ทำเนียบ 15 ก.ย.- ศบค. เผยไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 13,798 ราย อาการหนัก 3,994 ราย ผู้เสียชีวิต 144 ราย ขณะที่กทม.จำนวนติดเชื้อลดลง แต่มีรายงานคลัสเตอร์ใหม่เป็นแคมป์คนงานเพิ่ม
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 13,798 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 12,117 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 1,208 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 451 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 22 ราย ป่วยสะสม 1,420,340 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 14,133 ราย หายป่วยสะสม 1,277,248 ราย กำลังรักษาอยู่ 128,546 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 41,183 ราย และโรงพยาบาลสนาม 87,363 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 3,994 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 806 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 144 ราย รวมเสียชีวิต 14,765 คน
ส่วนการฉีดวัคซีน สะสม 41.6 ล้านโดส วันนี้เพิ่มขึ้น 694,076 ราย แบ่งเป็นเข็มแรกสะสม 27.7 ล้านราย วันนี้เพิ่มขึ้น 228,352 รายเข็มสองสะสม 13.2 ล้านราย วันนี้เพิ่มขึ้น 464,749 ราย เข็มสามสะสม 617,550 ราย วันนี้เพิ่มขึ้น 975 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 144 ราย ชาย 77 ราย หญิง 67 ราย เป็นชาวไทย 144 ราย เมียนมา 3 ราย กัมพูชา 2 ราย อังกฤษ 1 ราย อายุน้อยสุด 22 ปี อายุมากสุด 96 ปีแบ่งเป็น กทม. 43 ราย สมุทรปราการ 20 ราย ชลบุรี 8 ราย ปทุมธานี 7 ราย สมุทรสาคร นนทบุรี จังหวัดละ 5 ราย นครปฐม ตาก สระบุรี จังหวัดละ 4 ราย นครราชสีมา อุตรดิตถ์ นราธิวาส สมุทรสงคราม นครนายก ลพบุรี ฉะเชิงเทรา จังหวัดละ 3 ราย ขอนแก่น อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 2 ราย อุดรธานี ยโสธร บึงกาฬ ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร สุราษฎร์ธานี ยะลา สตูล ระนอง สิงห์บุรี ระยอง ปราขีนบุรี จันทบุรี ตราด จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง พบผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 106 ราย อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 30 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 3 ราย ตั้งครรภ์ 1 ราย จ.นราธิวาส เสียชีวิตที่บ้าน 2 ราย กทม. และจ.สตูล ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนรู้จัก คนในครอบครัว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์ในประเทศภาพรวมแนวโน้มลดลงบางจังหวัดยังคงพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงยังคงต้องรักษามาตรการป้องกันฯ อย่างต่อเนื่องซึ่งมาตรการป้องกันส่วนบุคคล ร่วมกับมาตรการล็อกดาวน์ยังจำเป็นที่ใช้ควบคู่กัน ยังคงต้องป้องกันต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราการติดเชื้อยังคงสูงกว่าการคาดการณ์อยู่บ้าง อัตราการเสียชีวิต ยังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ส่วนจุดเสี่ยงในการแพร่ระบาดและทำให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ เช่น งานศพ โดยเฉพาะงานเลี้ยง การสังสรรค์ ยังคงมีการพบการลักลอบจัดกันอยู่ ตลาด ร้านอาหาร โรงงาน สถานประกอบการ ยังคงมีการพบคลัสเตอร์อยู่ กทม. มีรายงานการพบการติดเชื้อในแคมป์คนงานเข้ามาเพิ่มเติม แม้ กทม. ภาพรวมจะพบผู้ป่วยน้อยลงก็ตาม การค้นหาเชิงรุกด้วย ATK ยังคงเดินหน้าต่อไป อัตราการพบเชื้อราว 10% ซึ่งยังคงสูงอยู่
สำหรับ 10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 15 ก.ย. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 2,772 ราย 2. สมุทรปราการ 1,351 ราย 3. ชลบุรี 835 ราย 4. ระยอง 680 ราย 5. ราชบุรี 487 ราย 6. สมุทรสาคร 404 ราย 7. นนทบุรี 359 ราย 8. นราธิวาส 354 ราย 9. ปราจีนบุรี 345 ราย 10. สงขลา 327 ราย
ขณะที่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรวม 226,661,161 ราย อาการรุนแรง 102,529 ราย รักษาหายแล้ว 203,340,578 ราย เสียชีวิต 4,662,880 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 42,288,205 ราย 2. อินเดีย จำนวน 33,315,512 ราย 3. บราซิล จำนวน 21,019,830 ราย4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,282,810 ราย 5. รัสเซีย จำนวน 7,176,085 ราย ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 1,420,340 ราย.-สำนักข่าวไทย.