ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอล์”

20 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รู้จักน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซินนั้นไม่มีส่วนผสมของเอทานอล ในขณะที่แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซิน และเอทานอล ในประเทศไทย แก๊สโซฮอล์ หมายถึงการผสมเอทานอลในระดับต่ำ (E 10, E 20) และการผสมเอทานอลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นด้วย (เช่น E 85) แต่ปัจจุบันน้ำมันเบนซินหาได้ยาก ในขณะที่แก๊สโซฮอล์เป็นที่แพร่หลาย ค่าออกเทน คืออะไร ? ค่าออกเทน (RON) ย่อมาจาก Research Octane Number เชื้อเพลิงที่กลั่นออกมาจากน้ำมันดิบ และนำมาปรับปรุงคุณภาพ เรียกว่า ออกเทน · น้ำมันเบนซิน 95 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95  ไม่มีส่วนผสมของเอทานอล มีราคาค่อนข้างสูง · น้ำมันเบนซิน 91 คือ น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำตาเทียมทำให้ไตอักเสบได้ จริงหรือ ?

16 สิงหาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือน ผลการทดสอบน้ำตาเทียมหลายยี่ห้อ ทำให้ไตอักเสบได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย น้ำตาเทียมเป็นยาหยอดตาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดวงตา น้ำยามีการซึมเข้าสู่เยื่อบุตาขาว และบริเวณกระจกตาดำ เพราะฉะนั้นหากนำน้ำตาเทียมมาหยดที่บริเวณผิวหนังจะไม่มีการดูดซึมเข้าสู่ระบบกระแสเลือดได้ ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อไตตามที่แชร์กัน น้ำตาเทียมถือว่าเป็นยาหยอดตาที่ปลอดภัยใช้เพื่อให้น้ำหล่อลื่น เลี้ยงลูกตามาฉาบดวงตา ดังนั้นในคนปกติทั่วไปที่มีความรู้สึกเคืองตา รู้สึกมีน้ำตาเหนียวๆ เกาะหาง ตาหรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นระคายเคืองตาน่าจะมาจากภาวะที่เรียกว่า “ภาวะน้ำตาแห้ง” การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะทำให้รู้สึกสบายตาและลดอาการดังกล่าวได้ สัมภาษณ์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: รัสเซีย+IBA กับที่มาข่าวฉาว นักมวยชายต่อยผู้หญิงในโอลิมปิก

การมีโครโมโซม XY ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าเจ้าของโครโมโซมจะต้องเป็นผู้ชายเสมอไป ข้อกล่าวหายังมาจากหน่วยงานที่ถูกขับออกจากกีฬาโอลิมปิก และเชื่อมโยงกับแผนสร้างข่าวปลอมโดยเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซียอีกด้วย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ความรุนแรงและอาการไวรัสตับอักเสบ

15 สิงหาคม 2567  ไวรัสตับอักเสบ แต่ละชนิดมีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี เลขาธิการมูลนิธิตับแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สัมภาษณ์เมื่อ : 23 กรกฎาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: วิตามินบี 17 ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ จริงหรือ?

วิตามินบี 17 ไม่มีจริง แต่เป็นนำ Amygdalin มาเปลี่ยนชื่อจนเกิดความเข้าใจผิด Amygdalin สะสมในร่างกายจะกลายเป็นสารพิษ Cyanide

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำตาเทียม ใช้มากส่งผลให้ “ไตวาย ไตเสื่อม” จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่า “น้ำตาเทียม” เมื่อใช้นาน ๆ อาจทำให้ “ไตวาย ไตเสื่อม” ได้ เรื่องนี้จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โดยปกติแล้วคนเรามี “น้ำตา” ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนและความชุ่มชื้นแก่กระจกตาและเยื่อบุตา ช่วยปรับสภาพของกระจกตาให้มีความเรียบเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน และช่วยป้องกันการติดเชื้อและขจัดของเสียออกจากกระจกตา เมื่อใดก็ตามที่น้ำหล่อเลี้ยงกระจกตาระเหยไป หรือร่างกายผลิตน้ำตาธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะใช้ในการหล่อเลี้ยงกระจกตาและเยื่อบุตา จะทำให้เกิดอาการตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองตา แสบตา และตาพร่า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องใช้ “น้ำตาเทียม” เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา “น้ำตาเทียม” คือยาหยอดตารูปแบบหนึ่ง ผลิตจากสารสังเคราะห์คล้ายน้ำตาธรรมชาติเพื่อทดแทนน้ำตาธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นหรือหล่อลื่นดวงตา ใช้สำหรับบรรเทาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียม ทำให้ไตวาย ไตเสื่อม จริงหรือ ? เรื่องนี้ไม่จริง ยังไม่พบผู้ป่วยไตเสื่อม ไตวาย จากการใช้น้ำตาเทียมที่ผลิตจากสารที่มีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำตาธรรมชาติของคนเรา น้ำตาธรรมชาติแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำตาพื้นฐาน น้ำตาจากสิ่งเร้าภายนอก น้ำตาจากอารมณ์ 1. น้ำตาพื้นฐาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: น้ำมะนาวอุ่นรักษามะเร็งดีกว่าคีโม 1,000 เท่า จริงหรือ?

แม้การบริโภคผลไม้ที่มีวิตามินซีจะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็ง แต่สารอาหารจากการกินผลไม้ไม่เพียงพอที่จะสามารถรักษาผู้ที่ป่วยมะเร็งได้

ชัวร์ก่อนแชร์: เบกกิงโซดา-อาหารด่าง รักษามะเร็งได้ จริงหรือ?

ร่างกายมนุษย์มีกลไกปรับความสมดุลของกรดและด่าง การกินอาหารไม่สามารถเปลี่ยนความเป็นกรดและด่างในร่างกายของมนุษย์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก และเข้าใจ “น้ำมันดีเซล”

13 สิงหาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวน้ำมันดีเซลว่า มีที่มาอย่างไร มีกี่รูปแบบ เลือกใช้ให้เหมาะสมอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลทำงานอย่างไร ? หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล จะอาศัยการจุดระเบิดโดยหลักการอัดอากาศ และฉีดเชื้อเพลิงด้วยความดันสูงจนเชื้อเพลิงนั้นสามารถติดไฟได้  โดยมีเลขซีเทนเป็นตัวเลขที่ใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล โดยบ่งบอกถึงคุณสมบัติการจุดติดของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ ปัจจุบันน้ำมันดีเซลในประเทศ มี 3 ประเภทด้วยกัน   แต่ละประเภทมีคุณภาพเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่สัดส่วนผสมไบโอดีเซล ดังนี้  1. น้ำมันดีเซล B7 ดีเซล B7 จะเป็นน้ำมันดีเซลทั่วไป มีสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ  7%  ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมันดีเซล ปัจจุบันน้ำมันดีเซล B7 ยังคงมีจำหน่ายอยู่ 2. น้ำมันดีเซล B20 ดีเซล B20 มีสัดส่วนของไบโอดีเซล 20% และดีเซล 80% ซึ่งในปัจจุบันเป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถโดยสารสาธารณะ ผลกระทบจากการใช้ดีเซล B20 2.1 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องไวขึ้น รวมไปถึงไส้กรองน้ำมัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินกุ้งกับวิตามินซี ก่อสารหนูถึงตาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวของคนที่เสียชีวิต คาดว่าเพราะกินวิตามินซีกับกุ้ง ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีแปรรูปเป็นสารหนูได้นั้น เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ชฎามาศ พรหมคำ นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อความที่แชร์กัน “กินวิตามินซีและกุ้ง เกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นสารหนูทำให้เสียชีวิต” เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ? รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ กล่าวว่าเรื่องนี้ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าผู้หญิงคนนี้และศาสตราจารย์ที่ถูกอ้างว่าพูดถึงเรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งข่าวที่ออกมาดูเหมือนถูกสร้างขึ้นมาลอย ๆ อาหารทะเลโดยเฉพาะในกุ้งก็ไม่ได้มีสารหนูมากถึงขนาดทำอันตรายจนถึงตาย สอดคล้องกับความเห็นของ อาจารย์ชฎามาศ พรหมคำ ข้อความที่แชร์กันยังไม่พบว่ามีหลักฐานปรากฏ ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวอ้าง หรือบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างก็ยังไม่พบว่ามีข้อมูลที่เป็นจริง กินวิตามินซี มีอันตรายอะไรหรือไม่ ? วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) คือวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อต่าง ๆ และปกป้องเซลล์ภายในร่างกาย ช่วยในการสมานแผล และการดูดซึมธาตุเหล็ก รวมถึงเป็นตัวช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กระดูก […]

1 23 24 25 26 27 135
...