ห่วงเด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์

มักกะสัน 19  ส.ค. – กรมเด็กฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายออกแนวทางเลี้ยงลูกยุคดิจิทัล พร้อมเรียกร้องทุกฝ่ายเร่งมาตรการคุ้มครองป้องกันเด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์ หลังผลสำรวจพบเด็กไทยมีความเสี่ยงจากภัยออนไลน์หลายรูปแบบ  


กรมกิจการเด็กและเยาวชน โดยศูนย์ประสานงานส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ หรือ โคแพท (COPAT – Child Online Protection Action Thailand) แถลงผลสำรวจที่ทำร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เกี่ยวกับสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ซึ่งสำรวจทางออนไลน์ เมื่อเดือน ก.พ.-เม.ย. 2562 กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 6-18 ปี จำนวน 15,318 คน จากทั่วประเทศ


นางศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เปิดเผยผลสำรวจว่า เด็กเกือบทั้งหมดเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์แต่ก็ตระหนักเรื่องภัยอันตรายและความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กร้อยละ86 เชื่อว่าสามารถให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบภัยออนไลน์ได้ ขณะที่ร้อยละ 54 เชื่อว่าเมื่อเกิดกับตนเองสามารถจัดการปัญหาได้ เด็กมากกว่าร้อยละ 83 ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ใช้เพื่อพักผ่อน/บันเทิง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เป็นหลัก คือร้อยละ67 , เด็กร้อยละ 39 ใช้อินเทอร์เน็ต 6 – 10 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 38 เล่นเกมออนไลน์มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งการใช้มากเกินไปเสี่ยงต่อการเสพติดเกมและอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิต 


เด็กร้อยละ 31 เคยถูกกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ เพศทางเลือกโดนมากที่สุด คือร้อยละ 49 เด็กร้อยละ 40 ไม่ได้บอกใครเกี่ยวกับเรื่องที่โดนกลั่นแกล้ง นั่นหมายถึง เด็กบางส่วนอาจทนทุกข์กับเรื่องที่โดนแกล้ง หรือบางส่วนอาจไม่รู้สึกหรือไม่ได้ให้ค่ากับคนที่แกล้ง อย่างไรก็ดีเด็กร้อยละ 34 เคยกลั่นแกล้งรังแกคนอื่นทางออนไลน์ ซึ่งส่วนหนึ่งบอกว่าเป็นการโต้ตอบที่ตนเองโดนแกล้ง การกลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ สร้างความทุกข์ เจ็บปวด เก็บกด หดหู่ บาดแผลทางใจให้กับเด็ก ซึ่งอาจส่งผลต่อร่างกาย ทำให้นอนไม่หลับ เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นโรคหวาดระแวง ใช้สุราหรือสารเสพติด อาจถึงขั้นทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตายได้ พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครู ควรหมั่นสังเกตอาการเด็กแล้วเข้าช่วยเหลือโดยเร็ว อย่าคิดว่าเป็นเรื่องของเด็กอีกประเดี๋ยวคงผ่านไป เพราะภาพหรือคลิปวิดีโอบนโลกออนไลน์นั้นจะวนเวียนทำร้ายเด็กไม่สิ้นสุด

เด็กร้อยละ 74 เคยพบเห็นสื่อลามกอนาจารทางออนไลน์ ร้อยละ50 เคยพบเห็นสื่อลามกอนาจารเด็ก ร้อยละ 6 เคยครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก เคยส่ง ส่งต่อหรือแชร์ สื่อลามกอนาจารทางออนไลน์ ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เด็กร้อยละ 2 ยอมรับว่าเคยถ่ายภาพหรือวิดีโอตนเองในลักษณะลามกอนาจารแล้วส่งให้คนอื่น ๆ ด้วย

เด็กร้อยละ 26 เปิดอ่านอีเมลหรือคลิก link ที่ไม่รู้จัก ร้อยละ 34 ให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์   วันเดือนปีเกิด ภาพถ่ายของตัวเองหรือครอบครัวผ่านสื่อออนไลน์ ร้อยละ 35 เคยถ่ายทอดสดหรือ live ในขณะที่ร้อยละ 69 แชร์โลเคชั่นหรือเช็คอินสถานที่ต่าง ๆ ที่ไป พฤติกรรมเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่อาจนำภัยอันตรายมาถึงตัว

เด็ก 1 ใน 4 ที่ตอบแบบสอบ (3,892 คน หรือร้อยละ 25.4)  เคยนัดพบกับเพื่อนออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง และยอมรับว่าถูกเพื่อนที่นัดพบกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างต่อไปนี้ พูดจาล้อเลียน ดูถูก ทำให้เสียใจ (199 คน หรือร้อยละ 5.1)  หลอกให้เสียเงินหรือเสียทรัพย์สินอื่น ๆ (80 คน หรือร้อยละ 2.1) ละเมิดทางเพศ (73 คน หรือร้อยละ 1.9) ทุบตีทำร้ายร่างกาย (67 คน หรือร้อยละ 1.7)  และ ถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโอแล้วนำไปประจาน และ/หรือ ข่มขู่เรียกเงิน (50 คน หรือร้อยละ1.3)

นางธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสื่อออนไลน์ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน มี.ค.-ก.ค.2562 ซึ่งกรมกิจการเด็กฯ ร่วมกับสมาคมฯ พบว่ามีรายงานข่าวสถานการณ์สื่อออนไลน์ผ่านสื่อมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ เฉลี่ย17 ข่าวต่อสัปดาห์ แบ่งเป็น 5 มิติ คือ 1) ประเภทกลุ่มเป้าหมายในเชิงธุรกิจ 2) ประเภทของภัยผ่านสื่อออนไลน์ 3) ประเภทของกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 4) ประเภทขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 5) ประเภทผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งบวกและลบ 

มีข่าวคราวที่โดดเด่นในเชิงนโยบาย อาทิ ข่าวที่มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิ การชุดต่างๆ ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีคณะกรรมาธิการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาที่นำภารกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริมอีสปอร์ตเข้าไปเป็นหนึ่งในภารกิจของคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวด้วย  นับว่ามีความสำคัญต่อการกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและลดผล กระทบจากการเล่นเกมออนไลน์ของเด็กไทยเป็นอย่างยิ่ง   

นอกจากนี้ยังมีข่าวการคัดตัวผู้เข้าแข่งขันในระดับชาติและการนำเสนอกระบวนการคัดเลือกทีมอีสปอร์ตเพื่อเป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับ ประเทศด้วย ซึ่งข่าวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มความรุ่งเรืองของการแข่งขันเกมออนไลน์ในเด็กและเยาวชนที่มีประเด็นให้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

กรมกิจการเด็กฯ คณะอนุกรรมการส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ได้ออกมาตรการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ เป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากข้อมูลจากการสำรวจที่มาจากเด็กและการติดตามสถานการณ์ผ่านสื่อในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นข้อมูลที่ยืนยันว่าเราต้องจริงจังกับมาตรการป้องกันและช่วยเหลือเด็กให้มากยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ กรมกิจการเด็กฯโดย COPAT ร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ได้จัดทำ “แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” หรือ Child Online Protection Guidelineประกอบด้วยข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักรูปแบบของภัยออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน การรับมือกับ Cyber bullying การป้องกันเด็กติดเกม แนวทางการเลี้ยงลูกยุคดิจิทัล ซึ่งต้องติดอาวุธ รู้เท่าทันสื่อ และความฉลาดทางดิจิทัล หรือ DQ ให้เด็ก หวังให้ทุกบ้านมีไว้ใช้ดูแลบุตรหลานในยุค 4.0 ดาวน์โหลดฟรี ได้ที่ facebook COPATcenter และ https://inetfoundation.or.th/Welcome/media_download?id=136 .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

งานบอล “ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 ล้อการเมืองจัดเต็ม

ฟุตบอลประเพณี “ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 เริ่มแล้ว ล้อการเมืองจัดเต็ม หลังอัดอั้นมา 5 ปี เหน็บ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้เป็นรัฐมนตรี” หุ่น “พิธา-ทักษิณ” วิวาห์ล่ม ปล่อยประชาชนลอยแพ จำลอง “แก้รัฐธรรมนูญ” ถามแก้ชาติไหน บอกกูที

ไฟไหม้บ้านอาจารย์ ม.ดัง ภรรยาวัย 69 ดับสลด

ระทึกกลางดึก! ไฟไหม้บ้านอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดัง ภรรยาวัย 69 ปี หนีไม่ทัน ดับสลด คาดต้นเพลิงเกิดจากแบตเตอรี่รถจักรยานไฟฟ้าระเบิด

ระทึก! แผงเหล็กเวทีถล่ม ขณะ “ซาบีดา” เปิดงานที่ยโสธร

ระทึก! แผงเหล็กเวทีถล่ม ขณะ “ซาบีดา” เปิดงานที่ จ.ยโสธร เจ้าตัวบาดเจ็บเล็กน้อย โชว์สปิริตเปิดงานต่อ ด้าน สส.ยโสธร ภท. เจ็บหนัก กระดูกสันหลังแตก

ข่าวแนะนำ

เตรียมเปิดภาพบาดแผล “แตงโม” ถูกแทง พรุ่งนี้

ดีเอสไอคาดรู้ผลเก็บข้อมูลตาม GPS เรือ ภายใน 2 สัปดาห์ ด้าน “ปานเทพ” พอใจการเก็บรวบรวมข้อมูลวันนี้ เตรียมเปิดหลักฐานภาพบาดแผล “แตงโม” ถูกแทง

“ภูมิธรรม” ส่งหนังสือประท้วง “เขมร” โผล่ร้องเพลงปลุกใจ

“ภูมิธรรม” ไม่สบายใจ “เขมร” โผล่ร้องเพลงปลุกใจ แสดงสัญลักษณ์บนปราสาทตาเมือนธม ส่งหนังสือประท้วง ไม่อยากให้เป็นประเด็นขัดแย้ง

นายกฯ ลงพื้นที่ทะเลน้อย รับปากแก้ปัญหาตื้นเขิน-กำจัดวัชพืช

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ทะเลน้อย พัทลุง ป้อนหญ้าควายทะเล รับปากแก้ปัญหาตื้นเขิน-กำจัดวัชพืช ลั่นทำให้หมดทุกพื้นที่ไม่มีเลือก ปลื้มชาวบ้านอวยผลงาน “ทักษิณ” สร้างถนน-สะพานเชื่อมพัทลุง-สงขลา อ้อน แหลงใต้ไม่เป็นยังรักอยู่ไหม ดีใจได้ฟังปัญหาจากปาก ปชช. สัญญาจะกลับไปทำการบ้านเพิ่ม บอกถ้าคนไทยรวย รัฐบาลก็เข้มแข็ง ขณะที่ชาวบ้านแห่ให้กำลังใจ ตะโกน “นายกฯ สู้สู้”