เก็ง 5 มุกมิจจี้ ดิจิทัลวอลเล็ต | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

30 กรกฎาคม 2567

คุณคิดว่า “มิจฉาชีพ” หรือแบบที่หลายคนเรียกว่า “มิจจี้” จะฉวยโอกาสนำ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต มาหลอกลวงเรากันอย่างไรบ้าง ?

วันนี้ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้รวบรวม 5 มุกมิจฉาชีพที่อาจมาพร้อมดิจิทัลวอลเล็ตมาเตือนภัย เพื่อให้ทุกคนสามารถลงทะเบียนได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น 


  1. แอปพลิเคชันผี ปลอมเป็น “ทางรัฐ” “ดิจิทัลวอลเล็ต” 

หนึ่งในกลลวงที่อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ คาดว่ามาแน่ คือ แอปพลิเคชันปลอม ที่ตั้งชื่อคล้าย โลโก้เหมือน มีตัวอย่างให้เห็นมาหลายเคส ทั้ง แอปพลิเคชันเป๋าตัง ไทยชนะ หมอพร้อม ที่ต่างก็เคยโดนมิจฉาชีพปลอมมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งแอปพลิเคชันปลอมเหล่านี้ อาจมีการเข้าถึงและขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเรา หรือเรียกเก็บค่าบริการแอปพลิเคชัน

ทำยังไง ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแอปผี ?

ก่อนจะดาวน์โหลด ต้องเช็กให้ชัวร์ ว่าเป็นแอปพลิเคชันจริงหรือไม่ ของจริงต้องชื่อ “ทางรัฐ” เท่านั้น เป็นต้องเป็นแอปทางรัฐแท้ที่มาจาก App store (iOS) หรือ Play Store (Android

สำหรับคนที่เข้าไปค้นคำว่า “ทางรัฐ” ตาม Google หรือ AppStore ก่อนกด “ติดตั้ง” อย่าลืมดู ชื่อผู้สร้างแอปพลิเคชัน ให้เป็น “DGA” XXXX เช็ก XXXXX ยอดดาวน์โหลดจำนวนนับล้าน ๆ ครั้ง รวมทั้งส่องดูรีวิว จะได้ไม่ตกหลุมพรางของแอปผี

2. SMS ที่มาพร้อมลิงก์หลอกลงทะเบียน 

    เชื่อว่ามาแน่ กับข้อความ SMS อ้างโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ส่งเข้ามาที่มือถือ พร้อมลิงก์ หรือ ไอดีไลน์ หลอกให้ดีใจ หรือหลอกให้ตกใจ จากนั้นจะพาไปกดลิงก์แล้วหลอกลวงเราผ่านช่องทางอื่น


    จากฐานข้อมูลของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า เคยมีการส่งข้อความและลิงก์  “คุณได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ ” เมื่อตรวจสอบ พบว่าลิงก์ดังกล่าว เป็นลิงก์ที่ให้เพิ่มเพื่อนทางไลน์ ใช้ชื่อบัญชีว่า “Thaid online” หลอกว่าเป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของทางกรมการปกครอง เมื่อผู้เสียหายติดต่อไป จะมีโจรออนไลน์ ปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ หลอกถามข้อมูลส่วนตัว ทั้ง ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน อาชีพ รายได้ โดยอ้างว่าเป็นการสอบถามเพื่อยืนยันตัวตน และส่งลิงก์เพื่อให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม ทำให้โจรสามารถควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหาย หลังจากนั้นจะมีการหลอกให้กรอกรหัส PIN ของธนาคาร หรือ หลอกสแกนใบหน้า จนผู้เสียหายสูญเสียทั้งเงินและข้อมูลส่วนบุคคล

    ทำยังไงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ SMS หลอกลวง ?

    วิธีที่ง่ายที่สุด คือ เมื่อได้รับข้อความ SMS ต้องไม่เชื่อไว้ก่อน แล้วตรวจสอบซ้ำไปที่หน่วยงานที่แอบอ้าง โดยใช้เบอร์โทรศัพท์ทางการ หรือการพูดคุยในช่องทางที่เป็นทางการเท่านั้น

    3. เพจปลอมและเว็บไซต์ปลอม ที่เนียนจนดูแทบไม่ออก

    เมื่อกดลิงก์หรือป้ายบนออนไลน์ แล้วเข้าไปที่ Facebook เพจ หรือ เว็บไซต์ ที่ทุกอย่างดูสมจริง อย่าเพิ่งหลงเชื่อทันที ขอให้ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้ง โดยเฉพาะดูที่ชื่อเว็บไซต์ และดูข้อมูลความโปร่งใสของเพจ เพราะมิจฉาชีพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ชื่อเพจ ชื่อเว็บไซต์ รูปภาพสัญลักษณ์ รวมถึงข้อมูลของโครงการฯ


    ทำยังไงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเว็บปลอม/เพจปลอม ?

    เว็บไซต์ของแท้ต้องชื่อ   www.digitalwallet.go.th  เท่านั้น หรือพิมพ์เป็นภาษาไทยว่า www.กระเป๋าเงินดิจิทัล.รัฐบาล.ไทย หรือ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Call Center) สายด่วน โทร. 1111 

    4. แก๊งคอลล์เซนเตอร์ในคราบเจ้าหน้าที่ผู้ใจดี 

    “ฮัลโหล คุณจำเป็นต้องยืนยันตัวตนเพิ่มเติม เพื่อรับเงิน 10,000 บาทจากรัฐบาลนะคะ…”

    และอีกหลากหลายอุบายมิจฉาชีพที่จะโทรมาทำให้คุณดีใจ ตกใจ เสียใจ และเร่งรัดให้รีบร้อน โดยอาศัยการอ้างโยงถึงโครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ที่กำลังอยู่ในความสนใจ

    แก๊งคอลเซ็นเตอร์อาจมาในลักษณะเจ้าหน้าที่น้ำใจงาม เริ่มจากโทรศัพท์มาหาเรา บอกว่ามาจากหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การประปา กิจการผู้สูงอายุ กรมบัญชีกลาง อยากจะช่วยเหลือให้เราได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งมาในบทบาทตำรวจปลอม ที่อ้างว่า ชื่อของเราทำผิดกฎหมาย ต้องโอนเงินมา พิสูจน์ความบริสุทธิ์  แต่ทั้งหมดก็คือเจ้าหน้าที่เก๊ เพราะหน่วยงานต่าง ๆ มักไม่เป็นฝ่ายโทรศัพท์ติดต่อหาเราก่อนหรือต้องให้เราโอนเงินอย่างแน่นอน 

    ทำยังไงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลล์เซนเตอร์ ?

    หากมีสายเข้า เป็นเบอร์แปลก เดาไว้ก่อน ตั้งแง่ไว้ก่อน ว่าอาจเป็นสายจากมิจฉาชีพ เมื่อรับสายหรือเมื่อพูดคุยเริ่มมีเนื้อหาที่ขอข้อมูลส่วนตัว หรือต้องโอนเงิน ให้เราเป็นฝ่ายขอติดต่อกลับ ขอเบอร์โทรกลับ ซึ่งมิจฉาชีพส่วนใหญ่จะไม่สามารถรับสายติดต่อกลับได้ หรือถ้าให้แน่ใจขึ้น ให้ค้นหาเบอร์โทรศัพท์หน่วยงานนั้นด้วยตนเองแล้วโทรยืนยัน

    5. สวมรอยใช้ข้อมูลบัตรประชาชน

    สำหรับคนที่ได้รับสิทธิและไม่มีสมาร์ทโฟน จะต้องใช้บัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน ต้องระวังอย่าให้บัตรประชาชนกับใครโดยไม่จำเป็น หรือแม้แต่การถ่ายสำเนาแบบหน้าและหลังส่งให้บุคคลอื่นก็ตาม  เพราะมิจฉาชีพอาจนำไปใช้สวมรอยเป็นเรา แล้วนำข้อมูลส่วนบุคคลไปหาประโยชน์ เช่น อาจนำไปแอบอ้างลงทะเบียนแอปทางรัฐ หรือนำไปขอรหัสผ่าน เพื่อลงชื่อเข้าใช้บนเครื่องของมิจฉาชีพก็เป็นได้

    นี่ก็คือ 5 กลโกงที่อาจมาพร้อม  ดิจิทัล วอลเล็ต ที่ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์นำมาฝากกัน แต่โลกออนไลน์เต็มไปด้วยภัยร้ายที่หลากหลาย การเตรียมความพร้อมและป้องกันตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนกดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลใด ๆ อย่าลืมเช็กอีกครั้งเพื่อความปลอดภัยนะคะ 

    แล้วคุณล่ะ คิดว่า มิจฉาชีพจะมามุกไหน มาไม้ไหนกันอีก ส่งมาแนะนำ เพื่อให้เรานำมาเตือนภัยกันได้นะคะ ที่
    LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare
    FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
    Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
    IG :: https://instagram.com/SureAndShare
    Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
    TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

    ดูข่าวเพิ่มเติม

    หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
    LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
    FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
    YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
    Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
    IG :: https://instagram.com/SureAndShare
    Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
    TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

    สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

    หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

    Top Viewed • อ่านมากสุด

    ดูทั้งหมด

    ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

    ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

    ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

    นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

    นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

    ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

    ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

    ข่าวแนะนำ

    “เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

    หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

    กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

    “สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

    “สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

    นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

    “นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”