ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ระวังมิจฉาชีพส่งที่ชาร์จแบตดูดเงินอ้างชื่อ SCB นั้น บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ อาจทำให้เข้าใจผิดและตื่นตระหนก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ SCB ยืนยัน เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังไม่เคยมีกรณีลูกค้าถูกดูดเงินจากการใช้พาวเวอร์แบงก์ สำหรับภาพที่แชร์กันนั้น เป็น Wireless Charger ซึ่งเป็นของพรีเมียมที่ธนาคารได้มอบให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ตามเงื่อนไขในช่วงของการจัดโปรโมชัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่อุปกรณ์ขโมยข้อมูลหรือดูดเงินแต่อย่างใด ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อความที่แชร์กันนั้น กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ที่จะถูกดูดเงินทันทีที่เสียบอุปกรณ์ เนื่องจากการที่เงินจะออกจากบัญชีธนาคารบนมือถือได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการอย่างน้อยคือการ กดโอนเงินออกไปเอง หรือการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่อง รวมทั้งถูกหลอกให้กดรหัส และสแกนใบหน้า ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เสียบอุปกรณ์แล้วจะดูดเงินทันที ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ มีการออกแบบระบบตัดการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อเสียบชาร์จแล้ว จะมีกล่องข้อความขึ้นมาสอบถามว่าต้องการจะเชื่อมต่อถ่ายโอนข้อมูลหรือไม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถกดตอบ ไม่ และใช้เพียงเฉพาะการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) ให้ข้อมูลกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า ไม่เคยได้รับรายงานการแจ้งความการโดนดูดเงินด้วยอุปกรณ์ชาร์จพาวเวอร์แบงก์ อย่างที่แชร์กันแต่อย่างใด  พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ยังกล่าวถึงกรณีที่เป็นข่าวที่ทำให้เข้าใจว่า โดนดูดเงิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนมิจฉาชีพปลอมจดหมายสรรพากร หลอกยืนยันตัวตน นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นจดหมายจริงของกรมสรรพากร 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาดังกล่าวเป็นเนื้อหาเดียวกับที่เผยแพร่บน เว็บไซต์ และ เพจเฟซบุ๊ก ของกรมสรรพากร โดยเป็นการประชาสัมพันธ์ช่องทางการยืนยันตัวตนเพื่อยื่นแบบเสียภาษีออนไลน์ และไม่มีองค์ประกอบที่ถือเป็นความเสี่ยงจากการปลอมแปลงของมิจฉาชีพ ทั้ง Qr code หรือ Link อย่างไรก็ตามศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้สอบถามไปยังผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีบางท่าน ก็ได้รับจดหมายเช่นเดียวกัน ดังนั้น จดหมายดังกล่าวจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่า ถูกส่งมาจากมิจฉาชีพ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้น ควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 2 มีนาคม 2567ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ข้อความที่แชร์กัน ใครที่ได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรให้ยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล ไอดี ตั้งสติอย่าทำตาม เป็นจดหมายจากมิจฉาชีพที่ทำได้เสมือนจริงว่ามาจากสรรพากร

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็น QR CODE จริง เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บนเว็บไซต์ของสำนักงานศาลปกครอง ยืนยันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของจริง โดยเป็นแบบสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง ทั้งนี้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า สำนักงานศาลปกครองได้ปิดรับแบบสำรวจฯ เนื่องจากได้จำนวนครบที่ต้องการแล้ว 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ใบสั่งจราจร  ไปรษณีย์ไทย ธนาคารกสิกรไทย 👉 สำหรับกรณีที่ “สแกนแล้ว ถูกดูดเงินในบัญชีจนหมดบัญชี” ในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอป หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ พบปลาหน้าเหมือนมนุษย์ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความว่ามีการค้นพบปลาที่มีใบหน้าเหมือนมนุษย์นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้นพบปลาชนิดดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อ 2 ก.พ. 2567 ยืนยันว่า ไม่มีรายงานการค้นพบปลาดังกล่าว และทะเลสาบที่อ้างว่าชื่อ Samsara ก็ไม่มีอยู่จริง ขณะที่ sportskeeda ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อ 22 ม.ค. 2567 ก็ยืนยันในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ หากมีการค้นพบดังกล่าว จะต้องมีการรายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่กลับไม่พบการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด และปลา Homo Piscis ที่กล่าวอ้างก็ไม่อยู่จริงแต่อย่างใด [เว็บตรวจสอบข้อเท็จจริง] https://factly.in/an-ai-generated-video-of-a-human-faced-fish-is-being-shared-as-real/https://www.sportskeeda.com/pop-culture/fact-check-is-homo-piscis-fish-real-fake-story-behind-human-faced-fish-explored ขณะที่ภาพประกอบในคลิปทั้งหมดนั้น ตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากช่อง YouTube ชื่อ Headtap Videos ซึ่งระบุคำอธิบายช่องว่าเป็น “การทดลองในด้านวิดีโอและกราฟิก” (Experiements in video and […]

พลาดท่าบอกข้อมูลโจร ทำยังไงดี ?  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

15 กุมภาพันธ์ 2567 ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้มิจฉาชีพนั้นได้แฝงตัวอยู่เกือบทุกกิจกรรมการดำเนินชีวิต คอยหลอกล่อให้เราสูญเสียทั้งเงินและข้อมูลส่วนตัว  ทั้ง โทรศัพท์มาหลอก ส่ง SMS ปลอม  Line ปลอม  เว็บไซต์ปลอม รวมถึงเพจเฟซบุ๊กปลอม  หลายครั้งที่ช่องทางเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นอย่างแยบยล จนเราไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้หลายคนพลาดท่าเสียข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินให้กับโจรออนไลน์ จนเกิดความกังวลใจว่าแบบนี้มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่ ? แล้วควรจะทำอย่างไรดี ?  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 มีคำตอบจาก พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาคลายความกังวลให้ทุกคนกันค่ะ  ถาม : รับสายมิจฉาชีพไปแล้ว ทำอย่างไรดี ? “รับสายเบอร์แปลก มีโอกาสถูกแฮกข้อมูลหรือไม่”“รับมือเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ““มิจฉาชีพโทรมาควรทำอย่างไร” พล.ต.ต.นิเวศน์ ตอบ : แจ้งเครือข่ายโทรศัพท์ให้ทราบ เพื่อปิดเบอร์นั้น หากรับสายโทรศัพท์แล้วไม่มั่นใจว่าเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ แนะนำให้วางสาย และขอเป็นฝ่ายโทรศัพท์กลับ เพราะถ้าเป็นเบอร์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จริง แน่นอนว่าเราจะสามารถโทรศัพท์กลับไปหาได้  ถาม : เผลอบอกเลขบัญชีธนาคารไปแล้ว ต้องปิดบัญชีไหม ?“การที่บอกเลขที่บัญชี และชื่อบัญชีธนาคารของเราให้คนอื่นรู้ จะมีคนสามารถโจรกรรมบัญชีเราได้ไหม”“โดนหลอกให้ส่งเลขบัญชีไปเป็นไรไหมคะ”“ส่งบัตรประชาชน เลขที่บัญชี ให้คนแปลกหน้า อันตรายไหม”  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่รับสาย ก็โดนดูดเงินหายได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า แก็งคอลล์เซ็นเตอร์ มีเทคโนโลยีใหม่ สามารถดูดเงิน โดยไม่ต้องกดลิงค์ หรือลงแอป นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด (ACIS) ได้รับการยืนยันว่า ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าว ที่เพียงแค่รับสาย แล้วจะดูดเงินออกจากบัญชีได้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ : https://www.youtube.com/live/xq2Pjs9RDDY?si=J5VQemUc56ovb3ZG ด้าน TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เผยแพร่ข้อมูลยืนยันว่า ปัจจุบันธนาคารไม่มีการใช้เสียงในการยืนยันตัวตนเพื่อโอนเงิน ดังนั้นเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงและยังไม่พบเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ระบบของธนาคารมีการป้องกันและพัฒนาการพิสูจน์ยืนยันตัวตนอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการให้ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนหน้า ควบคู่กับข้อมูลส่วนบุคคล และรวมถึงการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรม และ TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย รวมถึงธนาคารสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) ของลูกค้าทุกคน พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการธนาคาร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและประชาชน [แถลงการณ์จาก […]

โดนหลอกออนไลน์ แจ้งใครดี ฉบับปี 2567  | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

30 มกราคม 2567 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์เกี่ยวกับวิธีการแจ้งความออนไลน์ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ ฉบับปี 2567 มาดูกันว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ?  ปัจจุบันการแจ้งความออนไลน์ สามารถแจ้งความในคดีที่เกี่ยวกับการหลอกลวงที่ทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน  รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น หลอกโอนเงิน กรรโชกทรัพย์ หลอกซื้อของไม่ได้ของ และตอนนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เปลี่ยนชื่อเว็บไซต์เป็น https://thaipoliceonline.go.th แล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถแยกแยะเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการกับมิจฉาชีพออกจากกันได้ แต่ขั้นตอนการแจ้งความยังคงเหมือนเดิม (ดูขั้นตอนการแจ้งความออนไลน์ ได้ที่นี่)  หากเคยลงทะเบียนไว้กับเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เดิม สามารถใช้บัญชีเดิมในการแจ้งความออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องสมัครใหม่ ข้อดีของการแจ้งความออนไลน์ คือ ผู้เสียหายสามารถเข้าไปดูความคืบหน้าได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสถานีตำรวจ แต่อย่างไรก็ตามหากคดีมีความคืบหน้า พนักงานสอบสวนจะมีการนัดผู้เสียหายให้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวน เพื่อลงลายมือชื่อและให้รายละเอียดต่าง ๆ ต่อไป  นอกจากการแจ้งความออนไลน์แล้ว ตอนนี้ยังมีเบอร์สายด่วน 1441 ที่สามารถติดต่อแจ้งความหรือปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง ช่องทางนี้จะมีพนักงานสอบสวนกรอกข้อมูลให้ทั้งหมด โดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องดำเนินการเอง และสำหรับกรณีเร่งด่วนที่มีการโอนเงินออกไปแล้ว พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ได้ให้คำแนะนำว่า ให้ผู้เสียหายรีบโทรศัพท์ไปยังธนาคารที่เราใช้โอนเงินออกไป เพื่อยับยั้งเส้นทางการเงิน ก่อนที่มิจฉาชีพจะโอนเงินเหล่านั้นไปยังบัญชีอื่น หากดำเนินการเร็ว โอกาสที่จะยับยั้งเงินไว้ได้ทันก็สูงขึ้น ดังนั้นข้อสำคัญ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้าง สคร. ชวนดูคลิป-โหลดแอป-หลอกแจกเงินแสน

ตามที่มีการแชร์เชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการแจกเงิน 1 แสนบาท โดย สคร. นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อเป็นอุบายของมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อ สคร. ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (สคร.) ได้รับการยืนยันว่า สคร.ไม่มีการเปิดรับสมัครงาน หรือโครงการร่วมลงทุน หรือกิจกรรมไลฟ์สดดูคลิป เพื่อมอบเงิน 1 แสนบาทให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ แต่อย่างใด ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2567 สคร.ได้ออกประกาศเตือนภัย เพจเฟซบุ๊กปลอมแอบอ้างชื่อและตราสัญลักษณ์ “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ” หรือชื่อย่อ “สคร.” หรือ “SEPO” พร้อมมีลักษณะและพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น นำรูปตราสัญลักษณ์ของสคร. มาใช้เป็นโปรไฟล์ และได้สร้างโพสต์ วิดีโอ ตลอดจนแชร์ข่าวสารจากเพจจริง “เพจเฟซบุ๊กดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ รวมถึงทาง สคร. ไม่มีนโยบายติดต่อกับประชาชนชนโดยตรงเกี่ยวกับการรับสมัครงานและชวนลงทุนใด ๆ ทั้งทางโทรศัพท์ ข้อความสั้น (SMS) และแอปพลิเคชันไลน์” แถลงการณ์ระบุ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คำแนะนำใช้ไข่ขาวทาแผลไฟไหม้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำให้ใช้ไข่ขาวทาแผลไฟไหม้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่ออาจทำให้แผลมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. นพ.พรพรหม เมืองแมนผู้ช่วยคณบดี และ รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาแผลไฟไหม้ ได้รับการยืนยันว่า ไม่แนะนำให้ใช้วิธีการใช้ไข่ขาวทาแผลไฟไหม้ ตามข้อมูลที่แชร์กัน “ดูแล้วไม่แนะนำครับ เพราะความสะอาดของไข่ขาวนั้นคาดการณ์ยาก แผลมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้นครับ” ศ. นพ.พรพรหม ระบุ สำหรับข้อความดังกล่าว เมื่อสืบค้นหาต้นตอ พบว่ามีแชร์กันเป็นภาษาต่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงปี 2554 ซึ่งเว็บไซต์ Snopes.com ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยืนยันเช่นกันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่ควรใช้ไข่ขาวในการปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ เนื่องจากมีความเสี่ยงติดเชื้อ รวมถึงเชื้อซาลโมเนลลา ”In a nutshell, don’t do it, because the danger of introducing salmonella into an open wound should not be […]

ตำรวจไซเบอร์เผยเหตุเปลี่ยนที่อยู่เว็บแจ้งความออนไลน์ เป็นลงท้าย .go.th | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

4 มกราคม 2567 4 มกราคม 2567 – “ตำรวจไซเบอร์” เผยสาเหตุเปลี่ยนที่อยู่เว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เป็น .go.th เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและให้แยกเว็บไซต์จริงกับปลอมออกจากกันได้ แนะประชาชนตกเป็นผู้เสียหายโทร. 1441 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) เปิดเผยกับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า แนวคิดในการเปลี่ยนชื่อ URL หรือชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์มีนานแล้ว แต่เนื่องจากช่วงต้นได้ประชาสัมพันธ์กับประชาชนไป ทำให้ต้องใช้เวลา และการจดชื่อโดเมนเนมใหม่ที่เป็น .go.th มีกลไกในการระบุตัวตน ถ้าเป็นโดเมนเนมในประเทศไทย ที่ลงท้ายว่า .th ต้องมีการลงทะเบียนชัดเจน สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้นหากเป็นเว็บไซต์ที่ลงท้ายด้วย .th จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไปโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น เป็นนโยบายระดับรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนให้เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการเป็น .go.th ทั้งหมด และด้วยปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ปลอมเป็นหน่วยงานราชการเยอะมาก โดยเฉพาะเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ เวลาประชาชนเห็นชื่อเว็บไซต์ .com ก็จะเข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและทางตำรวจเคยประชาสัมพันธ์ แต่หากดูกลไกการลงทะเบียนชื่อเว็บไซต์จะพบว่า .com สามารถลงทะเบียนปลอมได้ ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่าอันไหนเป็นเว็บไซต์จริง เว็บไซต์ปลอม โดเมนเนมจึงมีความสำคัญมาก ทางตำรวจไซเบอร์จึงรีบเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ เป็น https://thaipoliceonline.go.th […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! เพจปลอม ชวนลงทุน อ้าง CP ALL

ตามที่มีการแชร์เพจ “ชวนลงทุน ซื้อหุ้นบริษัท CP ALL” นั้น  บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ เป็นเพจปลอม ชวนลงทุน 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ รวมถึงชวนให้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเพจเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ข้อความสั้น หรือ ไลน์ ทั้งสิ้น  บริษัท ซี พี ออลล์ มีช่องทางสื่อสารทางการ ดังนี้🔹 เว็บไซต์ : http://www.cpall.co.th/ 🔹 Facebook Official Page : https://www.facebook.com/cpall7🔹 X (twitter) : https://twitter.com/cpall_7eleven🔹 Youtube : https://www.youtube.com/user/cpallseven ⚠️ เพจหรือช่องทางอื่น ๆ ล้วนเป็นของปลอมที่สร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ พบทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: สูญ 300 ล้าน! “ดร.นิเวศน์” เล่าเคสผู้เสียหาย หลงเชื่อไลน์หลอกลงทุน

30 ธันวาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนเน้นคุณค่า หรือ วีไอ (Value Investor) ได้เขียนบทความ “เผชิญหน้าเหยื่อ” เพื่อเตือนภัยมิจฉาชีพ พร้อมทั้งย้ำว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่มีการเชิญชวนลงทุนผ่านเพจเฟซบุ๊ก ไลน์ หรือเว็บไซต์แต่อย่างใด หลังมีผู้เสียหายเดินทางมาพบ ดร. นิเวศน์ ถึงบ้าน ก่อนพบว่า ไม่ใช่ตัวจริง เสียหายกว่า 300 ล้าน ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ได้เล่าเหตุการณ์อย่างละเอียดว่า เมื่อ 2-3 วันก่อนมีคนกดออดเข้ามาพบผมที่บ้านแล้วเล่าว่าเป็นแฟนคลับและสมาชิกการลงทุนในไลน์และคุยกับผมมาตลอดเกือบทุกวัน ที่มาก็เพื่อที่จะมาพบ “ตัวจริง ๆ” เพื่อ “เติมเต็มความมั่นใจ” ว่า จะยอมจ่ายเงิน “ค่าปรับ” ให้กับหน่วยงานตลาดหุ้นของฮ่องกงจำนวนประมาณ 2 ล้านบาท เพื่อที่จะสามารถถอนเงินจากพอร์ตหุ้นตลาดฮ่องกงของตนเองที่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมามหาศาลจากเงินต้นที่ทยอยลงไปรวมกันประมาณ 5 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 300 ล้านบาทเข้าไปแล้ว เธอหรือต่อไปนี้จะเรียกว่าคุณดาว เล่าว่า ได้เข้าร่วมกลุ่มไลน์แนะนำการลงทุนของ “ดร.นิเวศน์” ซึ่งปัจจุบันที่เห็นก็มีสมาชิกประมาณ […]

1 2 3 4 5 8