ไทย-เยอรมนี MOU ความร่วมมือด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ

กรุงเทพฯ 5 พ.ย. – 8 หน่วยงานลงนาม MOU เพื่อดำเนินการร่วมกันด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ TGC EMC โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนี เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน พ.ศ.2593 และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ใน พ.ศ. 2608


หน่วยงานที่ร่วมดำเนินโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC EMC) มี 8 หน่วยงานซึ่งร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC EMC) เพื่อร่วมกันสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือนี้มุ่งที่จะผนึกกำลังทุกหน่วยงานเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนใน พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ใน พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

โครงการ TGC EMC ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมขับเคลื่อนโครงการกับหน่วยงานดำเนินโครงการภาครัฐของประเทศไทย 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และ กรุงเทพมหานคร (กทม.)


ทั้งนี้ การมีหน่วยงานภาคีจากหลายภาคส่วนทำให้ TGC EMC โดดเด่นด้าน “Sector Coupling” โดยแนวทางนี้ไม่ได้เน้นที่ภาคส่วนใดโดยเฉพาะ แต่มองความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศแบบองค์รวมซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือหลายชั้นในลักษณะข้ามภาคส่วนในการแก้ไข

แนวคิด “Sector Coupling” หรือการบูรณาการภาคส่วนสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน คือหัวใจสำคัญของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและการประชุมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้น โดยหน่วยงานภาคีไม่เพียงแต่ให้คำมั่นที่จะร่วมมือกันเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันแบบข้ามภาคส่วนอีกด้วย เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือที่ออกแบบสำหรับขับเคลื่อนเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของไทยให้ก้าวไปข้างหน้า

หลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนได้ศึกษาแนวคิดและความจำเป็นของความร่วมมือข้ามภาคส่วนเพิ่มเติมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศผ่านการดำเนินงานร่วมกันของภาคพลังงานทดแทน คมนาคมขนส่ง และอุตสาหกรรม (Sector Coupling)” การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยายที่สร้างแรงบันดาลใจจากผู้เชี่ยวชาญในภาคขนส่ง พลังงานหมุนเวียน ชีวมวล และอุตสาหกรรม รวมทั้งการอภิปรายกลุ่มเพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้ของ Sector Coupling สำหรับประเทศไทย


ดร.แอ็นสท์ ไรเชิล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวว่า เยอรมนีมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งต่ออนาคตที่เป็นกลางทางคาร์บอนทั้งในประเทศและผ่านความร่วมมือกับภาคีทั่วโลก TGC EMC ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมัน คือตัวอย่างของแนวทางสหวิทยาการที่นำความชำนาญของทั้งสองประเทศมารวมกัน ความร่วมมือข้ามภาคส่วนที่เป็นเอกลักษณ์นี้ทำหน้าที่เป็นต้นแบบของการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศอย่างครอบคลุมในทุกด้านที่สำคัญ ตั้งแต่พลังงานและการขนส่ง ไปจนถึงอุตสาหกรรมและชีวมวล

โครงการ TGC EMC จัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านแนวทางการทำงานร่วมกันแบบข้ามภาคส่วน ครอบคลุม และมุ่งเน้นการแก้ปัญหา การบูรณาการที่ครอบคลุมนี้คือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคส่วนที่มีผลกระทบสูงให้ประสบความสำเร็จ เราจะสร้างเสริมศักยภาพสูงสุดเพื่ออนาคตที่สะอาดและยั่งยืนยิ่งขึ้นได้ด้วยการเชื่อมโยงภาคส่วนเหล่านี้เข้าด้วยกันเท่านั้น

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) กล่าวว่า พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 8 หน่วยงานดำเนินโครงการในวันนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของหน่วยงานดำเนินโครงการทั้ง 8 หน่วยงานในการร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ TGC EMC ที่สอดคล้องกับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย งานในวันนี้มีความหมายยิ่งกับ TGC EMC เนื่องจากโครงการนี้ย้ำถึงความสำคัญของการบูรณาการที่ครอบคลุมหลายภาคส่วน หรือ “Sector Coupling” เพื่อสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนใน ค.ศ. 2050

ทั้งนี้ TGC-EMC กำลังทำงานอย่างแข็งขันในหลายภาคส่วนเพื่อช่วยประเทศไทยพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์ ปรับปรุงนโยบาย รวมทั้งนำร่องและขยายเส้นทางการเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ThaiCI) ซึ่งได้รับงบประมาณเฉพาะ 4 ล้านยูโร (ราว 140 ล้านบาท) จะถูกจัดตั้งเป็นทุนเฉพาะด้านสภาพภูมิอากาศภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่นของประเทศไทย

การที่แต่ละภาคส่วนทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ในการลดการปล่อยคาร์บอนนั้นไม่ยังเพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องก้าวข้ามพรมแดนของภาคส่วนเรา และเริ่มเชื่อมโยงประสานกัน การทำงานร่วมกันอย่างแท้จริงแบบบูรณาการเท่านั้นที่จะทำให้เราใช้ศักยภาพให้เต็มที่และบรรลุเป้าหมายได้

คุณอินซ่า อิลเก้น ผู้อำนวยการโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TCG EMC) กล่าวว่า โครงการ TGC EMC กับหน่วยงานภาคี มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนประเทศไทยตลอดระยะเวลา 3 ปีข้างหน้าในการทำงานสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยที่โครงการนี้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศภายใน ค.ศ. 2050 ของรัฐบาลไทย

พร้อมกันนี้ยังชี้แจงความหมายของธีม “Sector Coupling” ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางของงานในครั้งนี้และเป็นความพยายามในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานทั่วโลกเพื่อสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง เราให้ความสำคัญกับไฟฟ้าและมุ่งเน้นการเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพียงแค่นั้นไม่ได้ เราต้องนำมาตรการด้านประสิทธิภาพพลังงานมาใช้และขยายการใช้พลังงานหมุนเวียนในทุกภาคส่วนด้วย

คำบรรยายนี้ ต่อยอดมาจากปาฐกถาผ่านวิดีโอของนายฟิลิป เบห์เรนส์ จากกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) ซึ่งเน้นย้ำถึงพันธสัญญาและการสนับสนุนที่ไม่หยุดยั้งของกระทรวงฯ ต่อความร่วมมือระหว่างไทยกับเยอรมนีด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศระหว่างไทย โดยนายเบห์เรนส์ยังได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์เกี่ยวกับ Sector Coupling ในฐานะองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืนอีกด้วย. -512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”