สำนักข่าวไทย ๙ ต.ค.- รัฐบาลเผยรายงานผลการดำเนินงาน ๑ ปี ในการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรื่องของรัฐบาล ตัวอย่างผลงานสำคัญของกระทรวงต่างๆ ดังนี้
- สำนักนายกรัฐมนตรี/สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โครงการพัฒนาและขยายผลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล (Integrated Complaint Management System) ศูนย์บริการประชาชนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕ และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๙ ฉบับ
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) การบริหารจัดการข้อร้องเรียน และพัฒนาระบบบริการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค “ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์” “ระบบไกล่เกลี่ยออนไลน์” “ระบบจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง”
- กระทรวงกลาโหม โครงการหน่วยแพทย์ทหารเคลื่อนที่ออกให้บริการด้านการแพทย์ให้กับประชาชนถึงบ้าน
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ National Single Window (NSW)
- กระทรวงมหาดไทย การพัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ การอนุมัติ หรืออนุญาตทางราชการด้วยระบบดิจิทัลใน โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน ระยะที่ ๒ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลการถือครองที่ดินทั้งประเทศ ๑) จัดตั้งศูนย์สารสนเทศที่ดิน ๒ แห่ง ๒) ถ่ายโอนข้อมูลที่ดินจากสำนักงานที่ดิน แล้วเสร็จแล้ว ๑๐๑ สำนักงาน
๒. การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการประกอบธุรกิจของประทศไทย เพื่อการประเมินความยาก–ง่าย ในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) มีผลการดำเนินงาน 1)พัฒนาโปรแกรม LandsMaps รวมผู้รับบริการ จำนวน ๒๖๒,๑๓๓ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๙๒ ของนิติบุคคลที่มาติดต่อกับสำนักงานที่ดิน (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓) โปรแกรมคำนวณภาษีอากรในการคิดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ผ่านเว็บไซต์ http://lecs.dol.go.th/rcal ทำให้ประชาชนไม่ต้องเดินทางไปติดต่อ ณ สำนักงานที่ดิน มีผู้เข้าใช้บริการแล้วจำนวน ๗๔๘,๕๘๐ ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓) การสร้างความโปร่งใส โดยการเปิดเผยข้อมูล กรมที่ดินพัฒนาระบบเผยแพร่ประกาศสำนักงานที่ดินผ่านอินเตอร์เน็ต (e-landsAnnouncement) เพื่อการรักษาสิทธิในที่ดินของประชาชนทาง http://announce.dol.go.th ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ มีผู้ใช้บริการจำนวน ๕๗,๖๙๒ ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓) กรมที่ดินเปิดให้บริการ Line Official Account : @teedin กระทรวงคมนาคม การดำเนินการด้านรถโดยสารสาธารณะ ผ่านแอปพลิเคชัน ช่วยเหลือผู้ประกอบการรถรับจ้างโดยสารสาธารณะ (TAXI) รับชำระภาษีรถประจำปีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax) การพัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการท่าเรือโดยสารสาธารณะในแม่น้ำเจ้าพระยา เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน ๒๙ ท่า
- กระทรวงยุติธรรม “ยุติธรรมใส่ใจ (Justice Care)” ลงพื้นที่แจ้งสิทธิให้กับผู้เสียหาย หรือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถลงไปช่วยเหลือประชาชนภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่ได้รับแจ้งเหตุ
- กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ การอนุมัติหรืออนุญาตทางราชการด้วยระบบดิจิทัลในอนาคต และพัฒนาระบบการทดสอบทางการศึกษาแบบดิจิทัล (National Digital Testing Platform)
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โครงการพัฒนามาตรฐานและมาตรการที่เชื่อถือได้เพื่อเร่งกระบวนการอนุมัติแบบดิจิทัล (Speed-up e-Licensing) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาต หรือเอกสารหลักฐานของภาครัฐให้เป็นระบบดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชน โครงการกำกับดูแลบริการเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Governance) โครงการผลักดันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลตามข้อกำหนดของกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Law Compliance for Government’s Digital Transformation under Electronic Transaction Law) มีระบบและกลไกดูแลความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐ (GMS) จำนวน ๑๓๐ หน่วยงาน พร้อมข้อมูลวิเคราะห์เชิงสถิติการแจ้งเตือนและดำเนินการเพื่อระงับหรือป้องกันการโจมตีที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงกับระบบที่มีการเฝ้าระวังโดย ThaiCERT ภายใน ๑ ชั่วโมง หลังจากได้ผลการวิเคราะห์ โดยมีผลลัพธ์ของการตอบสนองตาม SLA อยู่ที่ร้อยละ ๙๔.๒๕ มท
- กระทรวงแรงงาน
๑. การออกกฎหมายลำดับรอง ได้แก่ ๑) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ ๒) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ….
๒.การพัฒนาการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) (ณ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓) ดังนี้ ผ่านระบบe – Payment โดยมีธนาคารให้บริการ ๙ แห่ง มีสถานประกอบการใช้บริการ จำนวน ๘๐,๐๙๑ ราย ๒) นายจ้างในการยื่นแบบเงินสมทบผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(e-Filing) ให้กับผู้ประกันตน จำนวน ๙.๒๔ ล้านคน ๓) พัฒนาระบบใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e–receipt) มีนายจ้างใช้บริการจำนวน ๓.๒๙ ล้านรายการ ๔) ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนผ่าน Application บนมือถือ “SSO Connect Mobile” ได้แก่ ยอดเงินสะสมกรณีชราภาพ ตรวจสอบเงินสมทบตรวจสอบการเบิกจ่ายสิทธิประโยชน์และเปลี่ยนสถานพยาบาล มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น ๗.๒๔ ล้านราย ๕) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสถานประกอบการ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำให้นายจ้างที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถขึ้นทะเบียนกับประกันสังคมและเปลี่ยนแปลงข้อมูลนายจ้างโดยอัตโนมัติ
๓.จัดทำระบบการให้บริการประชาชน จำนวน ๗ ระบบ ๑ แอปพลิเคชัน ดังนี้ ๑) ระบบสมัครฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ๒) ระบบสมัครทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ๓) ระบบยื่นขอรับรองความรู้ความสามารถ ๔) ระบบยื่นขอมีสมุดประจำตัว ๕) ระบบยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมิน ๖) ระบบยื่นขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ๗) ระบบยื่นขอประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ๘) แอปพลิเคชันรวมช่าง
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ โครงการการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้บริการประชาชนในโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พัฒนาระบบฐานข้อมูลเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด รองรับการขยายระยะเวลาให้เงินอุดหนุนฯ ตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ ปี ขยายฐานรายได้ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อคน ต่อปี
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ระบบการให้บริการฝึกอบรมแบบออนไลน์ ระบบ No copy เพื่อให้ประชาชน/ลูกค้า ไม่ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน จัดทำโครงการ G Map เพื่อบูรณาการข้อมูลโครงการต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงฯ พร้อมเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการ และการให้บริการต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน ศอ บต จัดตั้งศูนย์ประสานงานและบริการการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ จชต. (One Start One Stop for Development Center : OSOS) ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการค้า และการลงทุน เปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ๑๘๘๑