ชัวร์ก่อนแชร์ : จีนประกาศน้ำอัดลมดัง เป็นน้ำยาชำระสิ่งปฏิกูล จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ จีนประกาศ Coca-Cola ไม่ใช่เครื่องดื่มสำหรับบริโภค แต่เป็นน้ำยาชำระสิ่งปฏิกูล นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factcrescendo ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยพบว่า บทความที่แชร์กัน มาจากเว็บไซต์ของรัสเซีย Panorama.pub ที่มีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า  “Coca-Cola จะขายเป็นน้ำยาทำความสะอาดท่อในจีน” ในปี 2561 โดยเนื้อหาของบทความมีความคล้ายคลึงกับข้อความที่แชร์กันในปัจจุบัน เว็บไซต์ Panorama.pub เป็นที่รู้จักในฐานะเว็บไซต์บทความเสียดสี รวมถึงในตอนท้ายของบทความ ยังมีป้ายกำกับระบุว่า  “ข้อความทั้งหมดในเว็บไซต์นี้เป็นการล้อเลียนและไม่ใช่ข่าวจริง ด้านบริษัท Coca-Cola เคยออกมายืนยันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า  เครื่องดื่มโค้กมีปริมาณกรดที่ปลอดภัยต่อการดื่ม เช่นเดียวกับอาหารและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ซึ่งกรดในอาหารและเครื่องดื่ม ไม่เข้มข้นมากพอที่จะทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย และกรดในกระเพาะอาหารตามธรรมชาติ มีความเป็นกรดมากกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมอีกด้วย  นอกจากนั้นยังพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง Snopes ได้ตรวจสอบบทความเกี่ยวกับเครื่องดื่มน้ำอัดลมในหลายประเด็น อาทิ  Coca-Cola  จะทำให้ลิ้นเสียการรับรส (ไม่จริง)  Coca-Cola  ป้องกันการตั้งครรค์ได้ (ไม่จริง)  Coca-Cola […]

เก็ง 5 มุกมิจจี้ ดิจิทัลวอลเล็ต | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

30 กรกฎาคม 2567 คุณคิดว่า “มิจฉาชีพ” หรือแบบที่หลายคนเรียกว่า “มิจจี้” จะฉวยโอกาสนำ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต มาหลอกลวงเรากันอย่างไรบ้าง ? วันนี้ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รวบรวม 5 มุกมิจฉาชีพที่อาจมาพร้อมดิจิทัลวอลเล็ตมาเตือนภัย เพื่อให้ทุกคนสามารถลงทะเบียนได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น  หนึ่งในกลลวงที่อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ คาดว่ามาแน่ คือ แอปพลิเคชันปลอม ที่ตั้งชื่อคล้าย โลโก้เหมือน มีตัวอย่างให้เห็นมาหลายเคส ทั้ง แอปพลิเคชันเป๋าตัง ไทยชนะ หมอพร้อม ที่ต่างก็เคยโดนมิจฉาชีพปลอมมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งแอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้ อาจมีการเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเรา หรือเรียกเก็บค่าบริการแอปพลิเคชัน ทำยังไง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแอปผี ? ก่อนจะดาวน์โหลด ต้องเช็กให้ชัวร์ ว่าเป็นแอปพลิเคชันจริงหรือไม่ ของจริงต้องชื่อ “ทางรัฐ” เท่านั้น เป็นต้องเป็นแอปทางรัฐแท้ที่มาจาก App store (iOS) หรือ Play Store (Android)  สำหรับคนที่เข้าไปค้นคำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ เสี่ยงระเบิดได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าไปในลิฟต์ เพราะประจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก จนระเบิดได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น ที่เขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ในปี 2564 ส่วนสาเหตุการระเบิด ไม่ได้เกิดจากการนำแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์แต่อย่างใด เนื่องจากแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ได้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง จึงไม่สามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเฉพาะในระหว่างการชาร์จหรือการคายประจุเท่านั้น ดังนั้น การระเบิดอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดัดแปลงแบตเตอรี่ หรือมีความร้อนสูงเกินไป นอกจากนั้น ยังพบรายงานเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ที่ประเทศสิงคโปร์ จากการสืบสวน เจ้าหน้าที่ระบุว่า เกิดจากการดัดแปลงแบตเตอรี่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระเบิด ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าอาจลุกไหม้ได้ หากความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในการผลิต การใช้งานผิดวิธี ความเสียหายจากภายนอก ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้เกิดการระเบิดภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปวิดีโอนั้น ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ อ้างอิง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ​! SMS โจร อ้างปตท. เติมน้ำมัน 200 ฟรี 200

24 กรกฎาคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก OR Official ประกาศเตือนภัย SMS ปลอม หลอกลงทะเบียน แอบอ้างชื่อ ปตท. เติมน้ำมัน 200 ฟรี 200  ตามที่พบว่ามีการนำเสนอโปรโมชั่นเติมน้ำมัน 200 ฟรี 200 บาท ผ่านข้อความ SMS และให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อรับสิทธิ์ โดยมีการใช้ชื่อ ปตท. นั้น OR ในฐานะบริษัทในเครือ ปตท. และเป็นผู้บริหารแบรนด์สถานีบริการ PTT Station ขอชี้แจงว่า OR ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้จัดทำการประชาสัมพันธ์ และไม่ได้จัดกิจกรรมทางการตลาดนี้แต่อย่างใด ขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร และติดตามข้อมูลการประชาสัมพันธ์โปรโมชั่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำมันได้จากช่องทางหลัก ทาง Facebook PTT Station (https://www.facebook.com/pttstationofficial) หรือเว็บไซต์หลัก OR (https://www.pttor.com/th/news/promotion) เท่านั้น หากพบเห็นข้อความ หรือทราบเบาะแสการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว กรุณาแจ้งมาที่ Facebook Page : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : พบแมวน้ำหน้าวัว จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความ เจอแมวน้ำหน้าวัว นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเป็นภาพที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ (เอไอ-ปัญญาประดิษฐ์) และไม่เคยมีหลักฐานการค้บพบสัตว์ดังกล่าว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า สัตว์ชนิดดังกล่าวไม่มีอยู่จริง และถูกสร้างขึ้นโดย AIขณะที่ Newschecker ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567 ก็ยืนยันในทางเดียวกันรวมถึงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้นำคลิปวิดีโอดังกล่าวไปตรวจสอบกับเว็บไซต์ตรวจจับภาพ AI อย่าง Deepfakedetector มีการแจ้งผลว่า “มีโอกาสสูงที่สร้างขึ้นโดย AI” เมื่อตรวจสอบย้อนรอยภาพ พบว่า มาจากบัญชี Tiktok ชื่อ King.fren ที่มักโพสต์คลิปสัตว์ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ปลาหหน้าหมู ปลาหน้าเสือ สุนัขหน้าไก่ โดย Newschecker ได้นำคลิปวิดีโอดังกล่าวไปตรวจสอบเพิ่มเติมกับหน่วยงาน Deepfakes (DAU) ของ The Misinformation Combat […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : ระวัง ! ตั้งโอนล่วงหน้า มุกใหม่โจรออนไลน์

25 มิถุนายน 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนภัยพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าที่ทำธุรกรรมโอนเงินออนไลน์ ช่วงนี้มีมิจฉาชีพมาใหม่ “หลอกโอนเงินโดยใช้วิธีตั้งโอนล่วงหน้า” โดยมีวิธีการดังนี้ 1.เลือกร้านค้าที่มีผู้ขายเป็นคนสูงวัย และตั้งสลิปเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อลวงให้อ่านเข้าใจยากมากขึ้น 2.หลอกว่าโอนเงิน ชำระค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว และมีการโชว์สลิปให้เห็นการโอน แต่จะใช้อุบายเลื่อนสลิปปกปิดไม่ให้เห็นคำว่าตั้งเวลาโอนเป็นเวลาในอนาคต (Scheduled Fund Transfer Succesful) ทำให้เข้าใจผิดว่าโอนสำเร็จ แต่ความจริงเงินยังไม่เข้าบัญชี (ซึ่งมิจฉาชีพจะทำการยกเลิกการโอนภายหลัง) ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอแนะนำวิธีการสังเกตหากมีการโอนผ่านธนาคาร และมีสลิปการโอน ดังนี้-เลื่อนดูสลิปทั้งใบ ถ้าหากโอนสำเร็จ จะมีคำว่า ”โอนเงินสำเร็จ (Transfer Successful)”-ตั้งค่าเตือนเพื่อแจ้งยอดเงินเข้าในระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าชำระเงินเข้าบัญชีแล้วจริงๆ หากพบธุรกรรมต้องสงสัย หรือผิดปกติ หรือต้องการแจ้งความ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนศูนย์ AOC 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! SMS โจร อ้างชื่อ Line หลอกกดลิงก์ ล็อกอินเข้าบัญชี

18 มิถุนายน 2567 เพจเฟซบุ๊กไลน์ประเทศไทย (LINE Thailand – Official) ประกาศเตือนผู้ใช้งาน LINE ระวัง SMS ปลอม แอบอ้างชื่อ LINEแจ้งให้ผู้ใช้งานล็อกอินเข้าบัญชี LINE เพื่อรักษาสถานะการใช้งาน โดยให้คลิกลิงก์แปลกปลอม ที่นำไปสู่การให้ล็อกอินเข้าบัญชี LINE บนหน้าเว็บเบราเซอร์  จึงใคร่ขอเตือนผู้ใช้ LINE โปรดพิจารณาข้อความโดยละเอียดและระมัดระวังในการคลิกลิงก์เหล่านั้นหากพบข้อสงสัย กรุณาติดต่อ contact-cc.line.me

โจรปลอมเอกสาร AIS อ้างยกเลิกเบอร์ พัวพันกับเว็บพนัน l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

17 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊ก AIS ประกาศเตือนระวังมิจฉาชีพปลอมแปลงเอกสารบริษัท ยืนยัน ! ไม่มีนโยบายแจ้งการดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายทุกรูปแบบ ในทุกช่องทาง จากกรณีที่ลูกค้าได้รับเอกสารแจ้งเตือนการยกเลิกสัญญา เนื่องจากมีการกล่าวอ้างว่าหมายเลขดังกล่าวได้การเข้าไปพัวพันกับการพนันออนไลน์และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และจะถูกระงับการใช้งานภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีการแอบอ้างโดยใช้แบบฟอร์มและลงนามโดยผู้บริหารจาก AIS ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ลูกค้า นั้น AIS จึงขอแจ้งเตือนลูกค้า และประชาชน อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเอกสาร หรือ ข้อความที่ส่งต่อ โดยขอยืนยันว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการส่งเอกสาร หรือ ข้อความในทุกช่องทาง ให้ดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับเลขหมายในทุกรูปแบบ รวมถึงจะไม่มีการทัก หรือ ติดต่อลูกค้าไปในทุกช่องทางเช่นกัน ดังนั้นหากพบเจอ เอกสาร หรือ ข้อความ ในลักษณะดังกล่าว สามารถแจ้งมาได้ที่ AIS Spam Report Center 1185 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ระวัง ! เพจปลอมอ้างธนาคารกรุงเทพหลอกปล่อยสินเชื่อ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กของธนาคารกรุงเทพ ประกาศเตือนเพจเฟซบุ๊กปลอมและโฆษณาปลอม แอบอ้างเป็นธนาคารกรุงเทพ โดยใช้โลโก้ธนาคารและตั้งชื่อเพจให้คล้ายกับชื่อธนาคารหรือสื่อถึงธนาคาร หลอกปล่อยสินเชื่อ ชี้จุดสังเกตเพจเฟซบุ๊กของแท้ ต้องใช้ชื่อ “Bangkok Bank” สะกดถูกต้องทุกตัวอักษร และมีเครื่องหมายถูกสีฟ้าต่อท้ายชื่อเท่านั้น ธนาคารกรุงเทพ เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุเพื่อผู้ประสบภัยทางการเงินที่ได้รับผลกระทบจากมิจฉาชีพ ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหายหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ โทร 1333 หรือ 02-645-5555 กด *3 ตลอด 24 ชั่วโมง ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

เตือนภัย ! เว็บไซต์ปลอมแอบอ้าง UOB หลอกจ่ายบิลบัตรเครดิต  l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

15 พฤษภาคม 2567 เพจเฟซบุ๊กธนาคาร UOB ประกาศเตือนภัยเว็บไซต์ปลอม สร้าง QR CODE สำหรับชำระเงินบิลค่าบัตรเครดิต Citi และ UOB โดยเว็บไซต์ของจริง ต้องชื่อ www.uob.co.th เท่านั้น และไลน์ Official @UOBThai เท่านั้น  สำหรับลูกค้าธนาคาร UOB ที่ได้รับผลกระทบหรือต้องการแจ้งเหตุหลอกลวงทางการเงิน สามารถแจ้งได้ที่เบอร์สายด่วน 02 344 9555 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง  ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมทเสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 2 พ.ค. 67 วันรหัสผ่านโลก ! รหัสผ่านของคุณปลอดภัยแล้วหรือยัง ?

ทุกวันนี้พาสเวิร์ดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่การล็อกอินเข้าโซเซียลมีเดีย ช็อปปิ้งออนไลน์ ดูหนังผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิง โอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทางดิจิทัลอีกหลายอย่าง ล้วนต้องใช้พาสเวิร์ดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นการตั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดที่รัดกุมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่รู้หรือไม่ว่า รหัสผ่านที่คนใช้มากที่สุดในโลก และครองแชมป์ติดต่อกันหลายปี กลับเป็นตัวเลขเรียงต่อกัน อย่าง 123456 ซึ่งเป็นรหัสผ่านที่ทั้งจดจำง่ายและแฮกได้ภายในไม่ถึง 1 นาที ทำให้วันรหัสผ่านโลก ถือกำเนิดขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม และวันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate จะพาทุกคนไปรู้จักกับที่มาของวันพาสเวิร์ดโลกกันค่ะ จุดเริ่มต้นของวันพาสเวิร์ดโลก  วันพาสเวิร์ดโลก (World Password Day) เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2556 โดยบริษัท Intel จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคม ในปีนี้ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เพื่อเน้นย้ำให้ทุกคนเห็นความสำคัญในการตั้งค่ารหัสผ่านที่ปลอดภัย เนื่องจากปัญหาภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลบัญชีรั่วไหล หรือการโดนแฮกบัญชีออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จากรายงานของบริษัท NordPass (2023) เผยให้เห็นว่า  86% ของการโจมตีทางโลกไซเบอร์ได้มาจากข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยมา โดยมีทั้ง บัญชีธนาคารออนไลน์ อีเมล และรหัสผ่าน ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายบ่อยที่สุดบน Dark Web […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังอย่าเปิดภาพถ่ายแผ่นดินไหว จะโดนแฮกโทรศัพท์ใน 10 วินาที จริงหรือ ?

บทสรุป : ❌ ข้อความนี้เป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหาย ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกันในหลายเวอร์ชัน และไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหายแต่อย่างใด โดยเมื่อนำข้อความที่แชร์กัน ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตรวจเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ  ทั้ง News Checker Africa Check  และ NBC News  พบว่า มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่พบหลักฐานว่ามีการแฮกในลักษณะดังกล่าว โดยปกติแล้วการรับส่งภาพ GIF หรือคลิปวิดีโอที่มองเห็นได้ทันที ผ่านทาง Line, Whatsapp, Facebook ไม่มีความเสี่ยงจากไวรัส แต่ที่มีความเสี่ยงไวรัส ฟิชชิง คือ ไฟล์ที่ไม่ใช่ภาพหรือคลิป เช่น .doc .pdf .exe มักส่งมากับอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชัน โดยไม่มีที่มาที่ไป รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องกดเข้าไปดูอีกที อาจมีการหลอกให้ดีใจ ตกใจ หรือทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรพิจารณาให้แน่ใจ ก่อนกดไฟล์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  19 เมษายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย […]

1 2 3 4 8