บล.ภัทรปรับจีดีพีปี 63 เหลือ 2.2%

กรุงเทพฯ 5 ก.พ. – บล.ภัทรปรับลดประมาณการณ์จีดีพีปี 63 เหลือ 2.2% หลังยังเผชิญปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการระบาดของไวรัสโคโรนาและการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า พร้อมคาด กนง.วันนี้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจ


นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหัวหน้าเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บล.ภัทรมองไตรมาส 1 ปีนี้ “ชวด” จากปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ การระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะกระทบต่อจีดีพี 1.5% ต่อเดือน จากการที่นักท่องเที่ยวลดลง พร้อมมองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนามีความรุนแรงกว่าตอนเกิดการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส 

ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ที่ขณะนี้มีความล่าช้าไปแล้ว 4 เดือน และมองว่าจะล่าช้าออกไปอีก ทำให้เม็ดเงินที่ควรเบิกจ่ายเข้าระบบช่วงต้นปีหายไป 260,000 ล้านบาท  ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ นอกจากนี้ ภัยแล้งที่เกิดขึ้นยังทำให้ผลผลิตภาคเกษตรลดลงกระทบรายได้ภาคเกษตร ส่งผลต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และภาคอุตสาหกรรมอาจต้องปรับลดกำลังการผลิตเพื่อประหยัดน้ำและรับต้นทุนของวัตถุดิบและการบริหารจัดการน้ำที่เพิ่มขึ้น จึงได้ปรับประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2563 ลดลง จากเดิมคาดจะขยายตัว 2.8% เหลือ 2.2%


พร้อมกันนี้ประเมินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.วันนี้ (5 ก.พ.) จะได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและนโยบายการคลังที่มีข้อจำกัดอาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อประครองเศรษฐกิจในช่วงนี้ และหากสถานการณ์ปัจจัยลบยังไม่คลี่คลายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่า 1.25% เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์

สำหรับผลดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรปี 2562 พบว่าธุรกิจฝ่ายตลาดทุนหลายส่วนได้รับประโยชน์จากความผันผวนในตลาด เช่น ธุรกิจการลงทุนของฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าสถาบัน ซึ่ง บล.ภัทร ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ธุรกิจวานิชธนกิจที่มีธุรกรรมรายการใหญ่หลายรายการ อาทิ AWC และธุรกิจ Wealth Management และธุรกิจจัดการกองทุน ซึ่งปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ 600,000  ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 100,000 ล้านบาท

ขณะที่การดำเนินงานของธนาคารเกียรตินาคินปี 2562 สินเชื่อขยายตัว 4.2% จากสิ้นปี 2561 จากการขยายตัวสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี และสินเชื่อรายย่อยเกือบทุกประเภท ยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีการหดตัว ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมสิ้นปี 2562 อยู่ที่ 4% ลดลงจากสิ้นปี 2561 ที่อยู่ที่ 4.1% โดยปี 2563 ธนาคารเกียรตินาคินคาดว่าจะมีสินเชื่อของธนาคารเติบโตได้ในช่วง 7-9% .- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง