กรมปศุสัตว์ใช้อี-สมาร์ทพลัสป้องกันโรค ASF

กรุงเทพฯ 10 ก.ย. – กรมปศุสัตว์เดินหน้าทำแผนที่เกษตรกร ด้วยอี-สมาร์ทพลัส เพิ่มประสิทธิภาพป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรให้เข้มงวดยิ่งขึ้น


นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เร่งบูรณาการทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) อย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น เนื่องจากเกิดการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งระยะนี้ทุกภูมิภาคของไทยมีสภาพอากาศแปรปรวนทั้งฝนตกและน้ำท่วมขัง ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ร่วมมือกับภาคเอกชนและชุมชนเร่งสำรวจฟาร์มเกษตรกรรายย่อย โดยใช้แอปพลิเคชั่น e-Smart Plus (อี-สมาร์ทพลัส) เพื่อจัดทำแผนที่เกษตรกรรายย่อยในประเทศ สำหรับประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ทันที ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา ควบคู่กับการยกระดับระบบป้องกันโรคในฟาร์มของเกษตรกร

“กรมปศุสัตว์ระดมเจ้าหน้าที่สำรวจฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา นำแอปพลิเคชั่นอี-สมาร์ทพลัสช่วยประเมินความเสี่ยงไปแล้วกว่า 66,500 ฟาร์ม คิดเป็นร้อยละ 60 ของเป้าหมาย และจะทำแผนที่ให้ครบทุกจังหวัดภายในสิ้นปีนี้” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว 


สำหรับระบบอี-สมาร์ทพลัสช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานง่ายขึ้น เพียงบันทึกข้อมูลในโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ทจะทราบผลทันที ทำให้การวางแผนเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น สามารถสร้างเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยในการแจ้งข่าวสารและป้องกันโรค ASF อย่างทั่วถึง แต่ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานพบโรคดังกล่าวในไทย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคเอกชน รวมถึงสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดต่าง ๆ ยกระดับการป้องกันฟาร์มให้เคร่งครัด แม้ว่าฟาร์มของผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งหมดเป็นฟาร์มระบบปิดและมีการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดอยู่แล้วก็ตาม ขณะเดียวกันภาคเอกชนยังสนับสนุนงบประมาณและกำลังคน ช่วยให้การป้องกันโรค ASF ในประเทศไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ส่วนเกษตรกรรายย่อยนั้น กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือปรับปรุงฟาร์มและกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่น การปรับปรุงรั้ว เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์อื่น ๆ เข้าในฟาร์ม การไม่นำเศษอาหารมาใช้เลี้ยงสุกร การฆ่าเชื้อก่อนนำเครื่องมือหรือยานพาหนะเข้าสู่ฟาร์ม การห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม การไม่เอาสุกรป่วยหรือตายออกนอกฟาร์ม รวมทั้งติดตามข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ ตลอดจนไม่ตื่นตระหนก หรือหลงเชื่อข่าวลือต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรในการผลิตสุกรอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารมากยิ่งขึ้น.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง