ไทยเร่งขับเคลื่อนแผนการปรับตัวรับ Climate change

ปลัด ทส. เผยเร่งขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านการปรับตัวระดับโลก สำหรับในปี 2568 จะจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรายสาขา เพื่อรองรับการปรับตัวสู่ระดับพื้นที่

Man walking over the dry Solimoes riverbed

ชี้ปีนี้โลกจะร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกมา

ปารีส 10 ธ.ค.- หน่วยงานติดตามสภาพอากาศของยุโรประบุว่า ปี 2567 จะเป็นปีที่โลกร้อนที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการบันทึกข้อมูลในปี 2393 หรือเมื่อ 174 ปีที่แล้ว บริการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส หรือ C3S ของสหภาพยุโรป ออกรายงานว่า เดือนพฤศจิกายนปีนี้เป็นเดือนพฤศจิกายนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีอุณหภูมิสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.62 องศาเซลเซียส เป็นรองเพียงเดือนพฤศจิกายน 2566  และว่าปี 2567 ยังถือเป็นปีที่ร้อนสุดในประวัติศาสตร์โลก นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติ อีกทั้งยังเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.55 องศาเซลเซียส สูงกว่าปี 2566 ที่เพิ่มขึ้น 1.48 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์ว่า ในช่วงต้นปีหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะร้อนขึ้นอีกด้วย นานาชาติเกือบ 200 ประเทศตกลงกันว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสปี 2558 ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2559 ว่า จะจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม.-815(814).-สำนักข่าวไทย

protesters call for rich countries to pay up for poor countries

ประเทศกำลังพัฒนาไม่พอใจข้อตกลง COP29

บากู 24 พ.ย.- ที่ประชุมโลกร้อนบรรลุข้อตกลงให้เงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาปีละ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.34 ล้านล้านบาท) ในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประเทศผู้รับความช่วยเหลือระบุว่าไม่เพียงพอ การประชุมสมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 หรือคอป 29 (COP29) เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนที่กรุงบากูของอาเซอร์ไบจาน มีกำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน แต่ยืดเยื้อมาจนถึงวันนี้ เนื่องจากตัวแทนจากเกือบ 200 ประเทศถกเถียงกันอย่างหนัก โดยเมื่อวานนี้ตัวแทนจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกาะบางแห่งเดินออกจากที่ประชุมด้วยความไม่พอใจ และหลังจากที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในวันนี้ ผู้ร่วมประชุมบางคนลุกขึ้นยืนปรบมือ ขณะที่บางคนตำหนิประเทศร่ำรวยว่า ยังพยายามไม่มากพอและวิจารณ์ประเทศเจ้าภาพว่ารีบเร่งตัดบทปิดการประชุม ทั้งที่ยังมีการถกเถียงเนื้อหาของข้อตกลงอยู่ ตัวแทนจากอินเดียกล่าวในการปิดสมัยประชุมว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่สามารถแก้ไขความรุนแรงของปัญหาที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นอินเดียจึงขอคัดค้านการยอมรับข้อตกลงนี้ ด้านนายไซมอน สตีลล์ เลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) ยอมรับว่า เป็นการเจรจาที่ยากเย็น แต่ก็ได้ข้อตกลงที่เปรียบเสมือนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่มนุษยชาติในการรับมือกับภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ดี กรมธรรม์นี้จะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อมีการจ่ายเบี้ยประกันอย่างครบถ้วนและตรงต่อเวลาเท่านั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ประเทศร่ำรวยรับปากจะจัดสรรเงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับภาวะโลกร้อนปีละ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.34 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2578 เพิ่มขึ้นจากข้อตกลงเดิมที่รับปากจะจัดสรรปีละ 100,000 […]

UN Secretary at G20 Summit in Rio de Janero

ยูเอ็นเตือนผู้นำจี 20 ถึงเวลาต้องพาโลกพ้นวิกฤต

รีโอเดจาเนโร 18 พ.ย.- เลขาธิการยูเอ็นเรียกร้องผู้นำจี 20 ให้ใช้อำนาจที่มีอยู่ แก้ไขวิกฤตต่าง ๆ ของโลก เช่น ปัญหาสภาพภูมิอากาศ การสร้างสันติภาพ นายอันโตนีโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) กล่าวในการแถลงข่าวที่นครรีโอเดจาเนโรของบราซิลเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นว่า สิ่งที่เขาต้องการสื่อสารต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 (G20) ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน คือ ผู้นำจี 20 จะต้องเป็นผู้นำ และประเทศจี 20 ซึ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างมากและมีอำนาจทางการทูตอย่างยิ่งจะต้องนำสิ่งเหล่านี้มาใช้แก้ไขปัญหาสำคัญของโลก นายกูแตร์เรสระบุว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศได้เลวร้ายเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง และปี 2567 กำลังจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ ผลกระทบเกิดขึ้นทุกหนแห่ง ตัวอย่างที่อยู่ไม่ไกลคือ ภาวะภัยแล้งในแอมะซอน และน้ำท่วมใหญ่ทางตอนใต้ของบราซิล เลขาธิการยูเอ็นได้ย้ำถึงการหาทางสร้างสันติภาพในหลายพื้นที่ของโลก ด้วยการหยุดยิงทันทีในกาซาและเลบานอน การปฏิบัติตามกฎบัตรยูเอ็นและกฎหมายสากลในยูเครน การให้ผู้นำฝ่ายสู้รบในซูดานยุติการใช้ความรุนแรง จี 20 ครองสัดส่วนเศรษฐกิจโลกถึงร้อยละ 85 เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดที่สมทบเงินให้แก่ธนาคารพัฒนาต่าง ๆ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 3 ใน 4 ของโลก […]

ประชุมสุดยอด “คอป29” เห็นต่างเรื่องงบช่วยโลกร้อน

ตัวแทนระดับสูงจากทั่วโลกสร็จสิ้นการหารือในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติสมัยที่ 29 หรือ คอป29 ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ที่กรุงบากู

ไทย-เยอรมนี MOU ความร่วมมือด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ

8 หน่วยงานลงนาม MOU เพื่อดำเนินการร่วมกันด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ TGC EMC โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนี เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน พ.ศ.2593 และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ใน พ.ศ. 2608

Tokyo is tunnelling to stop climate change flooding the city

ญี่ปุ่นสร้างอุโมงค์ยักษ์รับน้ำท่วม

โตเกียว 7 ต.ค.- กรุงโตเกียวของญี่ปุ่นกำลังเร่งขุดอุโมงค์ยักษ์ใต้ท้องถนน เพื่อเตรียมรับน้ำท่วมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทางการกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นกำลังเร่งใช้เครื่องจักรขุดอุโมงค์ยักษ์ขนาดกว้างกว่า 13 เมตร ยาว 4.5 กิโลเมตร พร้อมก่อผนังคอนกรีต โดยออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำฝนปริมาณมหาศาลที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมกรุงโตเกียวได้ แม้ว่ากรุงโตเกียวจะมีระบบอุโมงค์ รางระบายน้ำ และถังเก็บน้ำที่กว้างขวางอยู่แล้ว แต่ทางการญี่ปุ่น ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุโมงค์ยักษ์ดังกล่าวมีขนาดใหญ่เพียงพอจะรองรับน้ำเท่ากับสระว่ายน้ำในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกือบ 100 สระ ภายในอุโมงค์มีเสาขนาดใหญ่ 59 ต้น แต่ละต้นมีน้ำหนัก 500 ตัน และยาวถึงเพดาน 18 เมตร เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำใกล้เคียงเอ่อนล้น น้ำจะไหลผ่านอุโมงค์ใต้ดินขนาดใหญ่ยาว 6.3 กิโลเมตร ก่อนที่จะไหลไปรวมกันที่อุโมงค์ขนาดยักษ์ และถูกสูบออกไหลออกสู่ทะเล สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นเปิดเผยเมื่อเดือนกันยายนว่า ฤดูร้อนปีนี้เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลในปี 2441 ขณะเดียวกัน กรุงโตเกียวยังเผชิญพายุรุนแรงกะทันหันที่เรียกว่า พายุฝนกองโจร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนัก คาดว่าสภาพอากาศรุนแรงดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบมากขึ้นด้วย โดยเชื่อว่า ภายในปี 2593 หรืออีกราว 26 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น […]

ฝนตกกระจุก หนึ่งในปัจจัยอุทกภัย 67

น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงในหลายพื้นที่ปีนี้ ปัจจัยหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ทำให้ฝนตกหนักแบบกระจุกในพื้นที่หนึ่งๆ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระทบการผลิตกิมจิ

กิมจิ” อาหารประเภทผักดองที่มีชื่อเสียงของเกาหลีใต้ กำลังได้เดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งนักวิทยาศาสตร์ เกษตรกรและผู้ผลิตกิมจิ ต่างกล่าวว่า คุณภาพและปริมาณของผักกาดขาว

น้ำท่วมบังกลาเทศยังวิกฤติ

ธากา 27 ส.ค.- สถานการณ์น้ำท่วมหนักในบังกลาเทศยังไม่คลี่คลาย  หลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมสูง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 23 คนแล้ว เจ้าหน้าที่บังกลาเทศเผยว่า น้ำท่วมเริ่มลดระดับลงอย่างช้า ๆ ประชาชนจำนวนมากจากที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมด 5.7 ล้านคน ยังคงถูกตัดขาดจากโลกภายนอก และกำลังต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนทั้งอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และถนนหนทางถูกตัดขาด เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการจัดส่งความช่วยเหลือและการกู้ภัย สำนักอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศคาดการณ์ว่า สถานการณ์น้ำท่วมอาจยืดเยื้อออกไป หากฝนฤดูมรสุมยังคงตกไม่หยุด เนื่องจากระดับน้ำท่วมลดลงช้ามาก จนถึงขณะนี้ยังมีชาวบ้านราว 470,000 คนที่ยังต้องอาศัยอยู่ตามศูนย์พักพิง 3,500 แห่ง ธนาคารโลกเคยวิเคราะห์ในปี 2558 ว่า ชาวบังกลาเทศ 3.5 ล้านตกอยู่ในความเสี่ยงจากสถานการณ์น้ำท่วมประจำปี นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติส่งผลรุนแรงขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.-816(814).-สำนักข่าวไทย

นักสิ่งแวดล้อมป่วนสนามบินเยอรมนีครั้งใหม่

เบอร์ลิน 15 ส.ค.- ท่าอากาศยาน 2 แห่งในเยอรมนีต้องระงับเที่ยวบินเข้าออกเป็นการชั่วคราวในเช้าวันนี้ หลังจากนักเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฝ่าเข้าไปในพื้นที่ของลานบิน หลังจากที่เคยฝ่ามาตรการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานติดต่อกัน 2 วันเมื่อเดือนกรกฎาคม กลุ่มลาสเจนเนอเรชัน (Last Generation) แถลงว่า นักเคลื่อนไหว 8 คนของกลุ่มได้หยุดหรือชะลอการจราจรที่ท่าอากาศยานกรุงเบอร์ลิน-บรันเดนเบิร์ก ท่าอากาศยานโคโลญ-บอนน์ ท่าอากาศนูเรมเบิร์ก และท่าอากาศยานชตุทการ์ท พร้อมกับเผยแพร่ชุดภาพถ่ายกลุ่มนักเคลื่อนไหวใช้มือยึดอยู่กับพื้นยางมะตอยภายในเขตสนามบิน แต่ไม่ได้เข้าไปในทางวิ่ง (runway) ของท่าอากาศยาน ท่าอากาศยานนูเรมเบิร์กแจ้งว่า ระงับเที่ยวบินข้าออกนานกว่า 1 ชั่วโมง ขณะที่ท่าอากาศยานโคโลญ-บอนน์แจ้งว่า ระงับเที่ยวบินเป็นเวลาสั้น ๆ ส่วนตำรวจที่ท่าอากาศยานกรุงเบอร์ลิน-บรันเดนเบิร์ก ซึ่งเป็นท่าอากาศยานใหญ่ที่สุดในบรรดาท่าอากาศยานที่นักเคลื่อนไหวเข้าไปก่อเหตุทั้งหมด 4 แห่งแจ้งว่า ไม่ได้รับผลกระทบ และสามารถจับกุมผู้ประท้วง 2 คนที่ตัดรั้วเข้าไปในลานบิน เช่นเดียวกับท่าอากาศยานชตุทการ์ทที่ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากตำรวจสามารถจับกุมผู้ประท้วง 2 คนที่กีดขวางทางขับ (taxiway) ได้ทันควัน นักการเมืองเยอรมนีเรียกร้องให้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานในประเทศ หลังจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถฝ่ารั้วเข้าไปขัดขวางการจราจรทางอากาศถึง 2 วันติดต่อกันเมื่อเดือนก่อน หนึ่งในนั้นคือท่าอากาศยานแฟรงค์เฟิร์ตที่มีผู้ใช้บริการพลุกพล่านที่สุดของประเทศ กลุ่มลาสเจนเนอเรชันได้ประกาศรายชื่อประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือที่ทางกลุ่มเตรียมจะก่อเหตุลักษณะเดียวกัน อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมนีปฏิบัติตามข้อตกลงเลิกใช้น้ำมัน ก๊าซและถ่านหินภายในปี 2573.-814.-สำนักข่าวไทย  

1 2 3 7
...