ชัวร์ก่อนแชร์: ปากกาลดน้ำหนัก ใช้แล้ว “หน้าเหี่ยว-ก้นย้อย” จริงหรือ?

Excess Skin คือผิวหนังส่วนเกินที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะใช้วิธีการลดน้ำหนักแบบใด

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : RACYVIP AINVINOS ? — ภัยร้ายใกล้ตัว จากการหลุดรั่ว โดยไม่คาดคิด !

11 พฤษภาคม 2567 – สิ่งนี้…เป็นภัยใกล้ตัว อันเกิดจากพฤติกรรม หรือกิจกรรมที่ทำบนโลกออนไลน์ และ สิ่งนี้…เคยเกิดขึ้นกับคนไทย (ที่มา : Resecurity) ข้อมูลกว่า 20 ล้านบัญชี ถูกประกาศขายบนดาร์กเว็บ คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สัมภาษณ์เมื่อ : 15 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เด็กขยิบตา หรือ กะพริบตาบ่อย

12 พฤษภาคม 2567 – เด็กขยิบตา หรือกะพริบตาบ่อย ๆ เกิดจากสาเหตุใด เป็นอันตรายหรือไม่ และผู้ปกครองควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 30 เมษายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะตาสั่น

9 พฤษภาคม 2567 – ภาวะตาสั่นคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 30 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไตพังเพราะกินยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำหนัก จริงหรือ ?

10 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลแชร์ข่าวต่างประเทศเตือนภัย สาววัย 28 ไตพัง เพราะกินยาขับปัสสาวะเป็นประจำ การทำงานของไตลดลงเหลือเท่าคนอายุ 80 ปี ยาขับปัสสาวะนี้คือหนึ่งในยาทำลายไต ที่มา : https://www.sanook.com/news/9303010 บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน สัมภาษณ์เมื่อ : 7 พฤษภาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาช่วยชีวิต จริงหรือ ?

13 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลแชร์คลิปแนะนำให้พก “ยาช่วยชีวิต” โดยเมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก แค่นำมาอมไว้ใต้ลิ้น จะช่วยให้รอดปลอดภัยได้ บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ยาดังกล่าว ไม่ใช่ยาสำหรับช่วยชีวิตตามที่แชร์กัน ตรวจสอบกับ รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สัมภาษณ์เมื่อ 23 เมษายน 2567 แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ สัมภาษณ์เมื่อ 8 มีนาคม 2567 ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) สัมภาษณ์เมื่อ 7 พฤษภาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขวดน้ำดื่มแช่แข็งมีสารอันตราย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า ห้ามนำขวดน้ำดื่มไปแช่แข็ง เพราะจะมีสารไดออกซินที่เป็นสารพิษออกมาจากพลาสติก เรื่องนี้จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 1. ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อมูลที่แชร์ว่า “ขวดน้ำดื่มแช่แข็งช่องฟรีซ มีสารอันตรายออกมา” เป็นเรื่องที่ไม่จริง สำหรับขวดน้ำพลาสติกใส ๆ โดยทั่วไป จะเป็นพลาสติกที่เรียกว่า PET หรือโพลีเอทีลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate) ส่วนถุงบรรจุอาหารนิยมใช้พลาสติกจำพวกโพลีโพรพีลีน (Polypropylene) หรือ PP สารที่กำลังอยู่ในความสนใจคือ ไดออกซิน (Dioxins) พบว่าไม่ได้อยู่ในพลาสติกทั้งสองประเภทเลย ในคลิประบุว่า จะมีสารไดออกซินออกมาปนกับอาหาร ? “ไดออกซิน” เป็นสารพิษจริง แต่สารพิษที่เดิมพบในพลาสติกจำพวกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ รู้จักกันในชื่อว่า โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride : PVC) ซึ่งตอนหลังมีการพัฒนาปรับปรุง PVC ให้มีสารเจือปนเหล่านี้น้อยลง ที่ผ่านมายังไม่พบสารไดออกซินในพลาสติกจำพวกที่ไม่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นโพลีเอทีลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็นมะเร็งตับเพราะกินผลไม้เป็นประจำ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข่าวต่างประเทศ พาดหัวว่า สามีภรรยาตรวจเจอ “มะเร็งตับ” ทั้งที่ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หมอชี้สาเหตุ เป็นเพราะ “ผลไม้” ที่กินประจำ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “มะเร็งตับ” เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่อาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ การพาดหัวข่าวที่บอกว่า “เป็นมะเร็งตับเพราะกินผลไม้” อาจจะทำให้คนตื่นกลัวว่ากินผลไม้ไม่ได้ ความจริงก็คือกินผลไม้ที่เสื่อมเสียจากเชื้อราและเชื้อราบางชนิดสร้างสารพิษ “อะฟลาทอกซิน” ก็เป็นหนึ่งในสารพิษที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ พ่อค้าแม่ค้าผลไม้ “กินผลไม้” ที่เหลือจากการขายหั่นแช่ไว้ในตู้เย็น รวมทั้งกินเมล็ดทานตะวันและเมล็ดฟักทอง ผลไม้และธัญพืชหลายชนิดอาจจะมีการเจริญของเชื้อราที่สร้างสารพิษ ที่เรียกว่า “สารพิษเชื้อรา” เชื้อราตัวที่กลัวที่สุดก็คืออะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งตับของมนุษย์โดยตรง “มะเร็ง” เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ถ้าเกี่ยวข้องกับอาหารอยู่ที่ว่ามีสารพิษเชื้อราอะฟลาทอกซินปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด หรือการกินมีความถี่มากน้อยแค่ไหน รวมถึงภาวะทางสุขภาพของแต่ละคนด้วย ถ้าพูดถึงการกินอาหารแล้วทำให้เกิดมะเร็งตับ ส่วนใหญ่จะเป็น “พิษเรื้อรัง” ไม่ใช่จากการกิน 2-3 ครั้งแล้วทำให้เกิดมะเร็งตับ แต่เป็นการกินอย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ หลายปี หรือหลายสิบปีถึงจะเกิดขึ้นได้ รู้ได้อย่างไรว่าอาหารจานไหน กล่องไหน มีเชื้อราและสารพิษอะฟลาทอกซินแล้ว ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์: มนุษย์หายใจรับ “ไมโครพลาสติก” ปริมาณเท่าบัตรเครดิตทุกสัปดาห์ จริงหรือ?

งานวิจัยสำรวจ “อัตราส่วน” ของไมโครพลาสติกในอากาศ ไม่ได้สำรวจ “น้ำหนัก” ของไมโครพลาสติกในอากาศ

ชัวร์ก่อนแชร์: ขวดน้ำพลาสติกตากแดดในรถ ปล่อยสารก่อมะเร็ง Dioxin จริงหรือ?

11 พฤษภาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเป็นเวลานานเป็นอันตราย เนื่องจากร่างกายจะได้รับสารก่อมะเร็งชนิดไดออกซิน โดยอ้างว่า เชอรีล โครว นักร้องสาวชาวอเมริกันที่เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีสาเหตุจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ตากแดดในรถเช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Dioxin ไดออกซิน (Dioxin) คือสารประกอบอินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์ เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ถูกย่อยสลายได้ยาก ทำให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อย แต่ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้สะสมในไขมันของสิ่งมีชีวิต มีความเป็นพิษสูงและยังเป็นสารก่อมะเร็ง หากได้รับในปริมาณสูงจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบการสืบพันธุ์ ข้อมูลจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกาหรือ EPA ระบุว่า การพบสารไดออกซินปะปนในอากาศและแหล่งน้ำ มีสาเหตุมาจากกิจกรรมการเผา ทั้งการเผาขยะและเชื้อเพลิง นิโคล แดเซียล รองศาสตราจารย์ ด้านระบาดวิทยาและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้พลาสติกแก้วิกฤตโลกร้อน จริงหรือ?

แม้บางกรณี การใช้พลาสติกจะมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจากการทดแทนการใช้วัสดุอื่น ๆ ที่สิ้นเปลืองมากกว่า แต่กระบวนการผลิตพลาสติกจนถึงการกำจัดซากพลาสติก ล้วนสร้างก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลก

1 21 22 23 24 25 120
...