ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็นมะเร็ง ห้ามนวด จริงหรือ ?

19 พฤษภาคม 67 – บนโซเชียลแชร์เตือนว่า ผู้ที่เป็นมะเร็ง หากไปนวด จะทำให้มะเร็งแพร่กระจายมากขึ้น เพราะเลือดมีการไหลเวียนมากขึ้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 17 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉิน “โรคมะเร็งจากวัคซีน mRNA” จริงหรือ?

เป็นข่าวปลอมที่เผยแพร่โดยเว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แม้ญี่ปุ่นจะยกเลิกบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรีแก่ประชาชน แต่แนะนำให้วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ควรฉีดตามฤดูกาล

โจรปลอมเอกสาร AIS อ้างยกเลิกเบอร์ พัวพันกับเว็บพนัน l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

17 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊ก AIS ประกาศเตือนระวังมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารบริษัท ยืนยัน ! ไม่มีนโยบายแจ้งการดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายทุกรูปแบบ ในทุกช่องทาง จากกรณีที่ลูกค้าได้รับเอกสารแจ้งเตือนการยกเลิกสัญญา เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าหมายเลขดังกล่าวได้การเข้าไปพัวพันกับการพนันออนไลน์และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกระงับการใช้งานภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีการแอบอ้างโดยใช้แบบฟอร์มและลงนามโดยผู้บริหารจาก AIS ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ลูกค้า นั้น AIS จึงขอแจ้งเตือนลูกค้า และประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเอกสาร หรือ ข้อความที่ส่งต่อ โดยขอยืนยันว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการส่งเอกสาร หรือ ข้อความในทุกช่องทาง ให้ดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายในทุกรูปแบบ รวมถึงจะไม่มีการทัก หรือ ติดต่อลูกค้าไปในทุกช่องทางเช่นกัน ดังนั้นหากพบเจอ เอกสาร หรือ ข้อความ ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งมาได้ที่ AIS Spam Report Center 1185 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ประโยชน์ของมะเขือเปราะ จริงหรือ ?

16 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์มะเขือเปราะ เป็นพืชผักสมุนไพร มีประโยชน์ รับประทานบ่อย ๆ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดไข้และความดันโลหิต ลดการอักเสบ และที่สำคัญยังช่วยลดน้ำหนักได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดี วิทยาลัยแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ คลินิกการแพทย์แผนไทย มรว.สอาดทินกร สัมภาษณ์เมื่อ : 8 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีกำจัดยุง จริงหรือ ?

15 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดวิธีไล่ยุง ทั้งใช้น้ำสบู่ น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย ผสมกันช่วยไล่ยุงได้ อีกทั้งให้ใช้น้ำมันงา ทาตัว ยุงกลัวหายห่วง ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มณฑาทิพย์ คงมี ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: หยุดใช้ “ปากกาลดน้ำหนัก” แล้วกลับมาอ้วนเหมือนเดิม จริงหรือ?

มีงานวิจัยพบว่า การหยุดใช้ปากกาลดน้ำหนัก จะทำให้น้ำหนักตัวกลับมาเท่ากับตอนก่อนจะใช้ยา

ชัวร์ก่อนแชร์ : 7 อาหารบำรุงสายตา จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำ 7 อาหารบำรุงสายตา แก้อาการเมื่อยล้าจากจอมือถือ กินแล้วช่วยบำรุงสายตาให้คมกริบ สดใส ไม่ร่วงโรยก่อนวัยอันควร ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว ไข่ แคร์รอต อะโวคาโด อัลมอนด์ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พ.ท.นพ.ศีตธัช วงศ์กุลศิริ ประธานคณะทำงานฝ่ายวิชาการด้านส่งเสริมสุขภาพตาเพื่อสังคม ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีอาหารใด ๆ ช่วยป้องกัน บำรุง ลดความเสี่ยงของโรคหรือทำให้ดวงตาสดใสได้ ข้อ 1. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แหล่งวิตามินซี มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์ดวงตาถูกทำลาย ? เรื่องผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีความจริงบางส่วน และไม่จริงบางส่วน สารสกัดในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) จากการทดลองในเซลล์พบว่าป้องกันเซลล์เสื่อมได้ง่ายขึ้น แต่ยังไม่มีการทดลองในมนุษย์ว่าป้องกันจอประสาทตาเสื่อมได้จริง ข้อ 2. ผักใบเขียว อุดมด้วยลูทีน ซีแซนทีน ลดความเสี่ยงของจอประสาทตาได้ ? มีความจริงบางส่วนและไม่จริงบางส่วนเช่นกัน ผักใบเขียวมีลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) จำนวนมากจริง พบว่าลูทีนและซีแซนทีนช่วยชะลอโรคในผู้ป่วยที่จอประสาทตาเสื่อมไปแล้ว […]

ระวัง ! เพจปลอมอ้างธนาคารกรุงเทพหลอกปล่อยสินเชื่อ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กของธนาคารกรุงเทพ ประกาศเตือนเพจเฟซบุ๊กปลอมและโฆษณาปลอม แอบอ้างเป็นธนาคารกรุงเทพ โดยใช้โลโก้ธนาคารและตั้งชื่อเพจให้คล้ายกับชื่อธนาคารหรือสื่อถึงธนาคาร หลอกปล่อยสินเชื่อ ชี้จุดสังเกตเพจเฟซบุ๊กของแท้ ต้องใช้ชื่อ “Bangkok Bank” สะกดถูกต้องทุกตัวอักษร และมีเครื่องหมายถูกสีฟ้าต่อท้ายชื่อเท่านั้น ธนาคารกรุงเทพ เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุเพื่อผู้ประสบภัยทางการเงินที่ได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพ ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหายหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ โทร 1333 หรือ 02-645-5555 กด *3 ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : สิ่งที่ควรทำเมื่อจอดรถตากแดด จริงหรือ ?

14 พฤษภาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อแนะนำเมื่อต้องจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน ๆ เช่น หมั่นล้างและเคลือบสีรถ และ ใช้ม่านบังแดดปิดกระจกไว้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ธนเทพ ธเนศนิรัตศัย นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ และ Website Director www.Headlightmag.com สัมภาษณ์เมื่อ 29 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

เตือนภัย ! เว็บไซต์ปลอมแอบอ้าง UOB หลอกจ่ายบิลบัตรเครดิต  l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กธนาคาร UOB ประกาศเตือนภัยเว็บไซต์ปลอม สร้าง QR CODE สำหรับชำระเงินบิลค่าบัตรเครดิต Citi และ UOB โดยเว็บไซต์ของจริง ต้องชื่อ www.uob.co.th เท่านั้น และไลน์ Official @UOBThai เท่านั้น  สำหรับลูกค้าธนาคาร UOB ที่ได้รับผลกระทบหรือต้องการแจ้งเหตุหลอกลวงทางการเงิน สามารถแจ้งได้ที่เบอร์สายด่วน 02 344 9555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมทเสาวภาคย์ รัตนพงศ์

1 20 21 22 23 24 120
...