ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม 

29 กรกฎาคม 2566 กระบวนการหลอกลวงของมิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ระบุข้อความว่า  “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความข้างต้น หากเผลอกดลิงก์ไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสร้างบัญชีปลอมและใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชันจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไลน์ปลอมจะใช้ชื่อว่า “ Thai ID ” จงใจตั้งให้คล้ายกับแอปพลิเคชันจริง “ThaID” หากไม่สังเกต อาจตกเป็นเหยื่อได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปที่ เว็บไซต์ของกรมการปกครอง ยืนยันว่า ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด และฝากเตือนประชาชนว่า ห้ามกดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ หรือให้อัพเดทข้อมูล หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว หากเหยื่อหลงเชื่อและกดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ มิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจะแกล้งสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม  2566 ตามที่มีการแชร์เตือน สะพานไทย-เบลเยี่ยมแอ่น งดใช้ นั้น 📌บทสรุป : ❌ ข้อมูลเก่าวนซ้ำ ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ทวิตเตอร์ของ จส.100 ได้ยืนยันว่า ข้อความดังกล่าว เป็นข้อมูลเก่า ไม่ควรแชร์ต่อ รวมถึง สำนักการโยธาได้ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กกรุงเทพมหานคร ว่า ข้อความเตือนที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยสำนักการโยธา ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ไม่พบความผิดปกติ สะพานมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถใช้งานได้ตามปกติ    👉  อย่างไรก็ตาม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ในปี 2562 เพจเฟซบุ๊ก จส.100 มีการโพสต์รูปภาพ พร้อมข้อความระบุว่า “อันตรายไปหน่อย จุดยูเทิร์นแยกวิทยุ ถ.พระราม4 มีชิ้นส่วนสะพานไทยเบลเยี่ยมชำรุด กลัวจะหล่นลงมา”  ก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามารื้อชิ้นส่วนที่ไม่ปลอดภัยออกจากพื้นที่ รวมถึงปิดซ่อมและดำเนินการปรับปรุงเรียบร้อยแล้วในปีเดียวกัน  ❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌ 20 […]

กรมที่ดินเตือน มิจฉาชีพหลอกซื้อบ้าน-ที่ดิน หวังเงินค่าปรับ l ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

13 กรกฎาคม 2566 วิธีหลอก : ติดต่อทำทีว่าจะซื้อบ้าน-ที่ดิน วางเงินมัดจำสูง อุบาย : โทรศัพท์แจ้งผู้ขายขอยกเลิกสัญญา ให้ยึดเงินมัดจำ เมื่อถึงวันโอน มิจฉาชีพไปรอที่กรมที่ดิน ให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ ส่งผลให้ผู้ขายผิดสัญญาและถูกเรียกค่าปรับ สูงกว่าเงินมัดจำช่องทาง : โทรศัพท์ ⚠️ กรมที่ดินเตือนภัยมีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงให้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากนั้นหลอกให้ผู้ขายผิดสัญญาและหวังเงินค่าปรับจำนวนมาก ⚠️  เริ่มจากกลุ่มมิจฉาชีพจะทำการติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน และวางเงินมัดจำสูง โดยมีการระบุวันโอนขายที่ดินกันไว้ แต่ก่อนถึงวันโอนที่ดิน มิจฉาชีพจะใช้วิธีการโทรศัพท์แจ้งผู้ขาย ขอยกเลิกสัญญาซื้อขายและยอมให้ยึดเงินมัดจำ  ⚠️  เมื่อผู้ขายหลงเชื่อและไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อโอนที่ดินตามสัญญา มิจฉาชีพจะไปที่สำนักงานที่ดินและนั่งรอตั้งแต่เช้า เพื่อให้กล้องวงจรปิดบันทึกภาพ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปและพนักงานที่ดินเห็นเป็นพยาน ทำให้ผู้ขายเข้าข่ายผิดสัญญา และมิจฉาชีพจะเรียกค่าปรับตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าค่ามัดจำ  ⚠️  กรมที่ดินแนะให้ผู้ขายตรวจสอบประวัติของผู้มาติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากกลุ่มมิจฉาชีพ รวมถึงทำสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อเป็นหลักฐานเสมอ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ผู้สื่อข่าว : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์พิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความ จัดตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌  👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ข่าวจริงประเทศไทย ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่จริงแต่อย่างใด ข้อมูลชุดนี้ เริ่มแพร่กระจายในช่วง เดือนกรกฎาคม 2562 ในกลุ่มฟซบุ๊ก “คนใต้ใจเต็ม” และกลับมาส่งต่อกันอีกครั้งใน เดือน กรกฎาคม 2566 👉  ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย  จ.สงขลา ชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้1. พื้นที่ จ.สงขลา ไม่ปรากฏ ว่ามีแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดกระแสสินธุ์แต่อย่างใด โดยในห้วงที่ผ่านมามีปรากฏแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดนาทวี เท่านั้น2. อ.กระแสสินธุ์ ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นจังหวัดได้ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดเล็กและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในพื้นที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ3. ปัจจุบัน พื้นที่ อ.กระแสสินธุ์ กำลังดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเชื่อมระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามสแกน QR CODE ไปรษณีย์ไทย เงินหายหมดบัญชี จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-เอกสารที่แชร์เป็นของไปรษณีย์ไทยจริง ไม่ใช่มิจฉาชีพ-สแกน QR CODE แล้วเงินหาย มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านหลายขั้นตอน เช่น การติดตั้งแอป การกรอกข้อมูล ฯลฯ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ รูปภาพเอกสารที่แชร์กันเป็นเอกสารจริงของไปรษณีย์ไทย เขตนำจ่ายภาษีเจริญ 5 ซึ่งเป็นแผนกในสังกัดของไปรษณีย์ภาษีเจริญที่ได้ส่งใบนัดนำจ่ายไว้ที่บ้านผู้รับที่ไม่มีคนอยู่บ้านและไม่สะดวกรับ ให้สามารถติดต่อนัดหมายกับบุรุษไปรษณีย์ให้นำจ่ายพัสดุได้ใหม่อีกครั้ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันมิจฉาชีพ ไปรษณีย์ไทยได้ยกเลิกนัดหมายเวลาในการนำจ่ายใหม่ผ่านระบบ QR CODE โดยจะติดต่อผู้รับเพื่อนัดหมายนำจ่ายใหม่ผ่านโทรศัพท์ 👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันผ่าน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากรูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารของไปรษณีย์ไทยจริง จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่บ้านและไม่สามารถรับพัสดุได้ สามารถสแกน QR CODE เพื่อนัดหมายวันให้ไปส่งใหม่ได้ 👉  อย่างไรก็ตาม ข้อความและภาพดังกล่าว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : รับสายไร้เสียงพูด อย่าตอบ เสี่ยงโดนปลอมเสียง จริงหรือ ?

8 กรกฏาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความอ้างว่า อ.ช้างเตือน รับสายโทรศัพท์ที่ไม่มีเสียงพูด อย่าพูดตอบ เพราะจะโดน AI ปลอมเสียงได้ นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-อาจารย์ช้างยืนยัน ไม่ได้พูดหรือแชร์ข้อความดังกล่าว-กรณีการปลอมเสียงด้วย AI มีความเป็นไปได้ แต่ค่อนข้างยากในปัจจุบัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พ.ต.ท. ธนันวัฒน์ นีรพัฒน์ชยากุล หรือ อาจารย์ช้าง ซึ่งถูกกล่าวอ้างว่าเป็นผู้แชร์คำเตือน โดยอาจารย์ช้าง ยืนยันว่า ไม่เคยพูดหรือแชร์ข้อความดังกล่าว “มันจะเป็นไปได้อย่างไร ผมไม่เคยพูดแบบนี้มาก่อน เรื่องนี้เป็นข่าวปลอม อย่าไปหลงเชื่อ” อาจารย์ช้างกล่าว และ ย้ำเตือนประชาชนว่า “ก่อนจะแชร์อะไร ควรตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ใจ”สำหรับความเป็นไปได้ที่มิจฉาชีพจะบันทึกเสียงและใช้ AI ปลอมเสียง อาจารย์ช้างกล่าวกับชัวร์ก่อนแชร์ ว่า โดยหลักการนั้น มีความเป็นไปได้ เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมต่าง ๆ และระบบ AI ที่ทันสมัยมากขึ้น แต่ในความเป็นจริง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์คลิปหนังสั้นมูลนิธิเวชดุสิต 1 วิว = 1 บาท จริงหรือ ?

4 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการส่งต่อข้อความขอให้ช่วยแชร์คลิปหนังสั้น ที่อ้างว่าสร้างขึ้นโดย “มูลนิธิเวชดุสิต” เพื่อหาทุนช่วยเหลือการศึกษาให้เด็ก โดย 1 ยอดวิว = 1 บาท และมีเป้าหมายที่ 2 ล้านบาท นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปที่แชร์พร้อมข้อความนั้น เป็นคลิปให้กำลังใจของศิลปินคนตาบอด S2S ซึ่งทางวงดนตรีก็ได้ชี้แจงไว้แล้วว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความที่แชร์กัน [Official MV] กำลังใจ by ศิลปิน S2S ด้านมูลนิธิสถาบันดนตรีคนตาบอดและมูลนิธิเวชดุสิต ต่างยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อความและขอรับบริจาคตามที่แชร์กันแต่อย่างใด โดยที่ผ่านมาในปี 2558 ทางมูลนิธิเวชดุสิตเคยจัดทำคลิป Unlimited Dreams เพราะความฝันไม่มีวันพิการ ปีที่ 1 2558 โดย 1 วิวที่เข้าชม มูลนิธิได้ร่วมสมทบทุน 1 บาทผ่านโครงการความฝันไม่มีวันพิการ และโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้วเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี 2558 ดังนั้น จึงแนะนำว่า ❌ ข้อความที่แชร์กันไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ หากท่านใดมีความประสงค์ต้องการจะบริจาคสมทบทุนให้แก่มูลนิธิเวชดุสิตฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ?

3 กรกฎาคม 2566 ตามที่มีการแชร์ข้อความ “ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก” นั้น สรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊กของ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน ได้ออกประกาศยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับโฆษณาชวนเชื่อและไม่มีนโยบายชวนลงทุนใด ๆ ทั้งการเทรดหุ้นระยะสั้น ระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูง ผ่านสื่อออนไลน์หรือโทรศัพท์ ทั้งสิ้น 🎯 บริษัทอมตะ มีเพจเฟซบุ๊กเดียว คือ “AMATA” เท่านั้น เพจอื่น ล้วนเป็นเพจปลอมที่ถูกสร้างขึ้นโดยมิจฉาชีพ มีทั้งการแอบอ้างใช้รูปคุณวิกรม กรมดิษฐ์ สัญลักษณ์ของบริษัทอมตะ รวมถึงมีการสร้างจดหมายปลอมขึ้น ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ เกิดการเสียทรัพย์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุนทุกครั้ง 🎯 ทั้งนี้บริษัทอมตะได้รวบรวมรายชื่อเพจปลอมได้ตามลิงก์ด้านล่างรวมเพจปลอมแอบอ้างบริษัทอมตะหมายเหตุ: รายชื่อที่เพจปลอมข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น มิจฉาชีพอาจมีการปรับเปลี่ยนชื่อไปเรื่อย ๆ 3 กรกฎาคม 2566ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

สติเตือน 3 กับดักฮิตมิจฉาชีพ ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวคราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเอาเงินอยู่บ่อย ๆ ทั้งคิดค้นสารพัดวิธีมาหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล รวมถึงมีข่าวว่าเหยื่อแจ้งความว่าเสียเงินเป็นล้าน แต่ยังมีคนตกหลุมพรางมุกต่าง ๆ อยู่เสมอ  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จะมาอัปเดต 3 กลโกงท็อปฮิตของมิจฉาชีพ จากแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ จากธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ทุกคนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 1. SMS แนบลิงก์แปลก อย่าคลิก !   บางครั้งเราเห็นลิงก์แปลกที่มาพร้อมข้อความล่อใจ เช่น แจกรางวัล แจกเงิน ได้รับการอนุมัติ วงเงินจำนวนมาก แถมส่งมาจากชื่อผู้ส่งเดียวกับธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สารพัดวิธีที่ทำให้เราหลงเชื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงก์ที่แนบมา บางรายโดนหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เราได้จากระยะไกล (Remote Desktop) มิจฉาชีพสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี ดังนั้น #สติ ข้อที่ 1 คือ จำไว้ว่า ปัจจุบันธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบ แนบลิงก์แล้วนะ หากได้รับ […]

“กองทุนสื่อ” จับมือ “กรมราชทัณฑ์” เสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อก่อนพ้นโทษ

กรุงเทพฯ 7 มิ.ย. 66 –กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะการรู้เท่าทัน และเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ให้กับบุคลากรและผู้ต้องขัง ให้สามารถใช้สื่อเพื่อพัฒนาตนเองได้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ กล่าวว่า การลงนามดังกล่าว เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการฝึกอบรม เพื่อการแก้ไข และพัฒนาผู้ต้องขัง ตลอดจนสร้างการรับรู้ รวมถึงสร้างการยอมรับของภาคประชาชน สังคมภายนอก จะสามารถตอบโจทย์ข้อกังวลของสังคม ต่อการ “คืนคนดี มีคุณภาพกลับสู่สังคม” ได้ ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ กล่าวว่า ข้อตกลงนี้เป็นการเริ่มต้นสู่การสร้างความร่วมมือในการสร้างสังคม สร้างคน ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ สื่อดิจิทัล ประเภทวีดิทัศน์ ละคร สื่อการเรียนรู้ผ่านวารสาร และกิจกรรมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างการรับรู้ไปยังบุคคลภายนอก และสร้างโอกาสทางสังคมให้ผู้ต้องขังสามารถนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก ดร.อายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามแอดไลน์ @PEANext แอบอ้างการไฟฟ้า หลอกดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ห้ามแอดไลน์ @PEANext แอบอ้างการไฟฟ้า หลอกดูดเงินหมดบัญชี” นั้น  📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA พบว่า ไลน์ @PEANext  เป็นไลน์จริง แต่ใช้เฉพาะพื้นที่ภาคกลางเท่านั้น ได้แก่  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) กฟก.1– พระนครศรีอยุธยา , สระบุรี , อ่างทอง , ปทุมธานี , ปราจีนบุรี , นครนายก , สระแก้วการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) กฟก.2– ชลบุรี , ฉะเชิงเทรา , ระยอง , จันทบุรี , ตราดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 (ภาคกลาง) […]

AIS ยืนยัน 1175 เป็นเบอร์จริง แค่โทร.แจ้งบริการ ดูดเงินจากบัญชีไม่ได้ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

26 พฤษภาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า  “อย่ารับสาย เบอร์ 1175 ของ AIS เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าสู่บัญชีและเอาเงินออกทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องพูด” นั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทร.เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของเอไอเอส รวมถึงโทร.ติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น การสมัครแพ็กเกจการใช้งาน และบริการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของประชาชนได้จากการรับสาย  ดังนั้นจึงขอความกรุณาหยุดส่งต่อข้อความ ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ล่าสุด (21 กรกฎาคม 2566) มีการแชร์ข้อความเพิ่มเติมว่า มิจฉาชีพจะใช้ชื่อ .AIS 1175 โดยให้สังเกตเครื่องหมาย . ที่อยู่ข้างหน้า ทาง AIS ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง การแสดงเบอร์โทรเข้าของหมายเลขดังกล่าวบนหน้าจอมือถือของลูกค้า อาจแสดงได้ทั้งหมายเลข 1175 หรือ .AIS1175 […]

1 5 6 7 8