15 กรกฎาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
FDA ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่มีไมโครชิปหรือแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 และไม่มีส่วนประกอบใดในวัคซีนที่มีพลังงานแม่เหล็ก
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
เกิดกระแสโชว์คลิปวิดีโอนำวัตถุที่เป็นโลหะมาดูดติดที่ต้นแขน โดยผู้ทำคลิปหลายคนอ้างว่าสาเหตุที่ต้นแขนซึ่งผ่านการฉีดวัคซีนสามารถดูดโลหะเอาไว้ได้ เป็นเพราะวัคซีนมีไมโครชิปเป็นส่วนประกอบซึ่งทำให้เกิดพลังงานแม่เหล็กที่ต้นแขน ก่อนที่คลิปวิดีโอเหล่านั้นจะถูก Facebook ตั้งสถานะเป็นข่าวปลอมทั้งหมด
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ระบุอย่างชัดเจนว่าวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้ในสหรัฐฯ ไม่มีไมโครชิปหรือแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด
โทมัส โฮป นักวิจัยวัคซีน มหาวิทยาลัย Northwestern University สหรัฐอเมริกา อธิบายว่าส่วนประกอบหลักๆ ในวัคซีนได้แก่ โปรตีน, ลิปิด, เกลือ, น้ำ, สารเคมีควบคุมความเป็นกรดและด่าง (pH) ซึ่งไม่มีส่วนประกอบที่ก่อกำเนิดพลังงานแม่เหล็กได้
อัล เอ็ดเวิร์ด รองศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัย University of Reading จากประเทศอังกฤษ อธิบายกับนิตยสาร Newsweek ว่า ร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยสารชีวภาพแบบเดียวกับสารประกอบที่อยู่ในวัคซีน จึงเป็นไปไม่ได้ที่วัคซีนปริมาณเพียงเล็กน้อยจะทำให้เกิดพลังงานแม่เหล็กในร่างกายได้
เอ็ดเวิร์ด ฮัตชินสัน อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยไวรัส มหาวิทยาลัย University of Glasgow ในประเทศสก็อตแลนด์ อธิบายกับเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง Snopes ว่า จำเป็นต้องนำแม่เหล็กขนาดใหญ่ไปฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ถึงจะทำให้ต้นแขนมีพลังงานแม่เหล็กเหมือนที่แสดงในคลิป
เหตุการณ์ทำนองนั้นเคยเกิดขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อปี 2011 โดยแพทย์ผู้ทำการตรวจสอบเศษเหล็กที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังของเด็กชายที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างตอกตะปู โดยแพทย์หาตำแหน่งที่เศษเหล็กอยู่ใต้ผิวหนังด้วยการนำแม่เหล็กไปแนบบริเวณบาดแผลของเด็กชาย ปรากฏว่าเศษเหล็กที่อยู่ใต้ผิวหนังเคลื่อนที่ตามแรงดูดของแม่เหล็ก เมื่อทราบตำแหน่งแล้ว แพทย์จึงนำเศษเหล็กออกมาได้สำเร็จ
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.politifact.com/factchecks/2021/may/17/viral-image/no-these-videos-dont-prove-covid-19-vaccines-conta/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter