fbpx

ล่องเรือชิลๆ เที่ยวกรุงเทพฯ ลัดเลาะแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า | คู่ข่าวออนทัวร์ กำภู-รัชนีย์ (4 พ.ค.66)

คู่ข่าวออนทัวร์ กำภู-รัชนีย์ (4 พ.ค.66)

-ล่องเรือชิลๆ เที่ยวกรุงเทพฯ ลัดเลาะแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า

-ปลาทูนึ่งโฮมเมด ร้านเก่าแก่ วิถีชีวิตที่ซ่อนตัว “คลองด่าน”

-แวะบ้านศิลปิน คลองบางหลวง

ข่าวปลอม สัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่งเป็นมะเร็ง

สถาบันมะเร็งฯ 30 ก.ย.-สถาบันมะเร็งฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังมีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เรื่อง “การสัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่งทำให้เป็นมะเร็งที่มือ” พบว่าข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สารกันบูดเป็นสาร ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาโดยการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวอย่างของสารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก พาราเบนส์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ เป็นต้น สารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้จะผ่านการประเมินความปลอดภัยและมีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการสุ่มตรวจหรือสำรวจปริมาณการตกค้างของสารเหล่านี้ให้อยู่ในค่าไม่เกินมาตรฐาน จากกรณีที่เป็นข่าวว่าการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูทำให้เป็นมะเร็งที่มือนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดส่งผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า กระบวนการผลิตปลาทูนึ่ง ถือเป็นการถนอมอาหารอยู่แล้วซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพปลาทูไว้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้ในระยะหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูด อย่างไรก็ตาม หากมีแผลที่มือควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ เพราะจะทำให้การหายของแผลช้าลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ควรเลือกซื้อปลาทูนึ่งจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ และก่อนรับประทานควรนำมาผ่านความร้อนทุกครั้ง.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ : ปลาทูนึ่ง ต้องระวังสารกันบูดจริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนจากแม่ค้าขายปลาทูนึ่ง ให้ระวังการใส่สารกันบูดในปลาทูนึ่ง ซึ่งจะทำให้เกิดมะเร็งที่มือได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...