จุฬาฯ-กรมสุขภาพจิต พัฒนาแอปฯ คัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้า

รพ.จุฬาฯ 20 มิ.ย.- จุฬาฯ ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต พัฒนาแอปฯ คัดกรองซึมเศร้าจากมือถือผ่านโปรแกรมหมอพร้อม ทั้งตอบคำถาม ประเมินสีหน้า น้ำเสียง คัดกรองส่งต่อผู้ป่วยถึงมือกรมสุขภาพจิต กระจายดูแลทันทีทั้ง 13 เขตสุขภาพ โดยโปรแกรมมีความแม่นยำ 75%


รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต, รศ.พญ.โสฬพันธ์ เหมรัญช์โรจน์ ผช.คณบดีด้านนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ และ รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวนวัตกรรม DMIND Application สำหรับคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้า และส่งต่อข้อมูลให้กรมสุขภาพ เพื่อช่วยเหลือดูแลอย่างรวดเร็ว โดยโปรแกรมดังกล่าวเป็นการคัดกรองผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เชื่อมต่อกับแอปฯ หมอพร้อม เพียงกดเลือกเมนูตรวจสุขภาพใจ จากนั้นระบบจะสอบถามคัดกรองเบื้องต้น และเข้าใจ การสอบถามผ่าน AI แบบโต้ตอบและรับฟัง ประเมินความเสี่ยงผ่าน การแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง ซึ่งเป็นเสมือนการตอบคำถามกับนักจิตวิทยาแบบตัวต่อตัว โดยมีความแม่นยำอยู่ที่ 75% ทั้งนี้ ความแม่นยำยังขึ้นอยู่กับระบบสัญญาณโทรศัพท์และเสียงของผู้รับการประเมิน หากชัดเจนก็สามารถประเมินได้อย่างแม่นยำถูกต้อง

รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวว่า สำหรับการประเมินผู้ป่วยจากระบบ DMIND นี้ จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มปกติ เป็นระดับสีเขียว 2.กลุ่มปานกลาง เป็นระดับสีเหลือง และ 3.กลุ่มรุนแรง ระดับสีแดง สำหรับผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีปัญหา แต่กลุ่มสีเหลืองก็จะมีการประสานศูนย์สุขภาพจิตทั้ง 13 เขตสุขภาพ ให้ดำเนินการติดตามเคสต่อ ส่วนกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงรุนแรงหรือสีแดง จะมีทีมงานสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรศัพท์ไปพูดคุยทันที


รศ.พญ.โสฬพันธ์ กล่าวว่าระบบการประเมินซึมเศร้านี้ เป็นการพัฒนาระบบต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ ปี 2020 และสำเร็จในปี 2022 และได้มีการประเมินในผู้ป่วยบางส่วนแล้ว โดยมีผู้ป่วยสมัครใจเปิดหน้ารับการประเมิน 400 คน พบว่ามีผู้ที่เข้าข่ายผู้ป่วยระบบสีแดง 82 คน และระบบข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกขึ้นในคลาวด์ และส่งต่อให้กรมสุขภาพจิตรับช่วงต่อ หากมีอาการรุนแรงในเกณฑ์สีแดงก็มีสายด่วนของกรมสุขภาพจิตรับไปดูแลทันที โดยมีผู้ป่วยบางคนใช้เวลาผู้คุยกับ AI นานถึง 5-7 นาที ซึ่งจุดหมายสำคัญของการรักษาซึมเศร้า คือการรับฟังผู้ป่วยให้มากที่สุด

พญ.อัมพร กล่าวว่าสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าที่พบในไทย ขณะนี้ส่อแววเพิ่มอัตราการสูงขึ้นถึง 8 ต่อแสนประชากร ทั้งนี้มาจากโควิดที่ส่งต่อตั้งแต่เศรษฐกิจและรายได้ แม้ตอนนี้จะผ่านพ้นแต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องไปอีก 1 ปี พร้อมยอมรับที่ผ่านมาสายด่วน 1323 มีปัญหาเรื่องความหนาแน่ในการให้บริการ แม้เพิ่มคู่สายก็ยังไม่เพียงพอ หนำซ้ำยังโดนพวกป่วนแกล้งโทรมา ทำให้ผู้เข้ารับบริการจริงเกิดอุปสรรค.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่