ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ไม่ควรพกสมุดคู่มือจดทะเบียนฉบับจริงไว้ในรถ จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 ตามที่มีการแชร์กันว่า “ไม่ควรพกสมุดคู่มือจดทะเบียนฉบับจริงไว้ในรถยนต์ เพราะเมื่อรถถูกขโมย จะทำให้โจรสามารถนำรถไปขายได้” นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ เนื่องจากข้อความที่แชร์กันอาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรพกคู่มือฯ ฉบับจริงไว้ในรถยนต์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในเอกสารหลักฐานสำคัญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก ได้รับการยืนยันว่า ข้อความที่แชร์กันมีส่วนจริง อย่างไรก็ตามอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการโอนรถตามกฎหมายนั้นทำได้โดยง่ายเพียงแค่มีสมุดคู่มือฯ ฉบับจริง นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ระบุว่า ตามที่มีประเด็นและข้อถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์ว่าเจ้าของรถควรพกสมุดคู่มือทะเบียนรถไว้ในรถยนต์หรือไม่ และหากไม่พกสมุดคู่มือทะเบียนรถจะมีความผิดตามกฎหมายและมีค่าปรับ 2,000 บาท นั้น กรมการขนส่งทางบกในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอชี้แจงว่า การเก็บใบคู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริง ใบอนุญาตขับรถ รวมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถไว้ในรถ มีความเสี่ยงที่จะถูกมิจฉาชีพลักขโมยเอาไปกระทำการโดยมิชอบ เช่น ปลอมแปลงเพื่อสวมทะเบียน  หรือเสี่ยงที่เอกสารสำคัญดังกล่าวจะสูญหายได้เช่นกัน โดยกรมฯ แนะนำให้เจ้าของรถพกสำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ (หน้าที่ปรากฏชื่อเจ้าของรถและรายละเอียดตัวรถ) แทนฉบับจริงไว้ในรถ รวมถึงต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนและเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี (ป้ายวงกลม) ให้ถูกต้อง เห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหากถูกเรียกตรวจสอบ “ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ประชาชนมักเรียกว่าสมุดคู่มือทะเบียนรถ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้งองค์กฐิน ควรงด พับ เจาะ เย็บ ธนบัตร จริงหรือ ?

25 ตุลาคม 2566 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับตั้งองค์กฐิน ควรงด พับ เจาะ เย็บ ธนบัตร นั้น บทสรุป : เป็นข้อมูลจริง อย่างไรก็ตาม ควรแชร์คำแนะนำจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เนื้อหาตามที่แชร์นี้ ในส่วนที่เป็นคำแนะนำการงดพับธนบัตร หรือการใช้ลวดเย็บกระดาษนั้น สอดคล้องกับแนวทางเกี่ยวกับการจัดการธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ในเรื่องการใช้งานธนบัตรอย่างถูกวิธี ที่ระบุว่า “การใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี – แม้ธนบัตรจะผลิตจากกระดาษชนิดพิเศษที่ทนทานต่อการใช้งาน แต่ความเคยชินในการใช้ธนบัตรที่ไม่เหมาะสมของประชาชน เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ธนบัตรเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น เพื่อถนอมรักษาและยืดอายุการใช้งานธนบัตรให้ยาวนานขึ้น จึงขอความร่วมมือใช้ธนบัตรกันอย่างถูกวิธี “ ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการนำธนบัตรไปพับประดิษฐ์ต่าง ๆ การขีดเขียน การพับหรือกรีดเป็นรอย การประทับตรา การขยำธนบัตร และ การเย็บด้วยลวดเย็บกระดาษ สำหรับแนวทางที่แนะนำ หากจำเป็นต้องใช้ธนบัตรประกอบในพิธีหรืองานบุญต่าง ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทย แสดงภาพถ่ายตัวอย่างการใช้ธนบัตรโดยไม่มีการพับ หรือเย็บด้วยลวด วิธีการใช้ธนบัตรอย่างถูกวิธี โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ จากการสอบถามไปที่ธนาคารซึ่งมีชื่อระบุในข้อความที่แชร์กัน ได้รับการแนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถดูเนื้อหาที่เกี่ยวกับการสังเกตธนบัตรปลอมได้จากตอนอื่น ๆ ของ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือนภัย ! ร้านอาหาร รวมมุกโจรในคราบลูกค้า

24 ตุลาคม 2566 วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ได้รวบรวมกลโกงของแก๊งมิจฉาชีพในคราบลูกค้า มาเตือนภัยให้แม่ค้า พ่อค้าและเหล่าร้านอาหารระวังตัวกัน ทั้งมุกทำเนียนเป็นลูกค้าแล้วป่วย หลอกเงินค่ารักษาพยาบาล อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ยศใหญ่ หลอกเรียกเก็บค่าสถานที่ และอีกหลายกลโกง พร้อมทั้งวิธีจับไต๋มิจฉาชีพ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือน ! สั่งของผ่านไลฟ์ ระวังโจรสวมรอย ทักหา

17 ตุลาคม 2566 ขาชอปออนไลน์ต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มิจฉาชีพมีมุกใหม่ สวมรอยเป็นเพจดัง ทักหา หลอกให้โอนเงิน จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 14 ตุลาคม 2566 พบว่า การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 137,719 เรื่อง หรือคิดเป็น 40.12% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 1 โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า และตอนนี้อุบายที่คนร้ายใช้ คือ จะทักไปหาผู้เสียหายที่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้าในระหว่างการไลฟ์สดของเพจร้านค้าต่าง ๆ โดยผู้เสียหายจะพิมพ์รหัสสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ  หากผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสิทธิในการซื้อสินค้าดังกล่าว จะมีข้อความจากระบบตอบรับอัตโนมัติของเพจจริง แจ้งมายังกล่องข้อความ (Inbox) บัญชีเฟซบุ๊กของผู้เสียหาย เพื่อยืนยันคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อแจ้งรหัสการสั่งซื้อ ราคา และช่องทางการชำระเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้มิจฉาชีพได้แฝงตัวอยู่ในเพจจริงดังกล่าว เมื่อเห็นผู้เสียหายสั่งซื้อสินค้าแล้วจะฉวยโอกาสใช้เพจปลอมติดต่อไปยังบัญชีเฟซบุ๊กผู้เสียหาย โดยแอบอ้างเป็นร้านค้าจริง ส่งหมายเลขบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ที่เตรียมไว้ให้ผู้เสียหายทำการโอนเงิน เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ระมัดระวัง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เพจปลอม หลอกขายกล่องสุ่ม สุดท้ายหลอกโอนเงิน

11 ตุลาคม 2566 สายกล่องสุ่มต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มีมิจฉาชีพได้เกาะกระแสเทรนด์กล่องสุ่ม ด้วยการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมให้คล้ายกับเพจชื่อดังที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก และโพสต์ข้อความในลักษณะเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมซื้อกล่องสุ่มในราคา กล่องละประมาณ 1,000 บาท โดยอ้างว่ามีสิทธิที่จะได้รับรางวัลใหญ่ต่าง ๆ เช่น เงินสด รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ทองคำ เป็นต้น หลังจากที่ผู้เสียหายหลงเชื่อซื้อกล่องสุ่มดังกล่าวไปแล้ว มิจฉาชีพจะส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์มาแจ้งผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัลเป็นทองคำ น้ำหนัก 5 บาท แต่ผู้เสียหายจะต้องทำการโอนเงินค่าภาษี 5,000 บาท และค่าประกันทองคำ 9,900 บาท มาให้เสียก่อนถึงจะได้รับทองคำดังกล่าว นอกจากนี้มิจฉาชีพยังแจ้งว่า หากผู้เสียหายเลือกรับเป็นเงินสดแทนทองคำจะได้เงินสด จำนวน 165,000 บาท และต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอีก 12,000 บาท ผู้เสียหายบางรายหลงเชื่ออยากได้ทองคำจึงโอนไปให้มิจฉาชีพสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ขอเตือน ก่อนร่วมกิจกรรมใด ๆ ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่า เพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นของจริง รวมถึงระมัดระวังการหลงเชื่อข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ที่แจ้งว่าได้รับรางวัลหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ หากมีการให้โอนเงินไปก่อนที่จะได้รับรางวัล ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเพจปลอม ! ชวนลงทุน แอบอ้าง AIS

7 ตุลาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ภาพโฆษณา “AIS ชวนลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ รับผลตอบแทนสูง” นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อเพจปลอม แอบอ้างผู้บริหารของ AIS 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความและภาพโฆษณาดังกล่าวไม่เป็นความจริง และทางบริษัทฯ ไม่มีนโยบายและไม่มีการโฆษณา เชิญชวนการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสื่อโซเชียลต่าง ๆ ทั้ง เฟซบุ๊ก (Facebook) หรือ ไลน์ (LINE) ทั้งสิ้น 🎯อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมและจ่ายเงินซื้อโฆษณา ทำให้คนเห็นจำนวนมาก จงใจใช้ภาพโลโก้และภาพผู้บริหารของ AIS เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้คำโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทั้ง การเทรดหุ้นระยะสั้นให้ผลตอบแทนสูงและมือใหม่ก็ลงทุนได้แม้ทุนน้อย หากสนใจจะต้องติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งจะมีคนร้ายอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ จากนั้นจะหลอกล่อให้ผู้เสียหายโอนเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ 🎯ในข่าวประชาสัมพันธ์ของ AIS ระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: โจรอ้าง กสทช. ใช้ซิมผิดกฎหมาย หลอกโอนเงินเกลี้ยง

6 ตุลาคม 2566 ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ถือเป็นหนึ่งในอาชญกรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเสียหายให้กับคนจำนวนมาก มีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการหลอกลวงผู้เสียหายให้เกิดความหวาดกลัว ใช้ความไม่รู้ของผู้เสียหายเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในสังคม เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า และแจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย บัญชีธนาคารถูกอายัด หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด รวมถึงหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือและโอนเงินออกจากบัญชีของผู้เสียหายได้ และตอนนี้อุบายล่าสุดที่คนร้ายใช้ในการหลอกผู้เสียหาย คือ การแอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดกลโกงกระบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้าง กสทช. ! เริ่มต้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปหาผู้เสียหาย พร้อมบอกชื่อ นามสกุลอย่างถูกต้อง และแจ้งว่าผู้เสียหายได้เปิดใช้บริการซิมโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกล โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่า หากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถทำการแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้ เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อ ผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องทำการโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ระวังมุกใหม่ ! รับสมัครนักพากย์เสียง ที่แท้หลอกโอนเงิน

6 ตุลาคม 2566 จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 30 กันยายน 2566 พบว่า การหลอกลวงโอนเงินเพื่อหารายได้เสริมจากการทำกิจกรรม มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 44,250 เรื่อง หรือคิดเป็น 13.20% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากการหลอกลวงซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 5,425 ล้านบาท สูงเป็นลำดับที่ 3 ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด รองลงมาจากการหลอกลวงให้ลงทุน และการหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (แก๊ง Call Center) และตอนนี้หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพนำมาใช้หลอกผู้เสียหาย คือ การรับสมัครนักพากย์เสียงผ่านทางสื่อออนไลน์ โดยใช้รูปนักแสดงหญิงชื่อดังมาแอบอ้าง ทำให้มีคนหลงเชื่อและสูญเสียเงิน วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า กระบวนการของมิจฉาชีพเป็นอย่างไร สร้างเพจปลอม ยิงโฆษณา หลอกทำภารกิจและให้โอนเงินก่อน ! เริ่มจากมิจฉาชีพจะสร้างบัญชีสื่อออนไลน์ปลอม ทั้ง  Facebook Page Instagram […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : เตือนภัย ! เว็บปลอม หลอกขายของเล่น อ้าง POP MART

3 ตุลาคม 2566 กระแสข่าวการเปิดตัวร้านขายของเล่นชื่อดังจากประเทศจีน อย่าง “POPMART” ได้สร้างเสียงฮือฮาให้กับเหล่าบรรดานักสะสมชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเปิดตัวสาขาแรกในประเทศไทย และในร้านยังได้จำหน่ายสินค้าตัวพิเศษที่มีขายแค่ในประเทศไทยเท่านั้นและมีจำนวนจำกัด ทำให้นักสะสมและคนที่สนใจแห่ไปรอกันตั้งแต่คืนก่อนเปิดร้าน และในวันเปิดร้าน ได้เกิดเหตุความชุลมุนระหว่างการต่อคิวเข้าร้าน มีทั้งคนเป็นลมและล้ม  จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสนำมาสร้างเป็นมุกหลอกขายของเล่นอ้างชื่อ “POPMART” ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอม ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้ามีรูปแบบและกลวิธีการหลอกอย่างไรบ้าง สร้างเพจปลอม เล่าเรื่องราวให้น่าสนใจและยิงโฆษณา ขั้นแรก มิจฉาชีพจะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา โดยใช้ชื่อ “Frances Cannon” อ้างตัวเป็นเพจขายสินค้าออนไลน์หลายประเภท ทั้ง เครื่องใช้ภายในบ้าน ลำโพงและของเล่น และเพจนี้ได้จ่ายเงินซื้อโฆษณาเพื่อทำให้คนเห็นโพสต์อย่างกว้างขวาง  จากนั้นมิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวให้น่าติดตามและเป็นเหตุเป็นผล เพื่อหลอกล่อให้คนหลงเชื่อ จากฐานข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้า จะเปลี่ยนสถานการณ์ไปตามความสนใจของสังคม ณ ตอนนั้น เช่น ช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะอ้างว่า ต้องปิดร้านด่วน เนื่องจากขาดทุน จึงต้องนำสินค้ามาล้างสต็อก จัดโปรโมชันลดราคาที่ถูกกว่าปกติ และนำภาพสินค้าจริง มาแอบอ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สินค้าเป็นของแท้ รวมถึงกรณีล่าสุด ที่อ้างว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถ ห้ามจ่าย จริงหรือ ?

20 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือนใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถห้ามจ่าย นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ -เป็นเอกสารจริง เพื่อเตือนให้ชำระค่าปรับ ซึ่งจะไม่มีรูปรถขณะกระทำผิด  👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันผ่าน กรมประชาสัมพันธ์ ว่า รูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารจริง โดยเป็นเอกสารการแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ชำระค่าปรับ หลังจากที่มีการส่งเอกสารครั้งแรก ซึ่งจะมีภาพรถขณะกระทำผิด แล้วผู้กระทำผิดยังไม่ชำระเงินค่าปรับ “ใบสั่งที่ส่งถึงท่านครั้งแรกจะปรากฏรูป รถ ทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งในใบเตือนจะไม่มีภาพรถ โดยในใบสั่งมีสาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์” พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว 👉 อย่างไรก็ตาม การสแกน QR CODE เพื่อชำระเงินใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ […]

1 3 4 5 6 7 8