้อน แช่ตู้เย็นทันที จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า ห้ามนำอาหารร้อน ๆ แช่ตู้เย็นทันที ไม่ใช่ถึงขนาดทำให้ตู้เย็นพัง แต่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่อาหารจะเป็นพิษ และท้องเสียได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ปิติยา กมลพัฒนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุณหภูมิของอาหารร้อน ทำให้การถ่ายเทอุณหภูมิในตู้เย็นไม่ดีพอ อาจทำให้อุณหภูมิของอาหารรอบ ๆ สูงขึ้น เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การนำอาหารร้อนปริมาณมากเข้าตู้เย็น ส่งผลให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นสูงขึ้น ความเย็นน้อยลง เชื้อโรคที่ถูกชะลอการเจริญเติบโตสามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งสอดคล้องกับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่เรียกว่าโซนอันตราย ช่วงอุณหภูมิอันตรายคือ 4-60 องศาเซลเซียส จุลินทรีย์แบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้รวดเร็ว ถ้าบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ก่อโรคก็จะเกิดอันตรายได้ ข้อ 1. อาหารปรุงสุกแล้วควรกินทันที หรือเก็บนอกตู้เย็นไม่เกิน 2 ชั่วโมง ? เรื่องนี้จริง การกินอาหารปรุงสุกใหม่เชื้อจุลินทรีย์น้อยลง จะทำให้ปลอดภัยจากการบริโภค หากเก็บอาหารนอกตู้เย็นเกิน 2 ชั่วโมง ควรอุ่นร้อน 60 องศาเซลเซียสตลอดเวลา ถ้าเกินกว่า 2 ชั่วโมง จุลินทรีย์เกิดการแบ่งตัวในปริมาณมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงเกิดโรคกับผู้บริโภคได้ ข้อ 2. กรณีอาหารไม่เหมาะอุ่นร้อนเป็นเวลานาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ประโยชน์ของ “พริกหมาล่า” ต่อสุขภาพ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 ประโยชน์ของ “พริกหมาล่า” ต่อสุขภาพ อาทิ ขับลม กระตุ้นลำไส้ ขับระดูในสตรี สูดดมแก้วิงเวียน แก้หวัด ขับเสมหะ บรรเทาอาการอักเสบ และยังมีธาตุเหล็ก สังกะสี และสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อไวรัสได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล หัวหน้าหลักสูตรแพทย์แผนจีน วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต สิ่งที่แชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของพริกหมาล่า 10 อย่างต่อสุขภาพ มีความจริงอยู่ค่อนข้างมาก เพียงแต่สภาพร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนกินแล้วก็เป็นไปตามที่แชร์กัน แต่สภาพร่างกายคนที่ออกไปทางร้อนอาจจะไม่เป็นไปตามนี้ “พริกหมาล่า” หมายถึง “ฮวาเจียว” (花椒) พริกไทยเสฉวน หรือ Sichuan Pepper ซึ่งเป็นตัวหลัก กินแล้วเผ็ดชา มีกลิ่นหอมฉุน แต่ในพริกหมาล่ายังมีเครื่องเทศอีกหลายอย่างผสมอยู่ด้วย เช่น ยี่หร่า ผักชี อบเชย กระวาน โป้ยกั๊ก กานพลู ขิง เป็นชุดเครื่องเทศที่เรียกว่า “หมาล่า” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 วิธี รักษาแผลในปาก ง่าย ๆ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 6 วิธี รักษาแผลในปากง่าย ๆ มีตั้งแต่การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หยุดใช้น้ำยาบ้วนปาก ให้ดื่มน้ำมาก ๆ และแนะนำให้กินขิงกับกระเทียม เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ทพ.ดร.ชาญวิทย์ ประพิณจำรูญ ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาพรวม บางวิธีช่วยส่งเสริมการหายของแผลได้ เพราะได้รับสารอาหารบางตัวซึ่งส่งผลต่อการหายของแผล แต่โดยรวมเมื่อเกิดแผลในช่องปาก ไม่ว่าแผลร้อนในหรือแผลอะไรก็แล้วแต่ ควรพบแพทย์หรือทันตแพทย์วินิจฉัยก่อนดีกว่า ว่าใช่แผลร้อนในจริงหรือไม่ “แผลร้อนใน” (Aphthous Ulcers) เป็นอาการที่เยื่อบุอ่อนภายในช่องปากอักเสบและเป็นแผล บริเวณที่เกิดแผลสามารถพบเห็นได้ทั่วช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นกระพุ้งแก้ม เพดานปาก เหงือก ลิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในแผลในช่องปาก  ส่วนแผลอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น แผลที่เกิดจากภูมิแพ้ตัวเอง หรือว่าแผลมะเร็ง แผลที่เกิดจากการติดเชื้อก็เป็นแผลได้เหมือนกัน ซึ่งแต่ละโรคแต่ละแผลก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ข้อ 1. กินอาหารเย็น ? อาหารเย็นช่วยลดอาการได้ดีกว่า แต่ถ้าเป็นแผลร้อนใน ลดอาการระคายเคืองแผลก็จะหายเร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นแผลอื่น ๆ นอกเหนือจากแผลร้อนใน ไม่ได้ช่วยอะไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีนวดรักษาโรค จริงหรือ ?

12 มิถุนายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับวิธีนวด กดจุด แก้สารพัดโรคเอาไว้มากมาย ทั้งนวดหู แก้ปัญหาน้ำในหูไม่เท่ากัน และยังมีวิธีนวดตา ที่ช่วยรักษาโรคต้อหินอีกด้วย ?! 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ดร.พจ.พีระพงศ์ เลิศนิมิตพันธ์ คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผอ.สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “เกียร์ออโต้” ของรถยนต์

11 มิถุนายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเกียร์ออโต้ของรถยนต์ว่า แตกต่างจากเกียร์ธรรมดาอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK รู้จัก และเข้าใจ “เกียร์ออโต้” ของรถยนต์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร. นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 30 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ซ ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: ดื่มนมเสี่ยงเป็นโรคหอบหืด จริงหรือ?

ความเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดจากการดื่มนม จะเกิดกับคนที่มีอาการแพ้อาหารจากนมอยู่แล้วเท่านั้น ไม่พบหลักฐานว่าการดื่มนมดิบช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหอบหืดอีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์: “นมดิบ” แก้อาการแพ้น้ำตาลแล็กโทสได้ จริงหรือ?

นมดิบมีน้ำตาลแล็กโทสเหมือนกับนมวัวที่ผ่านการฆ่าเชื้ออื่น ๆ จึงทำให้เกิดอาการแพ้น้ำตาลแล็กโทสเช่นกัน

1 16 17 18 19 20 120
...