ธปท.เผยเศรษฐกิจ มี.ค.หดตัวหนัก คาดไตรมาสแรกติดลบ

กรุงเทพฯ 30 เม.ย. – ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนมีนาคม 2563 หดตัวหนัก หลังเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวดับ ขณะที่จีดีพีไตรมาส 1 คาดติดลบ และจะติดลบสูงขึ้นไตรมาส 2  


นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนมีนาคม 2563 หดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ จากการที่เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหดตัวเกือบทุกตัว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเดือนมีนาคมติดลบ 76.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศในหลายประเทศรวมถึงไทย เพื่อควบคุมการระบาดของโรค COVID-19  

ขณะที่การส่งออกติดลบ 2.2% แต่หากไม่รวมส่งออกทองคำจะติดลบสูงถึง 6.5% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนตามการใช้จ่ายเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นและการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวได้ ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอลง เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ติดลบสูงถึง 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 


อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้ากลับมาขยายตัว 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หลังจากหดตัวสูงในเดือนก่อนหน้า หากไม่รวมการนำเข้าทองคำ มูลค่าการนำเข้าขยายตัว 1.3% ตามการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง โดยเฉพาะการนำเข้าจากจีน จากการผ่อนคลายมาตรการการปิดเมือง เช่นเดียวกับการใช้จ่ายของภาครัฐที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ตามการทยอยเบิกจ่ายภายหลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 เป็นหลัก 

นายดอน กล่าวว่า เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยปรับไปในทิศทางที่แย่ลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ตามการปรับลดลงของราคาน้ำมัน ขณะที่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 คาดจะติดลบและติดลบสูงขึ้นในไตรมาส 2 โดยเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแบบตัว U หรือตัว V ขึ้นอยู่กับจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาได้เร็วแค่ไหน ซึ่งแม้หลายประเทศสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น และเริ่มทยอยปลดล็อคการล็อกดาวน์ ก็ไม่แปลว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาเร็ว และยังเป็นปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า แม้ขณะนี้จะกลับมาแข็งค่าแล้วก็ตาม นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังกังวลเศรษฐกิจโลกอาจฟื้นตัวแบบตัว W หรือมีแนวโน้มที่ไวรัสโควิด-19 อาจกลับมาระบาดอีกครั้ง 

ทั้งนี้ ยังต้องติดตามการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการขนาดใหญ่ โดยในส่วนของซอฟท์โลนของแบงก์ชาติ วงเงิน 500,000 ล้านบาท หากถูกนำไปใช้ทั้งหมดจะมีผลเกือบ 3% ของจีดีพี และในส่วนของรัฐบาล 1 ล้านล้านบาท หากเข้าสู่ระบบทั้งหมดและตรงกลุ่มเป้าหมายจะมีผล 6% ต่อ จีดีพี ซึ่งถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลที่จะต้องเบิกจ่ายเงินให้เร็วและตรงจุดที่สุด .- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง