“ทรัมป์” ให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีสอีกครั้ง
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกครั้ง
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกครั้ง
ปารีส 10 ธ.ค.- หน่วยงานติดตามสภาพอากาศของยุโรประบุว่า ปี 2567 จะเป็นปีที่โลกร้อนที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการบันทึกข้อมูลในปี 2393 หรือเมื่อ 174 ปีที่แล้ว บริการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส หรือ C3S ของสหภาพยุโรป ออกรายงานว่า เดือนพฤศจิกายนปีนี้เป็นเดือนพฤศจิกายนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีอุณหภูมิสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.62 องศาเซลเซียส เป็นรองเพียงเดือนพฤศจิกายน 2566 และว่าปี 2567 ยังถือเป็นปีที่ร้อนสุดในประวัติศาสตร์โลก นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติ อีกทั้งยังเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.55 องศาเซลเซียส สูงกว่าปี 2566 ที่เพิ่มขึ้น 1.48 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์ว่า ในช่วงต้นปีหน้า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะร้อนขึ้นอีกด้วย นานาชาติเกือบ 200 ประเทศตกลงกันว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสปี 2558 ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน 2559 ว่า จะจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม.-815(814).-สำนักข่าวไทย
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก จะเริ่มต้นกระบวนการรับฟังคำร้องของประเทศและองค์กรต่างๆ ในวันนี้ เพื่อวินิจฉัยเรื่องข้อผูกมัดทางกฎหมายต่อประเทศต่างๆ ในการแก้ปัญหาโลกร้อน
บากู 24 พ.ย.- ที่ประชุมโลกร้อนบรรลุข้อตกลงให้เงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาปีละ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.34 ล้านล้านบาท) ในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประเทศผู้รับความช่วยเหลือระบุว่าไม่เพียงพอ การประชุมสมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 หรือคอป 29 (COP29) เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนที่กรุงบากูของอาเซอร์ไบจาน มีกำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน แต่ยืดเยื้อมาจนถึงวันนี้ เนื่องจากตัวแทนจากเกือบ 200 ประเทศถกเถียงกันอย่างหนัก โดยเมื่อวานนี้ตัวแทนจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกาะบางแห่งเดินออกจากที่ประชุมด้วยความไม่พอใจ และหลังจากที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในวันนี้ ผู้ร่วมประชุมบางคนลุกขึ้นยืนปรบมือ ขณะที่บางคนตำหนิประเทศร่ำรวยว่า ยังพยายามไม่มากพอและวิจารณ์ประเทศเจ้าภาพว่ารีบเร่งตัดบทปิดการประชุม ทั้งที่ยังมีการถกเถียงเนื้อหาของข้อตกลงอยู่ ตัวแทนจากอินเดียกล่าวในการปิดสมัยประชุมว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่สามารถแก้ไขความรุนแรงของปัญหาที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นอินเดียจึงขอคัดค้านการยอมรับข้อตกลงนี้ ด้านนายไซมอน สตีลล์ เลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) ยอมรับว่า เป็นการเจรจาที่ยากเย็น แต่ก็ได้ข้อตกลงที่เปรียบเสมือนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่มนุษยชาติในการรับมือกับภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ดี กรมธรรม์นี้จะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อมีการจ่ายเบี้ยประกันอย่างครบถ้วนและตรงต่อเวลาเท่านั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ประเทศร่ำรวยรับปากจะจัดสรรเงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับภาวะโลกร้อนปีละ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.34 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2578 เพิ่มขึ้นจากข้อตกลงเดิมที่รับปากจะจัดสรรปีละ 100,000 […]
ตัวแทนระดับสูงจากทั่วโลกสร็จสิ้นการหารือในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติสมัยที่ 29 หรือ คอป29 ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ที่กรุงบากู
จีนเรียกร้องต่อที่ประชุมโลกร้อนที่อาเซอร์ไบจานให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน
บรรดาผู้นำจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บากู 12 พ.ย. – รอยเตอร์เปิดเผยผลการวิจัยด้านสภาพอากาศล่าสุดที่น่ากังวล ในขณะที่การประชุมโลกร้อนสมัยล่าสุดเปิดฉากขึ้นที่อาเซอร์ไบจาน เมื่อวานนี้ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 29 หรือคอป 29 (COP29) ที่กรุงบากูของอาเซอร์ไบจาน ประเทศริมทะเลแคสเปียนที่อยู่ระหว่างเอเชียกับยุโรป จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน ส่งท้ายปี 2567 ที่โลกทำสถิติร้อนที่สุดครั้งใหม่ รอยเตอร์รายงานอ้างนักวิทยาศาสตร์ว่า มีหลักฐานยืนยันว่า ภาวะโลกร้อนและผลกระทบกำลังส่งผลเร็วกว่าที่คาดการณ์กัน พร้อมกับยกตัวอย่างผลการวิจัยด้านสภาพอากาศล่าสุดที่น่ากังวลหลายประการดังต่อไปนี้ 1.โลกอาจร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสแล้ว แวดวงนักวิทยาศาสตร์กำหนดเกณฑ์ให้ประชาคมโลกต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงและไม่สามารถแก้ไขได้ ล่าสุดกลุ่มนักวิจัยได้ออกคำแนะนำในรายงานการศึกษาที่เผยแพร่ 1 วันก่อนเปิดการประชุมคอป 29 ว่า โลกอาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินจากเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ก๊าซในชั้นบรรยากาศอายุ 2,000 ปีที่ถูกดูดซับอยู่ในแกนน้ำแข็งของแอนตาร์กติกที่อยู่ใต้สุดของโลก ครอบคลุมช่วงเวลาก่อนหน้ายุคก่อนอุตสาหกรรม คือก่อนปี ค.ศ.1750 ไปอีกมาก และหากใช้อุณหภูมิปี ค.ศ.1850-1900 ที่นักวิทยาศาสตร์มักใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในปัจจุบัน ถือว่าขณะนี้โลกร้อนขึ้นเกือบ 1.3 องศาเซลเซียสแล้ว 2.เฮอริเคนเพิ่มพลัง กระแสน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นนอกจากทำให้พายุที่พัดผ่านทวีความรุนแรงขึ้นแล้ว ยังทำให้พายุทวีความรุนแรงเร็วขึ้นอีกด้วย เช่น เฮอริเคนมิลตันที่ใช้เวลาเพียง […]
บากู 11 พ.ย.- การประชุมโลกร้อน ซึ่งมีชื่อทางการว่า การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 29 หรือ COP29 เปิดฉากอย่างเป็นทางการแล้วที่อาเซอร์ไบจาน ประเทศริมทะเลแคสเปียน ตัวแทนจากภาคี 197 ประเทศ และสหภาพยุโรป เดินทางมาร่วมประชุมกันที่กรุงบากูของอาเซอร์ไบจานตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน วาระสำคัญเร่งด่วนของการประชุมครั้งนี้ คือ การระดมเงินทุนเพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาต่อสู้กับโลกร้อน โดยตั้งเป้าหมายให้ได้สูงสุดปีละ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 34 ล้านล้านบาท) เพื่อแทนที่เป้าหมายปี 2552 ที่ประเทศพัฒนาแล้วตั้งเป้าระดมเงินช่วยเหลือปีละ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.4 ล้านล้านบาท) ระหว่างปี 2563-2568 นอกจากนั้นยังมีความท้าทายที่จะต้องกำหนดเป้าหมายสู้โลกร้อนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตามความตกลงปารีสว่าด้วยโลกร้อนที่จัดทำร่วมกันมา นายมุกห์ตาร์ บาบาเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจานกล่าวเปิดการประชุมที่สนามกีฬาบากูสเตเดียมว่า โลกกำลังจะพังพินาศ การประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่จะต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงเรื่องการทำตามเป้าหมายโลกร้อน รอยเตอร์ระบุว่า อาเซอร์ไบจานที่เคยภาคภูมิใจว่ามีบ่อน้ำมันแห่งแรกของโลกเผชิญแรงกดดันจากที่ให้คำมั่นในการประชุม COP28 ที่ดูไบเมื่อปีก่อนว่า จะมีความคืบหน้าเรื่องลดการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเมื่อปีที่แล้วอาเซอร์ไบจานมีรายได้จากน้ำมันและก๊าซคิดเป็นร้อยละ 35 ของเศรษฐกิจประเทศ ลดลงจากร้อยละ 50 ในปี […]
ประเทศตูวาลู เรียกร้องให้สหประชาชาติเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ก่อนที่ตูวาลูจะจมหายไปในทะเล ซึ่งคาดว่าในอีก 26 ปีข้างหน้า
อ.ธรณ์ เผย ฝนถล่มในภาคเหนือเตือนได้แค่กว้างๆ ไม่สามารถเจาะลึกลงไปว่า RAIN BOMB จะเกิดที่ไหน เวลาใดบ้าง
ลอสแอนเจลิส 9 ก.ย.- ไฟป่าครั้งใหญ่ใกล้นครลอสแอนเจลิสหรือแอลเอของสหรัฐ ทำให้ต้องอพยพประชาชนหลายหมื่นคน และเสี่ยงสร้างความเสียหายกับอาคารสิ่งปลูกสร้างกว่า 35,000 หลัง ไฟป่าครั้งนี้ปะทุขึ้นในแถบชานเมืองซานเบอร์นาดิโน ทางตะวันออกของแอลเอเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดเกือบ 40 องศาเซลเซียสนานต่อเนื่องหลายวัน จากการประเมินล่าสุดเมื่อเช้าวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น ไฟได้เผาผลาญพื้นที่ป่าไปแล้ว 70 ตารางกิโลเมตร และยังลุกโหมในแถบอุทยานแห่งชาติที่ห่างจากแอลเอไปเพียง 100 กิโลเมตร ทางการของบางเขตจึงต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสั่งอพยพประชาชนในหลายพื้นที่จำนวนหลายหมื่นคนออกจากพื้นที่เสี่ยง เจ้าหน้าดับเพลิงเผยว่า มีการพยากรณ์อากาศว่า จะเกิดฝนฟ้าคะนองในช่วงหลายวันข้างหน้า ซึ่งหากเกิดลมแรงมาประกอบกับคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นในเวลานี้ จะยิ่งทำให้ไฟโหมไหม้รวดเร็วขึ้นและขัดขวางการควบคุมเพลิง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังจัดสรรกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าไปเพิ่มขึ้น สมทบกับเจ้าหน้าที่กว่า 600 คนที่พยายามต่อสู้กับไฟป่า โดยมีเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินคอยให้การสนับสนุน มีรายงานเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติหน้าที่ 3 นาย ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้นเช่นนี้เป็นผลโดยตรงจากสภาวะโลกร้อน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหรัฐรายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาอุณหภูมิใจกลางแอลเอเพิ่มสูงถึง 44 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เท่านั้น นับจากปี 2420 หรือเมื่อ 147 ปีก่อน.-812(814).-สำนักข่าวไทย