fbpx

พาชมโรงแรม Hospitel แบ่งเบาภาระโรงพยาบาล

3 เม.ย.-เปลี่ยนโรงแรมเป็น Hospitel เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและโรงแรม ขณะนี้ได้ห้องพักแล้วรวม 800 ห้อง มีผู้เข้าพักรักษา 60 คน มีโรงแรมจากทั่วประเทศเสนอเข้าร่วมกว่า 100 แห่ง รวมกว่า 1.6 หมื่นห้อง ขณะนี้ผ่านเกณฑ์แล้ว 18 แห่ง รวมกว่า 2 พันห้อง


การเตรียมพร้อมเปลี่ยนโรงแรมเป็น Hospitel  คุณภัทรดนัยพาไปดูโรงแรม 2 แห่งในการจัดการบริหารเตียงคนไข้ ในลักษณะของ Hospitel คือ โรงแรมปริ๊นซ์ตัน มีจำนวน 270 ห้องพัก ขณะนี้รองรับผู้ป่วยแล้วจำนวน 50 คนและเตรียมเข้าพักเพิ่มอีกประมาณ 10 คน ส่วนโรงแรมเดอะพาลาสโซ และโรงแรมในเครือ มีห้องพัก 439 ห้อง โดยจะรองรับผู้ป่วยใน 2 กรณีคือกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าคนไข้เข้าข่ายการกักตัวเพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงต้องสังเกตอาการจำนวน 14 วัน ส่วนอีกกลุ่ม คือผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมแม้ว่า แพทย์ยังไม่วินิจฉัยว่าต้องกักตัวก็สามารถเข้ากักตัวเองตามสถานพยาบาลที่เข้าร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสังเกตอาการได้


สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมเป็น Hospitel ว่า ต้องมีจำนวนห้องพักไม่น้อยกว่า 30ห้องขึ้นไป มีใบอนุญาตถูกต้อง มีโครงสร้างอาคาร และอุปกรณ์ต่างๆที่พร้อม สะดวกในการสนับสนุนภารกิจ โดยเฉพาะเรื่องสุขอนามัย ทั้งระบบกำจัดขยะ การซักผ้าติดเชื้อ ระบบระบายน้ำเสีย ซึ่งการที่โรงแรมเหล่านี้มาร่วมให้กระทรวงสาธารณสุขใช้เป็นที่รองรับคนไข้นั้น ทางกระทรวงจะพิจารณาค่าตอบแทนให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมตามหลักการเบิกจ่ายของภาครัฐ


นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ตอนนี้มีโรงแรมต่างๆ ทั่วประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ Hospitel อีกจำนวนมาก เช่นใน กทม.มี 85 แห่ง,ชลบุรี 15แห่ง,นครราชสีมา 8 แห่ง ,เชียงใหม่ 6 แห่ง  รวมทั่วประเทศมีห้องพักที่พร้อมจะเข้าร่วมมากถึงกว่า 16,000 ห้อง แต่ขณะนี้โรงแรมที่ผ่านเกณฑ์จาก สบส.มี 18 แห่ง รวมแล้วกว่า 2,000 ห้องที่พร้อมจะเข้าร่วม ซึ่งตัวเลขที่แต่ละโรงแรมได้รับอาจน้อยนิดเทียบไม่ได้กับค่าโรงแรมที่เคยได้รับในช่วงปกติ ต้องถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้คือผู้เสียสละเพื่อสังคม จึงอยากให้ร่วมกันชื่นชม

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายถึงผู้ติดเชื้อที่จะเข้ารับการพักฟื้น Hospitel จะพิจารณาจากคนไข้เป็นหลักโดย 

1.คนไข้นอนดูแลรักษาในโรงพยาบาลหลักแล้วอย่างน้อย 7 วัน 

2. คนไข้ไม่มีอาการอะไรเท่าไหร่แล้ว เช่น อาจจะไอนิดหน่อย และไม่มีไข้ 

3.มีโรคประจำตัวที่คุมได้ เช่น เบาหวาน หรือความดันสูงที่คุมได้ และจะต้องมีการจัดยาสำหรับโรคประจำตัวมาพร้อมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 

4. คนไข้ยินดีที่จะเข้ารับการพักฟื้นที่โรงแรม โดยจะมีการประเมินสุขภาพจิตก่อน ต้องไม่ก้าวร้าว หรือไม่มีภาวะซึมเศร้า 

5.โรงพยาบาลหลักที่ดูแลในระยะแรกจะต้องยินดีรับคนไข้กลับไปดูแลหากมีความจำเป็น

สำหรับในห้องพักจะจัดเครื่องมือที่สำคัญไว้ 2 ชิ้น คือ เทอร์โมมิเตอร์อัตโนมัติและเครื่องวัดระดับออกซิเจนที่หลายนิ้ว เพราะผู้ติดโควิด-19ที่กลัวที่สุดคือการโจมตีที่ปอด และการส่งสัญญาณคือระดับออกซิเจนที่ลดลง คนไข้จะอยู่ในห้องตลอดเวลา จะเปิดประตุมาเฉพาะช่วงเวลารับอาหารไปทานในห้องเท่านั้น

นอกจากนี้ยังได้จัดเตรียมทีมแพทย์พยาบาลในการดูแลคนไข้ โรงแรมละ 3-5 คน มาดูแล โดยจะดูแลผ่านกล้องซีซีทีวีที่มีการเชื่อต่อและเห็นความเคลื่อนไหวทุกห้อง และในห้องพักจัดเตรียมอุปกรณ์วัดไข้ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเอ็กซเรย์ปอด เพื่ออำนวยความสะดวกในการรักษาดูแลคนไข้อีกด้วย ยืนยันมีมาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดทุกแห่ง

ขณะเดียวกันหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลาย ทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีระบบทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างดี มีมาตรฐานให้กับโรงแรม กลับมาเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวได้ จึงขอให้มั่นใจในระบบการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขที่จะดูผู้เสียสละให้กับสังคมในเวลานี้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย