ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ‘สปอโรทริโคสิส’ โรคเชื้อราในแมวที่ติดต่อสู่คน

“สปอโรทริโคสิส” โรคจากเชื้อราพบในแมว มีการพบในคนมากขึ้น อันตรายต่อคนหรือไม่ รักษาได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พ.ต.ต.หญิง รศ.พญ.เพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล อาจารย์ประจำภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สปอโรทริโคสิส (Sporotrichosis) เป็นโรคเชื้อราที่ทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวหนัง เชื้อราชนิดนี้จริง ๆ ก็เป็นเชื้อราตามธรรมชาติ อยู่ตามพื้นดิน ตามต้นไม้ต่าง ๆ โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส ในต่างประเทศมีการตั้งชื่อว่า Rose gardener’s disease เป็นเชื้อราที่มีข้อมูลว่าคนทำสวนถูกหนามบาด หนามทิ่ม แล้วก็เกิดโรคนี้ขึ้นมา ในประเทศไทย “โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส” พบได้บ่อยในแมว ? สำหรับประเทศไทย โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิสพบได้น้อยในคน ข้อมูลจากสัตวแพทย์พบว่ามีสัตว์เลี้ยงติดเชื้อราสปอโรทริโคสิสทุกวัน โดยเฉพาะแมว ถือว่าโรคเชื้อราสปอโรทริโคสิสเป็นโรคประจำของหมาแมวก็ได้ มีแนวโน้มพบ “โรคเชื้อราสปอโรทริโคสิส” ในคนมากขึ้น ? ข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ย้อนหลัง 15 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มี 10 ราย แสดงว่าที่ผ่านมา 1-2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เมล็ดมะละกอกินได้ มีประโยชน์มากมาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความว่าเมล็ดมะละกอสามารถกินได้ และมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร. จิรายุ หลายนามเพ็ชร อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมล็ดมะละกอสามารถกินได้จริง มีการกินเมล็ดมะละกอกันจริง ๆ ในบางประเทศ ในโซนเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย ก็มีการกินเมล็ดมะละกอเป็นยารักษาโรค ซึ่งตรงนี้เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมา นอกจากนั้น ยังมีบางประเทศในทวีปแอฟริกา อย่างเช่น ประเทศไนจีเรีย มีการนำเมล็ดมะละกอมาหมักใช้เป็นเครื่องปรุงรสในอาหารได้ด้วย เมล็ดมะละกอ : สุขภาพของไตดีขึ้น? ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยเรื่องการกินเมล็ดมะละกอกับสุขภาพไตที่ทำการศึกษาในมนุษย์ เพราะมีเพียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ในสัตว์ทดลองเท่านั้น และพบได้ค่อนข้างน้อยด้วย เมล็ดมะละกอ : เพิ่มสุขภาพตับ ? ประเด็นนี้คล้ายการกินเมล็ดมะละกอกับสุขภาพไต เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีงานวิจัยที่บ่งบอกว่าการกินเมล็ดมะละกอจะช่วยเรื่องการทำงานของตับหรือเปล่า พบงานวิจัยบางประเด็นในสัตว์ทดลองเท่านั้น และผลที่ออกมายังมีความขัดแย้งกันอยู่พอสมควร เมล็ดมะละกอ : มีสารไอโซไทโอไซยาเนต ช่วยฆ่ามะเร็ง ? ตัวเมล็ดมะละกอมีสารไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) และมีงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ของสารสกัดตัวนี้ กับการจัดการของเซลล์มะเร็งได้ด้วย โดยพบว่าสารไอโซไทโอไซยาเนตที่พบในเมล็ดมะละกอ มีคุณสมบัติฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยในมนุษย์มายืนยันปริมาณการกินเมล็ดมะละกอ ที่จะส่งผลจัดการเซลล์มะเร็งในร่างกายของคนเรา เมล็ดมะละกอ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคฮีตสโตรกในสัตว์เลี้ยง

บนสื่อสังคมออนไลน์มีคำเตือนและข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการในสัตว์เลี้ยงที่เรียกว่า “ฮีตสโตรก” ข้อเท็จจริง รายละเอียด และคำแนะนำเรื่องนี้เป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์ คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฮีตสโตรก (Heat Stroke) หมายถึง การที่อุณหภูมิของสัตว์เลี้ยงไปมีผลหยุดหรือทำลายกระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายของตัวสัตว์ (ในคนก็เกิดได้) การที่สัตว์ได้รับความร้อนสะสมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น วันที่อากาศร้อนมาก สัตว์เลี้ยง และ/หรือ สุนัข ถูกผูกหรือขังกรงไว้บริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงหลายชั่วโมง ตัวเจ้าของมีภารกิจหลายอย่างต้องทำและก็ลืมไปเลยว่าสัตว์เลี้ยงอยู่บริเวณที่แสงแดดส่องถึงและมีความร้อนสะสมด้วย ผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่งสัตว์เลี้ยงจะเริ่มมีอาการมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ จนกระทั่งทนไม่ได้ อาการฮีตสโตรกในสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างไร ? อาการเริ่มต้นของฮีตสโตรกในสัตว์เลี้ยงที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนก็คือ หายใจแรงขึ้น (เรียกว่าหอบก็ได้) หายใจลำบาก อุณหภูมิร่างกายขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็ว กระหายน้ำมาก บางตัวถ้าดูแลไม่ทันก็หมดสติ อาจจะชัก โคม่า และเสียชีวิตได้ สำหรับสุนัขสังเกตดูได้เลย จะพบว่าลิ้นแดง แต่เหงือกซีด ตัวที่เป็นฮีตสโตรกน้ำลายจะเหนียว เพราะขาดน้ำ อาการต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET :หินปูนในเยื่อบุตา

หินปูนใต้เปลือกตาคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายต่อดวงตาหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะหินปูนเกาะบริเวณเยื่อบุตาด้านในพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเคืองตา ซึ่งในหลายคนอาจจะมีอาการเคืองตา แต่ไม่ได้ไปรับการตรวจ อาจจะเข้าใจว่ามีเศษฝุ่นปลิวเข้าตา หรือเคืองตาจากโรคตาแห้ง หินปูนหรือไขมันแข็ง ๆ ที่สะสมอยู่บริเวณเยื่อบุตาด้านใน ไม่ได้เป็นหินปูนหรือเศษฝุ่นที่ปลิวมาจากข้างนอก แต่เกิดจากการสะสมของหินปูนหรือไขมันที่ล่องลอยมาในเลือด และมาสะสมบริเวณที่มีการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุตาด้านใน หินปูนเยื่อบุตาหรือนิ่วเยื่อบุตา (conjunctival concretion) มี 2 แบบ คือ แบบแข็ง (แคลเซียม หินปูน) และ แบบอ่อน (ก้อนไขมัน) ซึ่งสามารถพบได้ทั้ง 2 แบบ กรณีเป็นแคลเซียมที่มาสะสมอยู่จะทำให้เกิดอาการเคืองมากกว่าแบบอ่อน (ก้อนไขมันนิ่ม ๆ) คนกลุ่มไหนที่พบหินปูนในเยื่อบุตา ส่วนใหญ่พบภาวะหินปูนเกาะตาในผู้สูงอายุ เพราะอาจมีอาการอักเสบเรื้อรังบริเวณเยื่อบุตา หรืออาจจะพบในคนอายุน้อยก็ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภูมิแพ้ขึ้นบริเวณดวงตา คือมีอาการคันตาเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มานานแล้ว ก็จะทำให้เกิดความเสียหายของเยื่อบุตาบริเวณด้านในจึงทำให้เกิดการสะสมของหินปูน ระยะแรกการสะสมของหินปูนจะอยู่ลึก ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิตามินดีในเห็ด

“เห็ด” มีวิตามินดีมากแค่ไหน และถ้านำเห็ดไปตากแดด จะทำให้วิตามินดี “เพิ่มขึ้น” จริงหรือไม่ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิตามินดี 3 (Vitamin D3; Cholecalciferol) วิตามินที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์เอง จากการถูกกระตุ้นด้วยรังสี UVB ในแสงแดด หรือได้จากการกินอาหารบางชนิด วิตามินดี 2 (Vitamin D2; Ergocalciferol) ร่างกายคนเราได้รับจากการกินอาหารเท่านั้น วิตามินดีจากปลา (วิตามินดี 3) และเห็ด (วิตามินดี 2) มีลักษณะคล้ายกัน เมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ได้ จากการศึกษาเห็ดที่นิยมกินในประเทศไทย พบว่าเห็ดที่มีปริมาณวิตามินดีสูงสุด คือ เห็ดนางฟ้า (Lung Oyster mushroom) ประมาณ 15 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งร่างกายคนเราต้องการ 15 ไมโครกรัม ก็ถือว่าเพียงพอ ถ้ากินเห็ดนางฟ้า 100 กรัม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และใครที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะนี้ได้บ้าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “จอประสาทตา” เป็นอวัยวะที่อยู่ด้านหลังของลูกตา เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่รับภาพและส่งกระแสประสาทเข้าไปในสมอง “จอประสาทตา” จะต้องอยู่ชิดหรือแนบกับผนังของลูกตา กรณีที่เกิดโรคจอประสาทตาหลุดลอก จะทำให้จอประสาทตาหลุดลอกออกมา จอประสาทตาหลุดลอก เกิดจากสาเหตุอะไร ? สาเหตุที่ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก เกิดจาก 3 กรณี 1. เกิดรูฉีกขาด ทำให้น้ำในวุ้นลูกตาไปเซาะจอประสาทตาหลุดออกจากผนังลูกตา ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากอุบัติเหตุของดวงตาได้ โดยการเกิดรูฉีกขาดจะมีอาการเตือนนำมาก่อน หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์จากน้ำวุ้นลูกตาที่อยู่ด้านในติดจอประสาทตา เกิดตะกอนขึ้นมา มองเห็นเป็นจุด เป็นหยากไย่ลอยไปลอยมา ทำให้มองเห็นสิ่งเหล่านี้เป็น ๆ หาย ๆ อาการเตือนว่าจะเกิดอันตรายกับจอประสาทตา คือภาวะที่ตะกอนไปดึงกระชากจอประสาทตา ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีแสงเหมือนฟ้าแลบ ทางการแพทย์เรียกว่า Flashing 2. การดึงรั้งของวุ้นลูกตา ทำให้จอประสาทตาฉีกขาดแล้วหลุดออกมา หรือทำให้จอประสาทตาหลุดออกมาทั้งหมดก็ได้ กรณีจอประสาทตาถูกดึงรั้งด้วยวุ้นลูกตา พบได้บ่อยในคนที่มีปัญหาเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี และมีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา)  3. โรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือหลอดเลือดบริเวณจอประสาทตาผิดปกติ ทำให้มีน้ำหรือโปรตีนรั่วออกมาจากหลอดเลือดและไปดันจอประสาทตาหลุดลอกได้ […]

ชะตากรรมแพทย์ผู้ถูกยึดใบอนุญาต จากข้ออ้างวัคซีนคือสาเหตุออทิสติก

16 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล งานวิจัยที่เกี่ยวกับวัคซีนและโรคออทิสติกที่โด่งดังที่สุด คือผลงานของ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ อดีตแพทย์ชาวอังกฤษ เจ้าของงานวิจัยสุดอื้อฉาวที่เคยตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อปี 1998 โดยอ้างว่า การฉีดวัคซีน MMR หรือวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และ หัดเยอรมัน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคออทิสติก แม้การวิจัยซ้ำในแวดวงวิทยาศาสตร์จะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้าง แต่ แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ยังเรียกร้องผ่านสื่อ ให้มีการยุติการฉีดวัคซีน MMR โดยทันที โดยย้ำว่าวัคซีน MMR คือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสติก นำไปสู่ความกังวลต่อการฉีดวัคซีน MMR ในสังคม ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคหัดในหลายพื้นที่ทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว ภายหลังในปี 2004 หนังสือพิมพ์ Sunday Times ได้รายงานว่า แอนดรูว์ เวคฟิลด์ ปกปิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการวิจัยวัคซีน MMR กับโรคออทิสติก การสืบสวนพบว่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยของแอนดรูว์ เวคฟิลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าในประเทศไทยมีการพบโรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ โรคนี้เป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศว่าประเทศไทยพบโรคอุบัติใหม่ ชื่อ“ลัมปีสกิน” เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus ที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และรายงานอย่างเป็นทางการปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 06 3225 6888 “ลัมปีสกิน” คือโรคอะไร ? “ลัมปีสกิน” เป็นโรคติดเชื้อในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง โค (วัว) กระบือ (ควาย) และสัตว์ป่าบางชนิด เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus (LSD) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : Statin ยาลดคอเลสเตอรอล ก่ออันตราย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความที่อ้างผลงานแพทย์คนหนึ่งที่ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับ “ความจริง” ของคอเลสเตอรอล รวมทั้งบอกว่าไม่ต้องกังวลหากคอเลสเตอรอลสูง ขณะที่ยา Statin ที่หมอจ่ายให้ผู้ป่วยกินเพื่อลดคอเลสเตอรอล อันตรายและไม่จำเป็น 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) บทความที่ว่านี้อ้างอิงจากแพทย์คนหนึ่ง พยายามจะสื่อสารตรงกันข้ามกับที่แพทย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ เช่น บอกว่า “ไขมันสูง ไม่เชิงเป็นอะไรหรอก…” หรือ “ถ้ามัวไปกินยา อาจจะเกิดผลเสียด้วยนะ..” ตรงนี้ต้องขอแก้ไข การที่แพทย์ได้ตัดสินใจให้ประชาชนคนหนึ่งใช้ยาลดไขมัน (ยาลดไขมันมีหลายชนิด เรียกว่ายากลุ่ม “สแตติน” ประชาชนอาจจะรู้จักในชื่อว่า “ซิมวาสแตติน” “อะทอร์วาสแตติน” เป็นต้น) ซึ่งเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ หมายความว่า ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศพร้อมใจกันเห็นว่ายานี้เป็นยาจำเป็น ยา “สแตติน” อันตราย ? ข้อความที่แชร์บอกว่า “ใช้แล้วจะมีอันตราย ก. ข. ค. ง.” ซึ่งเป็นเรื่องปกติของยาทั้งหลาย เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ยาเบาหวาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สมองฝ่อ

บนสื่อสังคมออนไลน์มีหลายข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะสมองฝ่อ สมองฝ่อคืออะไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง และจะสามารถรักษาได้หรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.เจษฎา เขียวขจี นายแพทย์ปฏิบัติการโรคสมองและระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “สมองฝ่อ” คือการเสื่อมของอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจจะมีอวัยวะส่วนอื่นเสื่อมถอย ลำไส้ทำงานแย่ลง ปอดแย่ลง สมองก็คืออวัยวะที่จะพบเหตุการณ์แบบนั้นได้เหมือนกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสมองฝ่อขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด แต่ที่พบบ่อยสุดคือ “กลุ่มอัลไซเมอร์” มีการฝ่อของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความจำ จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องหลงลืมง่าย ถ้ามีการเสื่อมที่สมองส่วนอื่น ๆ เช่น สมองส่วนหน้า อาจจะมีปัญหาเรื่องทักษะด้านความคิด ความจำ การวางแผน การทำงานต่าง ๆ เคยทำอะไรได้บางอย่างแล้วเหมือนกับทำต่อไม่ได้แล้ว สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น จะทำให้มีปัญหาเรื่องหลงทางในพื้นที่ที่คุ้นเคยประจำ ส่วนอื่นก็มีบ้าง เช่น สมองเกี่ยวกับการใช้ภาษา ถ้ามีการฝ่อจะทำให้ผู้ป่วยนึกคำพูดนานขึ้น หรือพูดคุยแล้วผู้ป่วยฟังไม่เข้าใจ หรือฟังสิ่งที่ผู้ป่วยพูดไม่เข้าใจ เป็นต้น ช่วงอายุการเกิดสมองฝ่อแต่ละคนจะแตกต่างกัน ? บางคนสมองฝ่อเร็ว บางคนฝ่อช้า ในบางคนอายุ 70-80 ปี สมองอาจจะยังไม่ฝ่อมาก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่บางคนถ้ามีกลุ่มรอยโรค หรือมีความผิดปกติที่ทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อโรคพาร์กินสันได้มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคพาร์กินสันมีสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มารวมกันพอเหมาะพอดี เวลามอง “ปัจจัยเสี่ยง” มีปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ กับปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงแก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงแก้ไขได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ สารพิษฆ่าแมลง (ยาฆ่าแมลง) และสารพิษปราบศัตรูพืช (ยาปราบศัตรูพืช) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเล็ก ๆ อีกหลายอย่าง เช่น มลภาวะ สิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันได้ แก้ไขได้ การป้องกันโรคพาร์กินสัน คนกลุ่มแรกที่เป็นห่วงคือกลุ่มคนที่ทำงานกับการใช้สารพิษฆ่าแมลง การรับสารพิษฆ่าแมลง สารพิษปราบศัตรูพืช หลัก ๆ ทำให้เซลล์ที่ผลิตสารโดพามีนเสื่อมลง ตายลง เมื่อสารโดพามีนลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลักเรื่องอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเดินลำบาก ดังนั้นคนที่ใช้สารพิษฆ่าแมลงต้องป้องกันเป็นพิเศษ 1. ทำงานเกี่ยวข้องกับสารพิษฆ่าแมลง สารพิษปราบศัตรูพืชโดยตรง สิ่งที่แนะนำคือเรื่องของการใส่อุปกรณ์ป้องกัน ให้มองถึงโอกาสที่จะรับสารพิษต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยเสี่ยงคืออะไร การเกิดโรคมีอะไรบ้าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลไกการเกิดโรคของร่างกายในทุก ๆ โรค มีทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน เมื่อเกิดโรคได้เพราะปัจจัยต่าง ๆ เสียสมดุล โดยที่ปัจจัยเสี่ยงมากกว่า สำหรับโรคพาร์กินสันเวลามองปัจจัยเสี่ยง จะต้องมองอย่างรอบด้านว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ และอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยง “แก้ไขไม่ได้” ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ตามสถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เก็บในประเทศไทย อายุเกิน 60 ปี 1 เปอร์เซ็นต์ อายุเกิน 80 ปี 3 เปอร์เซ็นต์ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 ปี นี่คือสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ปัจจัยเสี่ยง “แก้ไขได้” สำหรับปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสันที่แก้ไขได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ 1. เรื่องของสารพิษฆ่าแมลง (ยาฆ่าแมลง) และสารพิษปราบศัตรูพืช (ยาปราบศัตรูพืช) เป็นปัจจัยภายนอก ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่ป้องกันและแก้ไขได้ […]

1 25 26 27 28 29 120
...