ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ข้อดีของกะปิ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 10 ข้อดีของกะปิ เช่น บำรุงกระดูก ป้องกันฟันผุ มีวิตามิดี บี 12 โอเมก้า 3 จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อความที่แชร์มีทั้งจริง และเป็นเหตุเป็นผลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ข้อ 1. กะปิบำรุงกระดูก ? แคลเซียมจะถูกปลดปล่อยจากกะปิถ้าผ่านความร้อน ในกะปิมีแคลเซียมจริง ถ้ากะปินั้นทำจากเคยหรือกุ้งก็มีแคลเซียมที่สูง กะปิคุณภาพดี น้ำหนัก 100 กรัม จะมีปริมาณแคลเซียมได้มากถึง 1,300-1,400 มิลลิกรัม กะปิที่คุณภาพไม่ดี หรือรอง ๆ ลงมา น้ำหนัก 100 กรัม อาจจะเหลือแคลเซียมประมาณ 400-500 มิลลิกรัม มีการเปรียบเทียบปริมาณแคลเซียมในกะปิกับแคลเซียมในนมวัว โดยบอกว่าแคลเซียมในกะปิมีมากกว่าในนมวัวหลายเท่า ซึ่งเรื่องนี้จะต้องคิดตามน้ำหนัก ดังนี้ กะปิหนัก 100 กรัม มีแคลเซียมประมาณ 1,300-1,500 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำต้มใบกระท่อม รักษาเบาหวานหายแบบถาวร จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวาน ดื่มน้ำต้มใบกระท่อม จะทำให้หายจากเบาหวานได้ถาวร จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ประธานศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จากที่แชร์กันว่า “ดื่มน้ำต้มใบกระท่อมรักษาเบาหวานหายแบบถาวร” นั้น ไม่เป็นความจริง ปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกว่า “กระท่อม” สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลดลงได้ ที่สำคัญ ยังไม่มีหลักฐานว่าใบกระท่อมสามารถทำให้เบาหวานหายขาดได้ ซึ่งรวมถึงยาแผนปัจจุบันด้วยก็ยังไม่มียาตัวไหนที่มีหลักฐานว่าสามารถทำให้เบาหวานหายขาดได้ ใบกระท่อมช่วยรักษาเบาหวานได้ หรือไม่ ? จากการศึกษาในหลอดทดลอง ดูว่าเซลล์กล้ามเนื้อสามารถดึงน้ำตาลเข้ามาในเซลล์ได้ดีขึ้นหรือไม่ พบว่าเมื่อใส่ใบกระท่อมเข้าไป ปรากฏว่าเซลล์กล้ามเนื้อสามารถนำน้ำตาลกลับเข้าสู่เซลล์ได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อความเข้มข้นของกระท่อมเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าเซลล์กล้ามเนื้อตายไป การทดลองในเซลล์ไม่สามารถจะตีความ และ/หรือ นำมาใช้ในมนุษย์ได้โดยตรง  แต่ตามหลักต้องเริ่มจากการศึกษาในหลอดทดลอง ต่อมาก็จะเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง หลังจากนั้นศึกษาวิจัยในคน ที่บอกว่า “กระท่อม” ไม่มีผลข้างเคียงต่อตับและไต จริงหรือ ? เรื่องนี้ไม่จริง เนื่องจากมีรายงานมาแล้วว่ากระท่อมทำให้มีตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง และไตวายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาหลาย ๆ อย่างร่วมกัน นอกจากนี้ มีอาการที่สำคัญก็คือทำให้ใจสั่น และความดันเลือดสูงขึ้นได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ​! SMS โจร อ้างปตท. เติมน้ำมัน 200 ฟรี 200

24 กรกฎาคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก OR Official ประกาศเตือนภัย SMS ปลอม หลอกลงทะเบียน แอบอ้างชื่อ ปตท. เติมน้ำมัน 200 ฟรี 200  ตามที่พบว่ามีการนำเสนอโปรโมชั่นเติมน้ำมัน 200 ฟรี 200 บาท ผ่านข้อความ SMS และให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อรับสิทธิ์ โดยมีการใช้ชื่อ ปตท. นั้น OR ในฐานะบริษัทในเครือ ปตท. และเป็นผู้บริหารแบรนด์สถานีบริการ PTT Station ขอชี้แจงว่า OR ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้จัดทำการประชาสัมพันธ์ และไม่ได้จัดกิจกรรมทางการตลาดนี้แต่อย่างใด ขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร และติดตามข้อมูลการประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำมันได้จากช่องทางหลัก ทาง Facebook PTT Station (https://www.facebook.com/pttstationofficial) หรือเว็บไซต์หลัก OR (https://www.pttor.com/th/news/promotion) เท่านั้น หากพบเห็นข้อความ หรือทราบเบาะแสการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว กรุณาแจ้งมาที่ Facebook Page : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพสำรวจดวงจันทร์เป็นของเก๊ เพราะยาน rover ใส่ในยานลงดวงจันทร์ไม่ได้ จริงหรือ?

ยาน Lunar Roving Vehicle ของโครงการ Apollo ถูกออกแบบให้สามารถพับและขนส่งใน Lunar Module สำหรับจอดลงดวงจันทร์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์: นสพ.ตีพิมพ์ภาพสำรวจดวงจันทร์ ก่อนนักบินกลับโลกได้อย่างไร?

ภาพการสำรวจดวงจันทร์ของยาน Apollo 11 ที่หนังสือพิมพ์เผยแพร่บนข่าวหน้าหนึ่งเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นภาพที่นำมาจากการถ่ายทอดสดที่ยิงสัญญาณตรงมาจากดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพถ่าย UFO ที่สวีเดน จริงหรือ?

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่ามีหลักฐานภาพถ่ายการมาเยือนของ UFO/UAP ที่ประเทศสวีเดน

ชัวร์ก่อนแชร์ : พบแมวน้ำหน้าวัว จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความ เจอแมวน้ำหน้าวัว นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้บพบสัตว์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า สัตว์ชนิดดังกล่าวไม่มีอยู่จริง และถูกสร้างขึ้นโดย AIขณะที่ Newschecker ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ก็ยืนยันในทางเดียวกันรวมถึงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้นำคลิปวิดีโอดังกล่าวไปตรวจสอบกับเว็บไซต์ตรวจจับภาพ AI อย่าง Deepfakedetector มีการแจ้งผลว่า “มีโอกาสสูงที่สร้างขึ้นโดย AI” เมื่อตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากบัญชี Tiktok ชื่อ King.fren ที่มักโพสต์คลิปสัตว์ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ปลาหหน้าหมู ปลาหน้าเสือ สุนัขหน้าไก่ โดย Newschecker ได้นำคลิปวิดีโอดังกล่าวไปตรวจสอบเพิ่มเติมกับหน่วยงาน Deepfakes (DAU) ของ The Misinformation Combat […]

1 18 19 20 21 22 127
...