ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

บนสื่อสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “พาร์กินสัน” เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่า “โดพามีน” ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้ 1. อาการสั่น (Tremor) 2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity 3. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือเคลื่อนไหวน้อย (Hypokinesia) 4. เดินลำบาก มีการทรงตัวที่ไม่มั่นคง (Postural instability) ถือว่าเป็น 4 อาการหลักทางด้านการเคลื่อนไหว จริง ๆ มีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอาการเตือนก่อนที่จะมีอาการพาร์กินสันก็มีมากมายเช่นเดียวกัน สัญญาณอาการเตือนโรคพาร์กินสัน มีอะไรบ้าง อาการเตือนหลัก ๆ มีดังนี้ 1. การนอนละเมอ 2. ท้องผูก 3. ดมกลิ่นไม่ได้ 4. ภาวะซึมเศร้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแฉะ

ตาแฉะเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณของโรคทางตาหรือไม่ และจะต้องดูแลอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตาแฉะ” ภาวะที่คนเรารู้สึกว่ามีน้ำออกมาจากดวงตา จริง ๆ แล้วก็คือ “ขี้ตา” นั่นเอง ปกติ “สี” หรือลักษณะขี้ตา อาจจะบอกถึงโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตาแฉะได้ 1.ตาแฉะ : ติดเชื้อไวรัส มีอาการระคายเคืองบริเวณดวงตา และไวรัสที่บริเวณเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดการอักเสบและมีน้ำตาใส ๆ ออกมาค่อนข้างมาก 2.ตาแฉะ : ติดเชื้อแบคทีเรีย คนที่ตาแฉะและมีขี้ตาสีเขียว เหลือง หรือขาวข้น เป็นลักษณะที่บอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะติดเชื้อบริเวณเยื่อบุตาหรือตาแดง ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เกิดจากการสัมผัสโดยตรงจากการที่ถูกน้ำตาหรือตาของผู้ป่วยมาก่อน การใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ ในคนที่เป็นหวัดจากเชื้อไวรัส มีน้ำมูกใส หรือในคนที่เป็นหวัดมีน้ำมูกเขียวหรือเหลือง และเชื้อติดบริเวณดวงตาของตัวเอง จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบไปพร้อม ๆ กับโรคหวัดได้ 3.ตาแฉะ : ภูมิแพ้ขึ้นตา คนที่มีภูมิแพ้ขึ้นตา น้ำตาหรือขี้ตาที่ออกมาจะเป็นลักษณะเหนียวใส ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ข้อควรรู้ ก่อนกินทุเรียน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิป 5 ข้อควรรู้ก่อนกินทุเรียน เช่น ทุเรียนมีน้ำตาลสูง พลังงานสูง หากกินอย่างไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทั่วไป สิ่งที่แชร์กันถูกต้องตามหลักวิชาการ (ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์) แต่เห็นประโยชน์จากการกินทุเรียนให้ถูกวิธี กินให้พอเหมาะ ไม่ใช่เห็นประโยชน์แล้วตั้งหน้าตั้งตากินแต่ทุเรียน จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และดูคลิปต้องใช้สติ เพื่อการกินทุเรียนอย่างมีสติด้วย ข้อ 1 ทุเรียน : ผลไม้มีแคลอรีสูง ? เนื้อทุเรียน 100 กรัม มีแคลอรีสูงสุดประมาณ 180-190 กิโลแคลอรี ทุเรียน 100 กรัม ปริมาณเท่ากับ 2 เม็ด มีหลายครั้งที่คนกินทุเรียนเผลอกินไปเรื่อย ๆ มากกว่า 2 เม็ด กินทุเรียนได้แคลอรีจำนวนมากแล้ว แต่ยังได้แคลอรีจากอาหารมื้อหลักอีก เมื่อกินเข้าไปก็สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือสาเหตุของโรคออทิสติก จริงหรือ?

สาเหตุที่พบเด็กป่วยเป็นโรคออทิสติกมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นและการคัดกรองละเอียดกว่าในอดีต ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สารกันเสียในวัคซีนทำให้เสี่ยงเป็นโรคออทิสติกและยังไม่มีหลักฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนกับโรคออทิสติก

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้หนูคลอดลูกเป็นออทิสติก จริงหรือ?

เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ผู้วิจัยย้ำว่าไม่อาจนำผลมาเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์ได้ และยังเป็นการวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ให้ปริมาณวัคซีนกับหนูทดลองเท่ากับปริมาณที่ใช้กับมนุษย์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ปวดหัว ไมเกรน จริงหรือ ?

10 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดวิธีแก้ปวดหัว ทั้งการนวด การอุดรูจมูกที่เชื่อว่าช่วยบรรเทาอาการ อีกทั้งการดื่มกาแฟดำ น้ำผึ้ง มะนาว แก้ปวดหัวไมเกรนได้ มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : กาแฟใส่มะนาวแก้ปวดหัวไมเกรน จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “ในบางคน การดื่มกาแฟอาจช่วยบรรเทาไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม หากเราใส่มะนาวเพิ่มเข้าไป มะนาวอาจกระตุ้นให้ปวดหัวมากกว่าเดิมจึงไม่ควรทำตาม” อันดับที่ 2 : คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการ จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “การนวดคลึงบริเวณหูอย่างในคลิปที่แชร์กันนั้น สามารถช่วยแก้อาการหู้อื้อ ลมออกหู หรือได้ยินไม่ค่อยชัดได้ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปวดหัวอย่างที่แชร์กัน” อันดับที่ 3 : คลิปนวดแก้ตาพร่ามัว ไมเกรน ใช้ได้ จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีนวดแก้ตาพร่ามัวและไมเกรนได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผอ.สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เลือกใช้ ดูแล แบตเตอรี่ 12 โวลต์รถยนต์

9 เมษายน 2567 – ตามที่การแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า ต้องเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม มีวิธีการดูแลและตรวจเช็กความผิดปกติที่ถูกต้องอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : SLEEP TEXTING – โรคยอดฮิต ของคนติดแชต

6 เมษายน 2567 สิ่งนี้…เป็นอาการคลั่งแชต ที่เกิดจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กทุกชนิดมากเกินไป และสิ่งนี้… เสี่ยงต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ นอนหลับไม่สนิท หรือฝันร้าย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SLEEP TEXTING โรคละเมอแชต เป็นพฤติกรรมที่มีการใช้โทรศัพท์ เพื่อตอบข้อความหรือส่งข้อความไปหาผู้อื่นขณะที่กำลังนอนหลับ สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการติดโซเชียลทุกชนิด ทำให้มุ่งความสนใจไปที่เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้แทบจะทุกนาที จนกลายเป็นความวิตกกังวลต่อข้อความที่ถูกส่งมา แม้กระทั่งเวลาจะหลับก็ยังเอามือถือไปจิ้มเล่นเรื่อยเปื่อย และหลับไปพร้อมกับโทรศัพท์ที่ยังคามือหรือวางนิ่งอยู่ข้างตัว ปัญหาที่ตามมาก็คือ ร่างกายจะอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า และอาจส่งผลกระทบในการเรียนหรือการทำงาน อาจารย์แนะนำว่า การเล่นโซเชียลมีเดียควรทำแต่พอดี หากติดมากควรลองอยู่ห่างจากสมาร์ทโฟน ตัดใจปิดมือถือ ปิดเสียง หรือปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตก่อนนอน วิธีนี้จะช่วยให้ห่างไกลจากการละเมอแชต และฟื้นฟูสุขภาพการนอนหลับให้เต็มอิ่ม ตื่นเช้ามาพร้อมความสดชื่น แจ่มใส ร่างกายแข็งแรงขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ทำ IF 16/8 เสี่ยงตายจากโรคหัวใจ 91% จริงหรือ ?

5 เมษายน 2567 – จากกรณีที่มีการแชร์เตือนว่า ข่าวช็อกวงการ IF วันนี้ ผลการศึกษาพบว่า ทำ IF แบบ 16/8 เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 91% นั้น บทสรุป : ยังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่าการทำ IF เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ. ดร. พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า “การศึกษาวิจัยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเวลาการกินอาหารของพวกเขาเท่านั้น ทีมวิจัยมีการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ 2003-2018 เปรียบเทียบกับ ฐานข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต 2003-2018 ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงของ 2 ฐานข้อมูล และเป็นการสำรวจจากความทรงจำ ดังนั้นการสรุปว่าทำ IF เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 91% อาจจะเป็นการสรุปที่เกินจริง ต้องศึกษาต่อเนื่องต่อไป” สัมภาษณ์เมื่อ : 1 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เร่งออกกฎหมายยุติการผลิตรถน้ำมัน จริงหรือ?

แม้หลายหน่วยงานของสหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและตั้งข้อกำหนดด้านการปลดปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์สันดาปอย่างเง้มงวด แต่ไม่ได้มีนโยบายห้ามการผลิตรถยนต์น้ำมันในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: EU ขู่ห้ามซ่อม-ครอบครองรถน้ำมันอายุเกิน 15 ปี จริงหรือ?

เป็นระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุของ EU เพื่อบังคับการผลิตรถยนต์ให้เอื้อต่อการรีไซเคิลง่ายขึ้น ไม่มีผลต่อการใช้งานรถยนต์ ยานยนต์ที่หมดอายุของ EU ไม่ได้ประเมินจากอายุรถยนต์ แต่ประเมินจากความคุ้มค่าของการซ่อมและการนำไปใช้

ชัวร์ก่อนแชร์: ขับรถน้ำมันคันเก่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าซื้อ EV คันใหม่ จริงหรือ?

แม้การปลดปล่อยคาร์บอนจากการผลิตรถยนต์ EV คันใหม่ จะสูงกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าต่อไป แต่เมื่อเริ่มขับรถยนต์ EV นานกว่า 4 ปีหรือระยะทางมากกว่า 35,000 กิโลเมตร ปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากรถยนต์ EV จะน้อยกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าในที่สุด

1 26 27 28 29 30 120
...