ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : เตือนภัย ! เว็บปลอม หลอกขายของเล่น อ้าง POP MART

3 ตุลาคม 2566 กระแสข่าวการเปิดตัวร้านขายของเล่นชื่อดังจากประเทศจีน อย่าง “POPMART” ได้สร้างเสียงฮือฮาให้กับเหล่าบรรดานักสะสมชาวไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเปิดตัวสาขาแรกในประเทศไทย และในร้านยังได้จำหน่ายสินค้าตัวพิเศษที่มีขายแค่ในประเทศไทยเท่านั้นและมีจำนวนจำกัด ทำให้นักสะสมและคนที่สนใจแห่ไปรอกันตั้งแต่คืนก่อนเปิดร้าน และในวันเปิดร้าน ได้เกิดเหตุความชุลมุนระหว่างการต่อคิวเข้าร้าน มีทั้งคนเป็นลมและล้ม  จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มิจฉาชีพได้ฉวยโอกาสนำมาสร้างเป็นมุกหลอกขายของเล่นอ้างชื่อ “POPMART” ผ่านเพจเฟซบุ๊กปลอม ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูกันว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้ามีรูปแบบและกลวิธีการหลอกอย่างไรบ้าง สร้างเพจปลอม เล่าเรื่องราวให้น่าสนใจและยิงโฆษณา ขั้นแรก มิจฉาชีพจะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา โดยใช้ชื่อ “Frances Cannon” อ้างตัวเป็นเพจขายสินค้าออนไลน์หลายประเภท ทั้ง เครื่องใช้ภายในบ้าน ลำโพงและของเล่น และเพจนี้ได้จ่ายเงินซื้อโฆษณาเพื่อทำให้คนเห็นโพสต์อย่างกว้างขวาง  จากนั้นมิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวให้น่าติดตามและเป็นเหตุเป็นผล เพื่อหลอกล่อให้คนหลงเชื่อ จากฐานข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เพจปลอมหลอกขายสินค้า จะเปลี่ยนสถานการณ์ไปตามความสนใจของสังคม ณ ตอนนั้น เช่น ช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะอ้างว่า ต้องปิดร้านด่วน เนื่องจากขาดทุน จึงต้องนำสินค้ามาล้างสต็อก จัดโปรโมชันลดราคาที่ถูกกว่าปกติ และนำภาพสินค้าจริง มาแอบอ้าง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า สินค้าเป็นของแท้ รวมถึงกรณีล่าสุด ที่อ้างว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถ ห้ามจ่าย จริงหรือ ?

20 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือนใบค่าปรับจราจร ไม่มีรูปรถห้ามจ่าย นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ -เป็นเอกสารจริง เพื่อเตือนให้ชำระค่าปรับ ซึ่งจะไม่มีรูปรถขณะกระทำผิด  👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันผ่าน กรมประชาสัมพันธ์ ว่า รูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารจริง โดยเป็นเอกสารการแจ้งเตือน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ชำระค่าปรับ หลังจากที่มีการส่งเอกสารครั้งแรก ซึ่งจะมีภาพรถขณะกระทำผิด แล้วผู้กระทำผิดยังไม่ชำระเงินค่าปรับ “ใบสั่งที่ส่งถึงท่านครั้งแรกจะปรากฏรูป รถ ทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งในใบเตือนจะไม่มีภาพรถ โดยในใบสั่งมีสาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์” พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าว 👉 อย่างไรก็ตาม การสแกน QR CODE เพื่อชำระเงินใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังการสแกนจ่าย QR CODE เสี่ยงโดนดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

15 กันยายน 2566 ตามที่มีการแชร์เตือน “ระวังการสแกนจ่ายซื้อของ เสี่ยงโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น  บทสรุป : ไม่จริง ❌ อย่าแชร์ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า กรณีสแกน QR CODE แล้วถูกดูดเงินหมดบัญชีในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก ซึ่ง QR CODE (Quick Response Code) เป็นเพียงรูปแบบของรหัสรูปภาพที่สามารถบรรจุข้อความ ลิงก์ ลงไปได้ ดังนั้นเพียงแค่ยกสมาร์ทโฟนขึ้นมาสแกน ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้โดยทันที แต่สำหรับการเข้าถึงบัญชีธนาคาร จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว  👉 อย่างไรก็ตาม ก่อนเปิดกล้องหรือกดสแกน QR CODE ใด ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ ว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และเมื่อสแกน ให้ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นปลายทางที่ต้องการหรือไม่ โดยเฉพาะตรวจสอบที่อยู่ URL ของเว็บไซต์ หากพบความผิดปกติ สามารถกดยกเลิก […]

ระวัง ! โจรอ้างกรมบัญชีกลางลวงอัปเดตข้อมูลดูดเงินหมดบัญชี | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

14 กันยายน 2566 วิธีหลอก : แอบอ้างกรมบัญชีกลางอุบาย : โทรศัพท์หาประชาชนเพื่อหลอกให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ Digital Pension ชักจูงให้แอดไลน์ปลอมและหลอกดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมช่องทาง : แอปพลิเคชันไลน์, เว็บไซต์ปลอม, แอปพลิเคชันปลอม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยร้ายทางไซเบอร์ นับวันจะยิ่งมีกลโกงที่แนบเนียนและใช้หลายวิธีเพื่อลวงให้เราหลงเชื่อ หนึ่งในนั้น คือ การแอบอ้างชื่อหน่วยงานราชการ อย่าง  “กรมบัญชีกลาง” โดยอ้างว่า ตอนนี้กรมบัญชีกลางมีระบบใหม่ ผู้รับเงินบำนาญต้องเข้าไปอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน หากไม่ดำเนินการ จะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งสร้างความตกใจจนทำให้หลายคนหลงเชื่อและเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨จึงได้รวบรวมกลโกงที่แอบอ้างกรมบัญชีกลาง มาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ  สารพัดกลโกงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง  คนร้ายจะโทรศัพท์และอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้เปลี่ยนเป็นระบบแบบใหม่ ชื่อว่า Digital Pension และมีนโยบายให้ผู้รับเงินบำนาญทุกคนเข้ามาอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้ง ข้อมูลส่วนตัว บัญชีเงินเดือน เบี้ยหวัดบำนาญ หรือ ติดต่อเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้แอดไลน์ปลอมและลวงให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Digital Pension และให้สแกนใบหน้า    🚨หากได้รับโทรศัพท์ในลักษณะนี้ อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังเด็กถือป้ายที่อยู่อ้างพลัดหลง เบื้องหลังคือแก๊งค้าอวัยวะ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า “ด่วน! จากกรมตำรวจ…” ให้ระวังเด็กถือกระดาษเขียนบ้านเลขที่แอบอ้างว่าพลัดหลง เพราะจะมีมิจฉาชีพรอปล้นหรือขโมยตัดอวัยวะ นั้น บทสรุป : มั่ว ❌ อย่าแชร์ เป็นข้อความข่าวลือในต่างประเทศ ที่ส่งต่อกันมาหลายปีแล้ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อความดังกล่าว พบว่ามีข้อพิรุธหลายจุด เช่น ใช้คำว่า “กรมตำรวจ” ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้น ประเทศไทย ไม่มีหน่วยงานชื่อ “กรมตำรวจ” ตั้งแต่ปี 2541 เนื่องจากเปลี่ยนเป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” และเมื่อตรวจสอบไปที่แหล่งข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ไม่เคยประกาศคำเตือนในลักษณะนี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้คำแนะนำกรณีการพบเด็กพลัดหลง ว่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อช่วยประสานงานตามหาผู้ปกครองต่อไป ด้านนายเอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ให้ความเห็นต่อข้อความดังกล่าวว่า “มันเป็นการแชร์ที่ไม่มีข้อเท็จจริงเลย เหมือนเป็นการแต่งเรื่องมาจากนักสร้างเรื่องมากกว่า เมื่อดูจากบริบทของเรื่องและลักษณะการให้ข้อมูล รวมทั้งการอ้างอิงคำว่า กรมตำรวจ ซึ่งสมัยนี้ไม่มีแล้ว จะมีแต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้น น่าจะเป็นข้อความขยะที่ส่งต่อกันมา หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย แนะนำว่า หากพบเด็กพลัดหลง สอบถามแล้วยังไม่ได้ข้อมูล สะท้อนว่าอาจจะมีประเด็นปัญหาบางประการในครอบครัว พลเมืองดีจึงควรประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนำเด็กส่งสถานีตำรวจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน

28 สิงหาคม 2566 ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับตำรวจไซเบอร์ บช.สอท. พบว่า มีมิจฉาชีพยิงโฆษณาเว็บไซต์รับแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกลวงว่าสามารถนำเงินกลับคืนมาได้ โดยการโจมตีระบบเว็บไซต์พนันออนไลน์แหล่งที่เงินผู้เสียหายถูกฟอกอยู่  เริ่มต้นจากที่มีผู้เสียหายหลายรายได้รับความเดือดร้อน จากการถูกมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ การถูกหลอกลวงให้กู้เงิน การถูกหลอกลวงให้ลงทุน หรือการถูกหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์ ผู้เสียหายจึงได้ใช้คำว่า “แจ้งความออนไลน์” เป็นคีย์เวิร์ด (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ค้นหา (Search Engine Site) ยอดนิยมต่าง ๆ เช่น Google.com, Bing.com ทำให้พบเว็บไซต์การรับแจ้งความออนไลน์ของปลอมที่มิจฉาชีพจ่ายเงินเพื่อซื้อโฆษณา ทำให้ขึ้นมาเป็นลำดับแรก ๆ ของการค้นหา เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและกดเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกให้กดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ ซึ่งแอบอ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความ จากนั้นจะหลอกถามข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียดการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวง มูลค่าความเสียหาย และขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อแพลตฟอร์ม หลักฐานการโอนเงิน ประวัติการสนทนากับมิจฉาชีพ เป็นต้น รวมถึงมีการทำหนังสือมอบอำนาจปลอมเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ โดยให้ทนายปลอมดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องแทนผู้เสียหาย โดยมีค่าดำเนินการ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! มิจฉาชีพอ้าง แจกเงินดิจิทัล 10,000

24 สิงหาคม 2566 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า ตรวจสอบพบผู้เสียหายหลายได้รับข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาแจ้งว่า “ คุณได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ ” พร้อมกับแนบลิงก์ให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ ใช้ชื่อบัญชีไลน์ว่า Thaid online โดยมิจฉาชีพจงใจตั้งให้คล้ายกับระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของกรมการปกครอง ( อ่านกลโกงมิจฉาชีพเรื่อง ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม ) ล่อกดลิงก์ แอดไลน์และหลอกโหลดแอปพลิเคชันปลอม ! เมื่อผู้เสียหายติดต่อไปยังไลน์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะหลอกลวงสอบถามข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลหรือไม่ จากนั้นจะให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10000 ” ผ่าน Play Store เมื่อทำการติดตั้งเสร็จสิ้น จะหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มจากการให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน อาชีพ และรายได้ เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ ต่อมาจะให้ทำการตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือ หรือการให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งานอยู่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์​ : ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ?

23 สิงหาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “รับทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบและอบรม รวมถึงไม่ต้องไปขนส่ง” นั้น  📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปยัง กรมการขนส่งทางบก ย้ำชัด ไม่จริง ใบขับขี่ทุกชนิด ต้องทำที่กรมการขนส่งทางบกหรือโรงเรียนที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น มีแค่การจองคิวล่วงหน้าในแอป DLT Smart Queue หรืออบรมผ่าน www.dlt-elearning.com เท่านั้นที่ทำผ่านออนไลน์ได้ อุบายของคนร้าย จะสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม ใช้โลโก้กรมการขนส่งทางบก และลงรูปหน้าม้าพร้อมใบขับขี่ สร้างความน่าเชื่อถือ พบทั้ง บริการรับทำใบขับขี่ และ เข้าอมรมต่ออายุใบขับขี่แทน หลอกเก็บเงินเหยื่อ ตั้งแต่ 1,000 – 6,000 บาท เมื่อเหยื่อหลงเชื่อโอนเงิน มิจฉาชีพจะหลอกล่อให้โอนเงินเพิ่มและเงียบหาย ไม่สามารถตามคืนได้หรืออาจได้รับใบขับขี่ปลอม ซึ่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการหรือใช้เอกสารราชการปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ จดหมายปลอมอ้างธนาคาร หลอกสแกนรับสิทธิพิเศษ นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ จดหมายจริงของธนาคารกสิกรไทย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ธนาคารกสิกรไทย ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊ก “KBank Live” ว่า จดหมายดังกล่าว เป็นของจริง โดยเป็นจดหมายเพื่อแจ้งสิทธิพิเศษของขวัญThe Wisdom Delight Gift ปี 2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่จัดส่งแบบลงทะเบียนให้ลูกค้าผู้ถือบัตรเดอะวิสดอมกสิกรไทยที่ได้รับสิทธิ์ ไม่ใช่มิจฉาชีพแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ไปรษณีย์ไทย ใบสั่งจราจร แบบสำรวจของศาลปกครอง ดังนั้นควรตรวจสอบความถูกต้องจากหน่วยงานต้นทางก่อนทุกครั้ง ก่อนส่งต่อข้อมูล 6 สิงหาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์บันทึกการแก้ไข : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม 

29 กรกฎาคม 2566 กระบวนการหลอกลวงของมิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ระบุข้อความว่า  “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความข้างต้น หากเผลอกดลิงก์ไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสร้างบัญชีปลอมและใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชันจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไลน์ปลอมจะใช้ชื่อว่า “ Thai ID ” จงใจตั้งให้คล้ายกับแอปพลิเคชันจริง “ThaID” หากไม่สังเกต อาจตกเป็นเหยื่อได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปที่ เว็บไซต์ของกรมการปกครอง ยืนยันว่า ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด และฝากเตือนประชาชนว่า ห้ามกดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ หรือให้อัพเดทข้อมูล หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว หากเหยื่อหลงเชื่อและกดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ มิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจะแกล้งสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม  2566 ตามที่มีการแชร์เตือน สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ นั้น 📌บทสรุป : ❌ ข้อมูลเก่าวนซ้ำ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ทวิตเตอร์ของ จส.100 ได้ยืนยันว่า ข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ รวมถึง สำนักการโยธาได้ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร ว่า ข้อความเตือนที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยสำนักการโยธา ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ไม่พบความผิดปกติ สะพานมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้งานได้ตามปกติ    👉  อย่างไรก็ตาม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ในปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก จส.100 มีการโพสต์รูปภาพ พร้อมข้อความระบุว่า “อันตรายไปหน่อย จุดยูเทิร์นแยกวิทยุ ถ.พระราม4 มีชิ้นส่วนสะพานไทยเบลเยี่ยมชำรุด กลัวจะหล่นลงมา”  ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามารื้อชิ้นส่วนที่ไม่ปลอดภัยออกจากพื้นที่ รวมถึงปิดซ่อมและดำเนินการปรับปรุงเรียบร้อยแล้วในปีเดียวกัน  ❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ 20 […]

1 4 5 6 7 8