วิษณุ แนะใส่มาตรฐานจริยธรรม ในกฎหมายป.ป.ช.

visanu - 25-5-2558 18-33-50สโมสรทหารบก วิภาวดี 1 ก.พ. – วิษณุ แนะใส่มาตรฐานจริยธรรมของศาล รธน. เป็นกฎหมาย ป.ป.ช. เพื่อให้บังคับใช้ได้จริง ด้านประธาน ป.ป.ช.มั่นใจเวลาทำงานจะเป็นเครื่องการันตีการทำงานของ ป.ป.ช.ให้มีจริยธรรมมากขึ้น ด้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อการมีจริยธรรมช่วยให้ปราบปรามการทุจริตได้


ผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดสัมมนาเรื่อง “เหลียวหน้า แลหลัง จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ” โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเสวนาว่า ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในระหว่างการแก้ไขตามพระราชอำนาจ ที่มีข้อสังเกตพระราชทานมา ซึ่งนายกฯได้รับการพระราชทาน ร่างรัฐธรรมนูญคืนมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม โดยจะต้องแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ โดยกระบวนการแก้ไขใกล้จะแล้วเสร็จแล้ว  ซึ่งเป็นการแก้ในบางมาตราที่ในหลวงทรงพระราชทานข้อสังเกตบางประเด็นเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการปรับลดจำนวนมาตรา หลังจากนั้นจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ อีกรอบ ก่อนวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ โดยจะมีเวลา 90 วัน ในการโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญลงมา สาเหตุที่ต้องเริ่มนับใหม่ เพราะตอนที่นายกรัฐมนตรี ได้รับคืน ก็รับคืนทั้งฉบับ ไม่ได้รับคืนบางส่วน จึงต้องเริ่มนับ 90 วันใหม่ ซึ่งท่านอาจจะโปรดเกล้าฯ ก่อนครบกำหนดก็ได้

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศใช้ โรดแมปก็จะเริ่มนับหนึ่งตามที่ได้ระบุไว้ ในเรื่องของจริยธรรมตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องเชิญผู้แทนองค์กรอิสระทั้ง 5 องค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกรรมการสิทธิมนุษยชน มาร่วมกันทำมาตรฐานจริยธรรมให้เสร็จภายใน 1 ปี  ถ้าหากไม่เสร็จตามกรอบระยะเวลา ก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด ซึ่งจะทำแบบเร่งรีบไม่ได้ด้วย


“ทั้งนี้มาตรฐานจริยธรรม จะเป็นดาบคืนสนอง ใช้กับพวกเขาเอง  อีกทั้งจะต้องใช้กับ ส.ส. ส.ว. และคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องรับความเห็นจากพวกเขาด้วย ผมเชื่อว่ามาตรฐานจริยธรรมที่จะออกมานี้ จะเป็นแบบให้กับเจ้าหน้าที่รัฐอื่น ๆ ทั่วประเทศ เท่านั้นไม่พอ ยังมีมาตรา 76 ที่ได้ระบุว่า รัฐจะต้องกำหนดมาตราฐานทางจริยธรรมขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับหน่วยภายใต้การกำกับของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรมหาชน เพื่อนำไปทำประมวลจริยธรรมของแต่ละหน่วยงานอีกที” นายวิษณุกล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกให้ฉายาว่าเป็นฉบับปราบโกง ซึ่งมิติหนึ่งของฉายานั้น ก็เป็นเรื่องของจริยธรรม ที่ถูกพูดถึงมากกว่าในรัฐธรรมนูญปี 50 แต่ในเมื่อมีการกำหนดให้ทำมาตรฐาน หรือประมวลจริยธรรมขึ้นมาแล้วองค์กรที่ขับเคลื่อนบังคับให้ใช้จะต้องพิจารณาต่อไปว่าจะเป็นใคร ซึ่งจะไม่ได้ขึ้นอยู่ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้ว ส่วนอนาคตจริยธรรมจะมีหน้าตาทิศทางเป็นแบบไหนนั้นทั้งหมดไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ดังนั้นจึงสามารถกำหนดได้ในภายหลังว่าจะขับเคลื่อนส่วนนี้อย่างไรและจะกำหนดโทษของการละเมิดจริยธรรมไว้อย่างไรต่อไป

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่จะทำให้มาตรฐานทางจริยธรรม มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือมีผลบังคับใช้ได้จริงนั้น จะต้องมีการออกเป็นกฎหมายของ ป.ป.ช. ให้ใช้ร่วมพิจารณา โดยจะต้องออกเป็นลักษณะของการกำหนดโทษ หรือต้องให้เป็นหน้าที่ของศาลหนึ่งศาลใด ในการพิจารณาความผิดแต่ละประเภท ในส่วนของมาตรฐานจริยธรรมที่รัฐบาลจะต้องกำหนดนั้น อาจจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการ ในหมวดวินัย หากไม่ปฏิบัติตามจริยธรรม ก็จะมีโทษความผิด ซึ่งอาจจะเป็นความผิดธรรมดาหรือฐานความผิดวินัยร้ายแรงก็ได้ ตนเชื่อว่าถ้ากำหนดเช่นนี้ จะทำให้ประมวลจริยธรรมมีผลบังคับใช้จริง


พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปรายปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า แต่เดิมการตรวจสอบเรื่องจริยธรรมเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่จะส่งเรื่องที่ได้กลั่นกรองแล้วนั้นมาให้กับป.ป.ช.พิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงต่อไป แล้วนำเข้าที่ประชุมเมื่อคณะกรรมการมีมติถอดถอนก็จะส่งให้สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) พิจารณาถอดถอนต่อไป ซึ่งรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมามีการถอดถอนไม่มากนัก และในรัฐบาลนี้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ถอดถอนไปแล้ว 1 ราย และในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ ผู้ตวจการแผ่นดิน ไม่ได้มีหน้าที่คัดกรองเรื่องจริยธรรมให้แก่ป.ป.ช.แล้ว โดยป.ป.ช.จะต้องรับเรื่องเอง และ เมื่อมีมติจากคณะกรรมการป.ป.ช.ว่าถอดถอน ก็ไม่ต้องส่งเรื่องให้กับ ส.ว.พิจารณาแล้ว แต่จะส่งเรื่องให้ศาลฎีกาพิจารณาแทน โดยผู้ที่ถูกร้องเรียนความผิดทางจริยธรรมจะต้องพักจากราชการจนกว่าจะมีมติเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง หากมีมติถอดถอนก็ต้องออกจากตำแหน่ง เป็นต้น

ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า สำหรับเรื่องการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมขององค์กรอิสระ ตามมาตรา 76 ในรัฐธรรมนูญนั้น ทาง ป.ป.ช. ได้เขียนแก้ไขไว้ในร่างพระราชบัญญัติแล้ว โดยกำหนดกรอบเรื่องของระยะเวลาในการพิจารณาข้อร้องเรียนแต่ละกรณีว่ามีมูลมากพอหรือไม่  ในระยะเวลา 6 เดือน และอาจขอขยายได้อีก 3 เดือน หากมีเหตุจำเป็น ดังนั้นการแสวงหาความจริงจะมีระยะเวลาที่ชัดเจน ป.ป.ช.จะให้ความยุติธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา เพราะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยจะใช้เวลาในการไต่สวนคดีนั้น ๆ 2 ปี และสามารถขอขยายเวลาได้ หากมีเหตุจำเป็น และหากมีมูลคณะกรรมการป.ป.ช จะมีมติส่งฟ้องให้ศาลฎีกาพิจารณาถอดถอนต่อไป

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า สิ่งที่ ป.ป.ช.มั่นใจในมาตรฐานจริยธรรม เมื่อมีการกล่าวหาข้าราชการที่ละเมิดจริยธรรมร้ายแรงนั้นคือตัวกรอบเวลาการทำหน้าที่ ที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นเครื่องการันตีถึงกระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใสและยุติธรรมให้กับสังคมได้ และขณะนี้ป.ป.ช.มีพนักงงานไต่สวนและเจ้าหน้าที่ชำนาญการ กว่า 900 คน ซึ่งหากเราเคลียร์คดีที่ค้างอยู่เดิมได้ก็จะถือเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและไม่เกินความสามารถที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสยุติธรรมได้

ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า กรณีที่เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ทำผิดจริยธรรมเอง จะมีคณะกรรมการผู้ไต่สวนอิสระเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบ และผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่และไปสู่การพิจารณาถอดถอนที่ศาลฎีกาเช่นเดียวกับผู้ถูกร้องเรียนในหน่วยงานต่าง ๆ โดยไม่มีการละเว้น

ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การมีจริยธรรมจะช่วยให้สามารถปราบปรามการทุจริตได้  เพราะการทุจริตในประเทศไทย เปรียบเหมือนโรคมะเร็งร้าย ที่คอยกัดกินประเทศมานาน ส่วนตัวอยากให้ แต่ละองค์กรกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมเอาไว้ เพื่อไม่ให้ใครกล้าทำผิด เช่น หากทำผิดควรมีการลงโทษทางวินัย ขั้นต้น ไปจนถึง ผิดวินัยขั้นร้ายแรง นั่นคือ การไล่ออก และเรื่องจริยธรรม ควรปลูกฝังในขั้นอุดมการณ์เพื่อให้คนส่วนใหญ่นึกถึงประเทศเป็นหลัก ยกตัวอย่าง เช่น หากมีการทำผิดอาญาในต่างประเทศ แต่กลับไม่มีความผิดในส่วนของอำนาจไทย ก็ควรให้ถือว่า ผิดจริยธรรมร้ายแรง และสร้างความเสื่อมเสียให้ประเทศชาติด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน