ยืนยันปลา​หมอ​คาง​ดำ​ไม่ผสมข้ามสายพันธุ์กับปลานิล

อธิบดี​กรม​ประมง ​ยืนยัน ปลา​หมอ​คาง​ดำ​และ​ปลา​นิ​ลไม่ผสมข้ามสายพันธุ์​กัน​ โดยเคยทดลองเลี้ยงปลานิล ปลาหมอคางดำ และปลาหมอเทศรวมกัน เพื่อศึกษาว่า​ หากอยู่ในแหล่งอาศัยเดียวกันจะสามารถผสมข้ามสายพันธุ์หรือไม่ ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่า ไม่มีการผสมข้ามพันธุ์กัน​ แต่เพื่อความสบายใจ​ของ​เกษตรกร​ สั่งเจ้าหน้าที่​ไปเก็บ​ตัวอย่าง​เพื่อตรวจสอบทางวิชาการที่ห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธาน

สภาทนายความเตรียมฟ้องกรณี “ปลาหมอคางดำ” 2 ศาลใน 16 ส.ค.นี้

สภาทนายความเตรียมฟ้องร้องกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย โดยจะฟ้องทั้งบริษัทผู้ขออนุญาตนำเข้าและหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล ชี้จะร้องต่อศาลแพ่งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมและศาลปกครองภายในวันที่ 16 สิงหาคม

กรมประมง​ส่งปลาไทยไล่ล่าปลาหมอคางดำ

อธิบดี​กรมประมง ​เผยจะปล่อยปลาผู้ล่า​ลงสู่แหล่งน้ำ​ธรรมชาติ​ที่พบ​การ​ระบาด​ของ​ปลา​หมอ​คาง​ดำ​ โดยประเมิน​ผลอย่าง​ต่อเนื่อง​ ผลการศึกษาชี้ชัด ปลาผู้ล่ากินลูกปลาหมอคางดำได้ ช่วยควบคุมแบบชีววิธี​ ขอให้​ประชาชนมั่นใจ​

กรมประมงชี้เหตุพบปลาหมอมายัน จ.สมุทรปราการ ไม่ซ้ำรอยปลาหมอคางดำ

อธิบดี​กรม​ประมง​ระบุ​ เหตุพบปลา​หมอ​มายันในวัง​กุ้ง​ อำเภอ​บางบ่อ ​จังหวัด​สมุทรปราการ​ ไม่​แพร่กระจาย​และรุกราน​ระบบนิเวศ​ ซ้ำรอย​ปลาหมอ​คาง​ดำเนื่องจาก​ปลาหมอมายันทนทานในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้น้อยกว่าปลาหมอคางดำ​ ส่วนข้อกังวลเรื่องการผสมข้ามสายพันธุ์ของปลา 2 ชนิดนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากอยู่ต่างสกุลกัน​ แต่​สั่งสำรวจการแพร่กระจาย​แล้ว​ เหตุเป็น​ Aliean​Spicies

ซีพีเอฟแจง​ไทม์ไลน์​ปลาหมอคางดำ​ ย้ำทำตามคำแนะนำของกรมประมงทุกขั้นตอน​

ซีพีเอฟยื่นหนังสือให้ข้อมูลคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม แจงละเอียดทุกขั้นตอนการนำเข้าลูกปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว จากประเทศกานา ตั้งแต่ปลามาถึงไทยจนถึงทำลายฝังซากและส่งซากปลาให้กรมประมง ผ่านการตรวจสอบและตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

“ธรรมนัส” เล็งยกระดับแก้ปัญหาปลาหมอคางดำเป็นวาระแห่งชาติ​

สมุทรสาคร​ 22​ ก.ค. – รมว.เกษตร​ฯ​ ประชุมร่วมกับสมาคม​การประมง​ เตรียม​หารือ​นายก​รัฐมนตรี​เพื่อ​ยกระดับ​การ​แก้ไข​ปัญหา​ปลาหมอคางดำเป็น​วาระ​แห่งชาติ​ สั่งกรมประมง​หารือ​กรมบัญชีกลาง​ถึง​ระเบียบ​และ​งบประมาณ​เยียวยาเกษตร​กร​ผู้​เพาะ​เลี้ยง​สัตว์​น้ำ​ 16​ จังหวัด​ที่ได้​รับผลกระทบ​ อธิบดี​กรม​ประมง​ระบุ​ kick off รับซื้อ​ปลา​หมอ​คาง​ดำ​ 1 ส.ค. แน่นอน​ ล่าสุด​ตรวจพบแล้ว​ ครีบและชิ้น​เนื้อ​ที่เก็บจากปลาหมอคาง​ดำ​ในบ่อเพาะ​เลี้​ย​งของ​ผู้​นำเข้า​เมื่อ​ปี​ 2560 ร้อยเอก​ธ​รร​มนัส​ พรหม​เผ่า​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์​ พร้อมด้วย​นายอรรถกร​ ศิ​ร​ิลัทยากร​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์​ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง​และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดินทาง​มา​ยังจังหวัด​สมุทรสาคร​เพื่อ​ประชุมกับผู้แทนสมาคมการประมง 16 จังหวัดที่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน​ ร้อยเอก​ธ​รร​มนัส​กล่าว​ว่า​ เห็นด้วย​กับข้อเสนอของ​สมาคม​การประมง​และ​ภาคส่วนต่างๆ​ เกี่ยวกับ​ระยะการเปิด​รับ​ซื้อ​ปลา​หมอ​คาง​ดำ​ที่กิโลกรัม​ละ​ 15​ บาทว่า​ ต้อง​พิจารณา​อย่าง​รอบคอบ​ว่า​ ควรเปิดรับซื้อถึงเมื่อไรเพื่อ​ไม่​ให้​มีคนลักลอบ​เพาะเลี้ยง​เพราะหวังนำมาจำหน่าย​ ย้ำการ​เพาะเลี้ยง​และนำปลา​หมอ​คาง​ดำ​ปล่อยสู่แหล่งน้ำ​มีโทษหนัก​ทั้งปรับทั้งจำ​ แต่ขณะนี้​การกำจัด​ออกจากแหล่ง​น้ำ​เป็น​มาตรการ​เร่งด่วน​ที่ต้องดำเนินการ​ เมื่อ​กำจัดแล้วจึงเห็น​ว่า​ ควร​นำไปใช้​ประโยชน์​ทั้งเป็น​อาหาร​คน​ อาหาร​สัตว์​ ทำน้ำหนัก​ชีวภาพ​เพื่อ​เป็น​แรงจูงใจ​ให้​คนเร่งจับ​ ทั้งยัง​เป็น​การสร้าง​มูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้​ยังกำชับ​ให้​กรมประมง​พิจารณา​ความเหมาะสม​เกี่ยวกับ​การปล่อยปลาผู้​ล่าเช่น​ ปลากะพง​ ปลาอีกง​ ปลาช่อน​ เป็น​ต้น​ โดยต้องไม่กระทบต่อระบบนิเวศ​เพิ่ม​เติม​ซึ่ง​จะทำ​ให้กลายเป็น​ปัญหา​ซ้ำซ้อน ร้อยเอก​ธ​รร​มนัส​กล่าว​ว่า​ ได้​ประสานกับนายชุมพล​ แจ้งไพร​หรือ​ “เชฟชุมพล” […]

ชงยกระดับแก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ” เป็นวาระแห่งชาติ

สมุทรสาคร​ 22​ ก.ค. – สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยและสมาคมการประมง 16​ จังหวัด​ที่​พบการระบาดของ​ปลาหมอคางดำ เสนอให้รัฐบาล​ยกระดับ​การ​แก้ไข​ปัญหา​ปลาหมอคาง​ดำ​เป็น​วาระ​แห่งชาติ ​เพื่อ​ให้​หน่วยงาน​ที่​เกี่ยวข้อง​ สมาคม​การประมง​ และ​นักวิชาการ ร่วมแก้วิกฤต​ิ พร้อมเสนอให้ผ่อนผัน​ใช้​เครื่อง​มือประมงประสิทธิภาพ​สูงในการจับปลาหมอคาง​ดำ นายมงคล​ สุขเจริญ​คณา นายกสมาคม​การประมง​แห่ง​ประเทศไทย​นำสมาคม​การประมง​ 16​ จังหวัด​ที่​พบ​การ​ระบาด​ของ​ปลา​หมอ​คาง​ดำ​หรือ​ดับร้อยเอก​ธรรมนัส​ พรหม​เผ่า​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์​ รวมทั้ง​นายบัญชา​ สุข​แก้ว​ อธิบดี​กรมประมง สมาคม​การประมง​แห่งประเทศไ​ทยระบุ​ว่า​ ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำซึ่งเป็นสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นถือว่า วิกฤติมาก โดยการระบาดเกิดขึ้นมานานถึง 14 ปีเป็นภัยร้ายที่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อนตามแนวชายฝั่ง รวมถึงรุกรานเข้าไปยังแหล่งน้ำต่างๆ กินสัตว์น้ำวัยอ่อนไปจนหมด​ ดังนั้น​รัฐบาล​ต้องยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ดำเนินการโดยนายกรัฐมนตรีเป็น​ประธาน​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธาน​ อธิบดีกรมประมงเป็นเลขานุการ​เพื่อ​ให้​สามารถ​บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้ามกระทรวงได้ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจังหวัดซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย การดำเนินการดังกล่าว จะทำให้มีหน่วยงานอื่นมาสนับสนุนกรมประมง ตลอดจนจะมีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนและไม่ต่างคนต่างทำในแต่ละจังหวัด​ นอกจากนี้​กรมประมง​ต้องออกประกาศ​ผ่อนผันให้​สามารถ​ใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยการผ่อนผันกฎหมายให้ชาวประมงสามารถใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพทำการประมงได้ในแม่น้ำ ลำคลอง และชายฝั่ง จนเมื่อจำนวนปลาหมอคางดำลดลงจึงค่อยใช้เครื่องมืออื่นเก็บกวาด ตลอด​จนกำหนดให้แต่ละจังหวัดจัดทำแผนที่แหล่งน้ำสาธารณะเช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ชายฝั่งทะเล รวมถึงพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประชาชนที่มีปลาหมอคางดำระบาดอยู่ เพื่อใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเป็นระบบ รวมทั้ง​กำหนดให้ประมงจังหวัดแต่ละจังหวัดร่วมกับสมาคมประมงในพื้นที่ ประสานชาวประมงรับลงทะเบียนเรือประมง […]

วางแผนเคลื่อนย้ายเสือโคร่งดงใหญ่ออกกัดวัวชาวบ้านกลับป่าลึก

บุรีรัมย์ 19 ก.ค. – ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ เผย เร่งวางแผนเคลื่อนย้ายเสือโคร่งออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่กัดวัวชาวบ้านบาดเจ็บ ระบุไม่เคยพบเสือโคร่งในพื้นที่นี้มาก่อน โดยจะต้องย้ายกลับเข้าป่าลึก นายเผด็จ ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่ากล่าวว่า ได้รับรายงานจากนายสมส่วน รักสัตย์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ว่า มีชาวบ้านพบเสือโคร่ง บริเวณฝายปูน ต. ลำนางรอง อ. โนนดินแดง จ. บุรีรัมย์ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ และอุทยานแห่งชาติตาพระยา โดยมีราษฎรทำกิน ตามมาตรา 121 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 64 พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพื้นที่คทช. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่แจ้งให้นายอำเภอโนนดินแดงทราบ รวมถึงแจ้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านประกาศแจ้งเตือนประชาชน พร้อมจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ร่วมกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าดงพญาเย็น -เขาใหญ่และมูลนิธิฟรีแลนด์ ตรวจสอบพื้นที่ และติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า 8 ตัวเพื่อติดตามตัว ต่อมาได้รับรายงานว่า เสือโคร่งกัดวัวชาวบ้านบาดเจ็บเล็กน้อย ที่ผ่านมาไม่มีรายงานการพบเสือโคร่งบริเวณนี้มาก่อน เมื่อตรวจสอบลายจากภาพถ่ายพบว่า เป็นเสือโคร่ง รหัส “116M” […]

เตรียมจัดงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ประจำปี 2567

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ร่วมกับ 28 องค์กร จัดงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ” ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 9 – 14 สิงหาคม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2567

จับผู้ลักลอบตัดไม้พะยูงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เผยเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวน พบชายคนหนึ่งเข้ามาในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อลักลอบตัดไม้พะยูง จึงเข้าจับกุม พร้อมของกลางไม้พะยูง 4 ท่อน ส่ง สภ.ประจันตคาม ดำเนินคดี

พื้นที่เสียหายจากอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำทรุด 12,800 ไร่

กรุงเทพฯ 18 ก.ค. – GISTDA เผยภาพถ่ายจากดาวเทียม Cosmo SkyMed-2 บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ. บรบือ จ. มหาสารคาม พบพื้นที่เสียหายกว่า 12,800 ไร่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA เผยข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม Cosmo SkyMed-2 บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.50 น. จากภาพจะแสดงให้เห็นถึงพื้นทีที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำซึ่งทำนบดินทรุดตัว โดยพบพื้นที่เสียหายรวมกว่า 12,800 ไร่ ข้อมูลภาพจากดาวเทียมเหล่านี้ GISTDA จะส่งต่อให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน การติดตาม การประเมินสถานการณ์ และการฟื้นฟูความเสียหายต่อไป ทั้งนี้ GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถตรวจสอบได้ที่ https://disaster.gistda.or.th/ . […]

กำจัด “ปลาหมอคางดำ” ต้องใช้วิธีผสมผสาน

กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยการลดจำนวนปลาหมอคางดำต้องผสมผสานหลายวิธี ย้ำต้องเลือกให้เหมาะสมตามสภาพความรุนแรงของการระบาด เพื่อลดผลกระทบกับสัตว์น้ำชนิดอื่น ส่วนการวิจัยทำหมันปลากว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลา นายวีรกิจ จรเกตุ หัวหน้าสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  คณะประมง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์กล่าวว่า มาตรการการกำจัดปลาหมอคางดำจำเป็นต้องใช้หลายวิธีผสมผสานกัน อีกทั้งต้องเลือกให้เหมาะสมกับความรุนแรงของการระบาดด้วยการประเมินเป็นรายแหล่งน้ำเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์น้ำชนิดอื่นและระบบนิเวศ พร้อมกันนี้ยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงจับปลาหมอคางดำเพื่อนำมาทำทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ย่อมมีปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นติดขึ้นมาด้วย ส่วนการปล่อยปลานักล่าอย่างปลากะพง ปลากะพงไม่ได้เลือกกินเฉพาะปลาหมอคางดำ แต่กินสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการประเมินสภาพความรุนแรงของการระบาดเป็นรายแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในแหล่งน้ำเสื่อมโทรมที่ปลาหมอคางดำกินสัตว์น้ำชนิดอื่นกินจนเหลือน้อยมาก กระทั่งปลาหมอคางดำกลายเป็นชนิดพันธุ์หลักในแหล่งน้ำนั้น สามารถใช้เครื่องมือประมงประสิทธิภาพสูงจับเพื่อให้สามารถลดจำนวนได้อย่างรวดเร็ว แล้วจึงฟื้นฟูเพื่อคืนความสมดุลของระบบนิเวศ สำหรับโครงการวิจัยของกรมประมงเพื่อควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์เพื่อให้ได้ปลาที่เป็นหมันนั้น คาดว่า เป็นการนำวิธีทำหมันปลาเศรษฐกิจซึ่งมาอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้สำหรับลดการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำ การทำหมันปลาที่ทำกันอย่างกว้างขวางเช่น ในปลานิลเพื่อลดการเจริญเพศซึ่งจะทำให้ปลาเติบโตเร็ว งานวิจัยของกรมประมงเพื่อให้ได้ปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซมพิเศษที่เป็นหมัน แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติเพื่อให้ได้ลูกที่เป็นหมันจึงเป็นงานวิจัยที่เป็นไปได้ทางทฤษฎี แต่จะทำให้ประชากรปลาหมอคางดำลดลงในระดับไม่ก่อผลกระทบภายใน 3 ปีได้หรือไม่นั้น ยังไม่ชัดเจนเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่เคยมีการใช้เพื่อกำจัดสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่นมาก่อน ดังนั้นจึงต้องทำควบคู่กับวิธีอื่นๆ ในการลดจำนวนด้วย นายวีรกิจกล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยที่รุนแรงที่สุด เมื่อเทียบกับสัตว์น้ำต่างถิ่นอื่นที่เคยหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศ โดย Aliean Spicies เมื่อหลุดเข้าสู่ระบบนิเวศแล้ว เป็นไปได้ยากมากที่จะกำจัดให้หมดไปเช่น ปลาซักเกอร์ที่ยังคงพบในประเทศไทย นายวีรกิจย้ำว่า ในการกำหนดวิธีกำจัดปลาหมอคางดำไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันหมดได้ ต้องศึกษาวิจัยเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ระบบนิเวศเสียสมดุลจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซ้อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงบริบททางสังคม โดยหากมีการปล่อยปลานักล่าเช่น […]

1 13 14 15 16 17 111
...