ตำรวจไซเบอร์เผยเหตุเปลี่ยนที่อยู่เว็บแจ้งความออนไลน์ เป็นลงท้าย .go.th | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀

4 มกราคม 2567 4 มกราคม 2567 – “ตำรวจไซเบอร์” เผยสาเหตุเปลี่ยนที่อยู่เว็บไซต์แจ้งความออนไลน์เป็น .go.th เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและให้แยกเว็บไซต์จริงกับปลอมออกจากกันได้ แนะประชาชนตกเป็นผู้เสียหายโทร. 1441 พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (บช.สอท.) เปิดเผยกับทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า แนวคิดในการเปลี่ยนชื่อ URL หรือชื่อโดเมนเนมของเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์มีนานแล้ว แต่เนื่องจากช่วงต้นได้ประชาสัมพันธ์กับประชาชนไป ทำให้ต้องใช้เวลา และการจดชื่อโดเมนเนมใหม่ที่เป็น .go.th มีกลไกในการระบุตัวตน ถ้าเป็นโดเมนเนมในประเทศไทย ที่ลงท้ายว่า .th ต้องมีการลงทะเบียนชัดเจน สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้นหากเป็นเว็บไซต์ที่ลงท้ายด้วย .th จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไปโกงหรือหลอกลวงผู้อื่น เป็นนโยบายระดับรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนให้เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการเป็น .go.th ทั้งหมด และด้วยปัจจุบันมีเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ปลอมเป็นหน่วยงานราชการเยอะมาก โดยเฉพาะเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ เวลาประชาชนเห็นชื่อเว็บไซต์ .com ก็จะเข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือและทางตำรวจเคยประชาสัมพันธ์ แต่หากดูกลไกการลงทะเบียนชื่อเว็บไซต์จะพบว่า .com สามารถลงทะเบียนปลอมได้ ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่าอันไหนเป็นเว็บไซต์จริง เว็บไซต์ปลอม โดเมนเนมจึงมีความสำคัญมาก ทางตำรวจไซเบอร์จึงรีบเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์ เป็น https://thaipoliceonline.go.th […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! เพจปลอม ชวนลงทุน อ้าง CP ALL

ตามที่มีการแชร์เพจ “ชวนลงทุน ซื้อหุ้นบริษัท CP ALL” นั้น  บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ เป็นเพจปลอม ชวนลงทุน 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ รวมถึงชวนให้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเพจเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ข้อความสั้น หรือ ไลน์ ทั้งสิ้น  บริษัท ซี พี ออลล์ มีช่องทางสื่อสารทางการ ดังนี้🔹 เว็บไซต์ : http://www.cpall.co.th/ 🔹 Facebook Official Page : https://www.facebook.com/cpall7🔹 X (twitter) : https://twitter.com/cpall_7eleven🔹 Youtube : https://www.youtube.com/user/cpallseven ⚠️ เพจหรือช่องทางอื่น ๆ ล้วนเป็นของปลอมที่สร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ พบทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: สูญ 300 ล้าน! “ดร.นิเวศน์” เล่าเคสผู้เสียหาย หลงเชื่อไลน์หลอกลงทุน

30 ธันวาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนเน้นคุณค่า หรือ วีไอ (Value Investor) ได้เขียนบทความ “เผชิญหน้าเหยื่อ” เพื่อเตือนภัยมิจฉาชีพ พร้อมทั้งย้ำว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่มีการเชิญชวนลงทุนผ่านเพจเฟซบุ๊ก ไลน์ หรือเว็บไซต์แต่อย่างใด หลังมีผู้เสียหายเดินทางมาพบ ดร. นิเวศน์ ถึงบ้าน ก่อนพบว่า ไม่ใช่ตัวจริง เสียหายกว่า 300 ล้าน ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ได้เล่าเหตุการณ์อย่างละเอียดว่า เมื่อ 2-3 วันก่อนมีคนกดออดเข้ามาพบผมที่บ้านแล้วเล่าว่าเป็นแฟนคลับและสมาชิกการลงทุนในไลน์และคุยกับผมมาตลอดเกือบทุกวัน ที่มาก็เพื่อที่จะมาพบ “ตัวจริง ๆ” เพื่อ “เติมเต็มความมั่นใจ” ว่า จะยอมจ่ายเงิน “ค่าปรับ” ให้กับหน่วยงานตลาดหุ้นของฮ่องกงจำนวนประมาณ 2 ล้านบาท เพื่อที่จะสามารถถอนเงินจากพอร์ตหุ้นตลาดฮ่องกงของตนเองที่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมามหาศาลจากเงินต้นที่ทยอยลงไปรวมกันประมาณ 5 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 300 ล้านบาทเข้าไปแล้ว เธอหรือต่อไปนี้จะเรียกว่าคุณดาว เล่าว่า ได้เข้าร่วมกลุ่มไลน์แนะนำการลงทุนของ “ดร.นิเวศน์” ซึ่งปัจจุบันที่เห็นก็มีสมาชิกประมาณ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! สมัครงานออนไลน์ โดนหลอกเปิดบัญชีม้า

29 ธันวาคม 2566 ใครกำลังมองหางานออนไลน์ต้องระวัง ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย มีมิจฉาชีพแฝงตัวอยู่ในกลุ่มรับสมัครงาน หลอกผู้เสียหายเปิดบัญชีม้า โดยมักมีพฤติการณ์ ดังนี้ วิธีรับมือแก๊งหลอกเปิดบัญชีม้า ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมทเสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปหมูสามชั้นปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิปพร้อมคำเตือนว่า “หมูเถื่อนคือหมูจริง ๆ แต่นำเข้าผิดกฎหมาย ไม่เสียภาษีแต่ตอนนี้มี หมู 3ชั้นปลอม แล้วนะ” บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่ออาหารที่อยู่ในคลิป คือ ขนมเยลลี่ที่ทำเป็นรูปหมูสามชั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบคลิปที่แชร์มา ซึ่งเป็นคลิปที่มีข้อความภาษาจีนระบุว่า “惊人的人造肉” ซึ่งแปลได้ว่า เนื้อเทียม และ “看看制作过程吧不良商家罪该万死” แปลว่า มาดูกระบวนการผลิต ผู้ค้าที่แย่ ๆ สมควรตายจากการก่ออาชญากรรมนี้” ตรวจสอบต้นฉบับพบว่าโพสต์โดยผู้ใช้แอป 快手 รหัส 1580974446 สืบหาต้นตอ🔍 เมื่อนำวิดีโอในคลิปไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาต้นตอ พบว่ามีเบาะแสที่สำคัญ คือ ภาพการติดฉลาก ในช่วงนาทีที่ 02.26 และเมื่อนำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบค้นหาภาพกับเว็บ Baidu ก็พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีฉลากเป็นภาษาเกาหลี เขียนว่า 디담 삼겹살 모양 젤리 หรือ DIDAM PORK BELLY JELLY [ https://graph.baidu.com/s?card_key=&entrance=GENERAL&extUiData%5BisLogoShow%5D=1&f=all&isLogoShow=1&session_id=15932161682953549650&sign=126919df67580cf37f03901703131463&tpl_from=pc […]

ชัวร์​ก่อนแชร์ : อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เสี่ยงดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “อย่ารับสายเบอร์โทรศัพท์ 082-810-3575 เพราะอาจโดนดูดเงินหมดบัญชี” นั้น บทสรุป : ต้องตระหนักและระวัง แต่ไม่ได้รุนแรงฉับพลันตามที่แชร์กัน ทั้งนี้ โดยทั่วไปเพียงแค่รับสายโทรศัพท์ ไม่สามารถทำให้เงินหายออกจากบัญชีได้ แต่หากรับสายแล้วหลงกลคำพูดของมิจฉาชีพ แล้วยอมทำตาม เช่น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมหรือกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับเบอร์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า มีรายงานข่าวเตือนว่าเป็นเบอร์โทรที่คนร้ายใช้โทรศัพท์ไปหาคนจำนวนมาก ในช่วงเดือนเมษายน 2566 และเบอร์เดิมกลับมาเป็นข่าวอีกครั้งในเดือนธันวาคม 2566 ข่าวระบุว่า เบอร์ดังกล่าว มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง หลอกลวงให้ผู้เสียหายกดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขตไปแล้ว ซึ่งกระทรวงการคลัง ยืนยัน ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนเพื่อยกเลิกสิทธิ์หรือมอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้แก่บุคคลใดทั้งสิ้น แต่หากผู้เสียหายหลงเชื่อและสอบถามขั้นตอน มิจฉาชีพจะทำทีให้ความช่วยเหลือ โดยให้แอดไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตัวปลอม และจะส่งลิงก์ให้ผู้เสียหายดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเป๋าเงินหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและล็อกอินเข้าสู่ระบบ รวมถึงหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน และนำรหัสผ่านดังกล่าวไปใช้โจรกรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปได้เรื่อย ๆ และไม่จำเป็นที่ว่าผู้ใช้งานเบอร์นี้ในอนาคตจะต้องเป็นมิจฉาชีพเสมอไป เนื่องจากเบอร์อาจถูกปิดและนำกลับมาจัดสรรใหม่ คำแนะนำจาก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ จะเห็นได้ว่า การรับสายโทรศัพท์ไม่ว่าจะเป็นเลขหมายใด ๆ เพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปจึงไม่สามารถทำให้เงินหายหมดบัญชีได้ รวมทั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : สถิติเผยคนไทยโดนหลอกทางโทรศัพท์มากสุดในเอเชีย !

15 ธันวาคม 2566 Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก GASA (The Global Anti-Scam Alliance) จัดงานประชุมต่อต้านการหลอกลวงออนไลน์ครั้งแรก ของเอเชีย Anti-Scam Asia Summit (ASAS) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน เผยแพร่รายงานที่น่าเป็นห่วงว่าคนเอเชียส่วนใหญ่ มีความมั่นใจเกินไป ว่ารู้ทันกลโกงออนไลน์ สวนทางกับแนวทางที่มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ทำให้การหลอกลวงมีความแยบยลและยากต่อการสังเกต โดยคนเอเชียมากกว่าครึ่งต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในขณะที่คนไทยยังถูกหลอก ทางโทรศัพท์มากที่สุดในเอเชีย ผ่านทางเฟซบุ๊ก ไลน์ และอีเมล มากที่สุด  รายงาน Asia Scam Report 2023 จัดทำโดย GASA และ Gogolook เผยว่าเอเชียกำลังเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่าอาชญากร ที่มีแนวโน้มใช้เทคโนโลยี AI สร้างเครือข่ายหลอกลวงได้ง่าย รวดเร็ว และดำเนินการในต่างประเทศเพื่อให้ยากต่อการตรวจสอบ และจับกุม การประชุม ASAS จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : บริษัทตรวจ Lab Covid เตือน “เมื่อวานคืนเดียว ตรวจพบเกือบ 100 ราย” จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความ “เจ้าของบริษัทตรวจ lab เชื้อ covid แห่งหนึ่ง เตือนให้ระวังการระบาดใหญ่รอบใหม่ คืนเดียวพบเชื้อเกือบ 100 ราย” หืม… ชัวร์เหรอ ? 📌 บทสรุป : ❌เก่า ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความนี้เป็นข้อความเก่าที่เคยแชร์กันมาก่อน โดยมีข้อมูลที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้รับข้อความนี้ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2564 อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 ยังคงเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังและความรุนแรงหากผู้ติดเชื้อมีสุขภาพไม่ดีหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ วิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงยังคงไม่แตกต่างจากเดิม เช่น การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ อยู่เสมอ 29 พฤศจิกายน 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ ข้อความที่แชร์กัน เรียนพี่ๆ น้องๆคะ เมื่อเช้านี้ อาจารย์รุ่นน้องที่เป็นเจ้าของบริษัทตรวจ lab covid แห่งหนึ่ง เตือนมาแต่เช้าค่ะ ว่าระบาดรอบนี้ใหญ่มากเมื่อวานคืนเดียว แลบ แค่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 :  Thai Daily ลวงอ่านข่าว ตุ๋นเงินกว่า 4 ล้าน !

28 พฤศจิกายน 2566 หน้าบ้าน คือ แอปพลิเคชันอ่านข่าว หลังบ้าน คือ ขบวนการตุ๋นเงิน ! “Thai Daily” แอปพลิเคชันที่อ้างว่าสามารถหารายได้พิเศษจากการอ่านข่าว เพียงทำภารกิจในแอปพลิเคชันให้สำเร็จ ผู้ใช้จะได้รับเหรียญและสามารถแลกเป็นเงินได้ ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวเปิดให้ดาวน์โหลดทั้งทาง Play Store และ App Store โดยกลโกงของแอปพลิเคชันนี้ คือ ฉากหน้าเป็นแอปพลิเคชันสำหรับอ่านข่าวทั่วไป แต่กลับฉาบไว้ด้วยกลโกงชวนลงทุนทำภารกิจออนไลน์ อ้างได้ผลตอบแทนดี ใช้เวลาไม่นาน แต่ท้ายที่สุดหลอกเงินผู้เสียหายหลายรายสูงถึง 4 ล้านบาท ตีแผ่กลโกง แผนการขั้นที่ 1 : ยิงโฆษณาให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Thai Daily มิจฉาชีพเริ่มจากการจ่ายเงินซื้อโฆษณาตามสื่อโซเชียลจนมีผู้ติดตามหลักแสน โดยจะขึ้นเป็นพอปอัป (Pop-Up) กับวิดีโอที่ดูผ่าน Youtube เพจและกลุ่มประกาศหางานออนไลน์ใน Facebook สุ่มส่ง SMS รวมถึง ลิงก์ทางไลน์ โดยเชิญชวนให้ทำงานด้วยการอ่านข่าวออนไลน์ อ้างงานง่ายให้ผลตอบแทนดี แผนการขั้นที่ 2 : ลวงเข้ากลุ่มไลน์ Open […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ตำรวจเตือน ! ระวังลิงก์ปลอม ลอยกระทงออนไลน์

27 พฤศจิกายน 2566 🚨 3 คำเตือนจากตำรวจไซเบอร์ ลอยกระทงออนไลน์ต้องใช้ความระมัดระวัง ! 1. หลีกเลี่ยงการกดลิงก์ให้ลอยกระทงออนไลน์จาก SMS หรืออีเมล โดยไม่รู้แหล่งที่มาที่ไป เนื่องจากอาจจะเป็นคนร้ายหลอก phishing ข้อมูลในอุปกรณ์ของเรา 2. หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ลอยกระทงออนไลน์ ที่ต้องให้เรากรอกข้อมูลส่วนบุคคล รหัส OTP หรือ สแกนใบหน้า 3. เลือกลอยกระทงกับเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น หากใครอยากลอยกระทงออนไลน์ แต่ไม่รู้จะลอยเว็บไซต์ไหนดี ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รวบรวม 6 พิกัดเว็บไซต์ลอยกระทงออนไลน์แบบปลอดภัยมาฝากทุกคนกันค่ะ 1. กรุงเทพมหานคร ครั้งแรกกับการลอยกระทงออนไลน์ในคลองโอ่งอ่าง ! ใครสนใจสามารถลงทะเบียนเพียงไม่กี่ขั้นตอน รับรองว่ากระทงดิจิทัลทุกใบจะลอยอยู่บนผิวน้ำคลองโอ่งอ่างแน่นอน ลงทะเบียน > https://loykratong-ongang.web.app 2. กระทรวงวัฒนธรรม ส่งการ์ดอวยพรวันลอยกระทงไปกับกระทรวงวัฒนธรรม โดยเราสามารถเลือกการ์ดและเขียนคำอวยพรได้ตามสไตล์ของตัวเอง พร้อมส่งให้คนที่เรารักได้เลยทันที หรือจะดาวน์โหลดเก็บไว้ก็ได้เหมือนกันนะ สร้างการ์ดอวยพร > https://ecard.m-culture.go.th 3. Map Longdo  หากเบื่อการลอยกระทงออนไลน์แบบเดิม ๆ […]

 ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง SMS โจร ตีเนียนเป็นขนส่ง !

24 พฤศจิกายน 2566 วิธีหลอก : แอบอ้างเป็นบริษัทขนส่ง Flash Expressอุบาย : ส่ง SMS แนบลิงก์ ลวงแอดไลน์ปลอมช่องทาง : SMS, แอปพลิเคชันไลน์, แอปพลิเคชันปลอม หนึ่งในกลโกงที่มิจฉาชีพชอบใช้มาลวงหลอกอยู่เสมอ คือ การแอบอ้างเป็นบริษัทต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง และตอนนี้บริษัทขนส่งอย่าง แฟลช เอ็กซ์เพรส (Flash Express) ก็โดนอ้างชื่อเช่นเดียวกัน โดยอุบายที่โจรออนไลน์ใช้ เริ่มต้นจากการส่งข้อความสั้น (SMS) หลากหลายรูปแบบ ทั้ง แจ้งว่าพัสดุเสียหาย ให้ทำการยื่นเคลม อ้างว่าติดต่อผู้รับไม่ได้ ต้องยืนยันพัสดุและท่านเป็นผู้โชคดีได้รับของสมนาคุณ พร้อมทั้งแนบลิงก์หลอกให้แอดไลน์ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ตัวปลอมที่จะทำทีช่วยเหลือ สอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และหลอกล่อให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม หรือแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์ได้จากระยะไกล (Remote Desktop) ซึ่งมิจฉาชีพจะสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน เสี่ยงต่อการโดนโจรกรรมทั้งเงินและข้อมูลส่วนตัว ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ทางบริษัทฯ ได้ยืนยันผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Flash […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : ใครใช้อยู่ เปลี่ยนด่วน ! 123456 รหัสผ่านที่คนใช้มากที่สุดในโลก

18 พฤศจิกายน 2566 “รหัสผ่านที่เดาง่าย ก็เหมือนบ้านที่ไม่ได้ล็อก” Tomas Smalakys ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของ NordPass บริษัทแอปพลิเคชันสำหรับจัดการรหัสผ่าน คำพูดนี้คงจะไม่เกินจริง โดยเฉพาะยุคดิจิทัล ที่เราต่างก็มีบัญชีในโลกออนไลน์มากมาย รวมถึงบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน แอปพลิเคชันธนาคารต่าง ๆ ในทุกปีบริษัท NordPass จะ เปิดผลการศึกษารหัสผ่านที่คนทั่วโลกชอบใช้ และในปี 2023 ทางบริษัทฯ ยังได้สำรวจเพิ่มเติมว่ารหัสผ่านที่ชาวเน็ตใช้กับบริการต่าง ๆ นั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปสำรวจกันให้แน่ใจว่าประตูบ้านดิจิทัลของเรานั้นปลอดภัยหรือไม่ และหากใครยังใช้รหัสผ่านเหล่านี้อยู่ รีบเปลี่ยนด่วน ก่อนจะโดนโจรขึ้นบ้านไม่รู้ตัว 20 รหัสผ่านที่คนไทยชอบใช้มากที่สุด ! 1. 1234562. Aa1234563. admin4. 123456785. 1234567896. password7. Ar1234558. aa1234569. 1234510. 123456Za11. 123456789za12. Aa11223313. P@ssw0rd14. 123456789015. 123456za16. UNKNOWN17. […]

1 2 3 4 5 6 8