ดีอีทำงานเชิงรุกร่วม 12 หน่วยงาน ป้องกันภัยออนไลน์

“ประเสริฐ” ชี้ ดีอีทำงานเชิงรุกร่วม 12 หน่วยงานให้ความรู้ประชาชนป้องกันภัยออนไลน์ ตั้งเป้าปี 69 ของบกลางให้ทุกกระทรวง-หน่วยงาน ใช้ระบบคลาวด์ภาครัฐ เน้นเอกสารดิจิทัล ลด ค่าใช้จ่ายโปร่งใส ตรวจสอบได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวัง QR CODE ในจดหมายราชการปลอม นั้น 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็น QR CODE จริง เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บนเว็บไซต์ของสำนักงานศาลปกครอง ยืนยันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นของจริง โดยเป็นแบบสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลปกครอง ทั้งนี้วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า สำนักงานศาลปกครองได้ปิดรับแบบสำรวจฯ เนื่องจากได้จำนวนครบที่ต้องการแล้ว 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า ก่อนหน้านี้เคยมีจดหมายจริงจากหลายองค์กรถูกทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นมิจฉาชีพ ทั้ง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ใบสั่งจราจร  ไปรษณีย์ไทย ธนาคารกสิกรไทย 👉 สำหรับกรณีที่ “สแกนแล้ว ถูกดูดเงินในบัญชีจนหมดบัญชี” ในทันทีนั้น มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านการสั่งงานและกดยืนยันหลายขั้นตอน ซึ่งคนร้ายมักจะใช้วิธีการ หลอกให้ติดตั้งแอป หลอกให้กรอกข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการโจรกรรมอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีขั้นตอนมากกว่าการสแกนในคราวเดียว 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เตือน ! สั่งของผ่านไลฟ์ ระวังโจรสวมรอย ทักหา

17 ตุลาคม 2566 ขาชอปออนไลน์ต้องระวัง ! เพราะตอนนี้มิจฉาชีพมีมุกใหม่ สวมรอยเป็นเพจดัง ทักหา หลอกให้โอนเงิน จากสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – วันที่ 14 ตุลาคม 2566 พบว่า การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ มีผู้เสียหายแจ้งความออนไลน์กว่า 137,719 เรื่อง หรือคิดเป็น 40.12% จากเรื่องการรับแจ้งความทั้งหมด สูงเป็นลำดับที่ 1 โดยมีมูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า และตอนนี้อุบายที่คนร้ายใช้ คือ จะทักไปหาผู้เสียหายที่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้าในระหว่างการไลฟ์สดของเพจร้านค้าต่าง ๆ โดยผู้เสียหายจะพิมพ์รหัสสินค้าที่ต้องการจะสั่งซื้อ  หากผู้เสียหายเป็นผู้ได้รับสิทธิในการซื้อสินค้าดังกล่าว จะมีข้อความจากระบบตอบรับอัตโนมัติของเพจจริง แจ้งมายังกล่องข้อความ (Inbox) บัญชีเฟซบุ๊กของผู้เสียหาย เพื่อยืนยันคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อแจ้งรหัสการสั่งซื้อ ราคา และช่องทางการชำระเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้มิจฉาชีพได้แฝงตัวอยู่ในเพจจริงดังกล่าว เมื่อเห็นผู้เสียหายสั่งซื้อสินค้าแล้วจะฉวยโอกาสใช้เพจปลอมติดต่อไปยังบัญชีเฟซบุ๊กผู้เสียหาย โดยแอบอ้างเป็นร้านค้าจริง ส่งหมายเลขบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ที่เตรียมไว้ให้ผู้เสียหายทำการโอนเงิน เมื่อผู้เสียหายไม่ได้ระมัดระวัง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์

11 ตุลาคม 2566 ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำกิจกรรม หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพใช้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย หลอกลวงทรัพย์สินได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุบายการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอม แอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ จากสถิติของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่ามีเฟซบุ๊ก 7 รูปแบบที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอก ดังนี้ 7 มุก เฟซบุ๊กปลอม แฉอุบายภัยไซเบอร์ 1.เพจหน่วยงานราชการปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดี ให้บริการรับแจ้งความ หรือร้องทุกข์ออนไลน์ รวมถึงการรับทำเอกสารราชการออนไลน์ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะ บัตรประจำตัวประชาชน อ่านบทความอุบายหลอกแจ้งความปลอม : ระวังเว็บแจ้งความออนไลน์ปลอม หลอกเหยื่อโอนเงินเข้าเว็บพนัน , ทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยไม่ต้องไปขนส่ง จริงหรือ ? 2.เพจบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวม หุ้นปลอม ชักชวนหลอกลวงให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เงินดิจิทัล เงินสกุลต่างประเทศ หุ้นพลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 : วัยเกษียณ ระวัง ! 3 มุกยอดฮิตภัยไซเบอร์

28 กันยายน 2566 เดือนกันยายนของทุกปี ถือเป็นช่วงครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่า เกษียณอายุราชการ ทำให้มิจฉาชีพมักอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวมาหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย จากสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 – 17 กันยายน 2566 พบว่า มีหลายกลโกงที่มักใช้หลอกคนวัยเกษียณ วันนี้ชัวร์ก่อนแชร์ CyberUpdate🚀 จะพาทุกคนไปดูมุกยอดฮิตของเหล่าโจรออนไลน์ว่ามีอะไรกันบ้าง 1. หลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน 26,827 เรื่อง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 14,313 ล้านบาท 🚨กลโกง 🚨 มิจฉาชีพจะสร้างบัญชีทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว  อ่านกลโกงเพิ่มเติม : ชวนซื้อหุ้นบริษัทอมตะ รับผลกำไรจำนวนมาก จริงหรือ ? 2. หลอกติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ จำนวน […]

ผบ.ตร.ผนึกกำลังติดสติกเกอร์เตือนภัยออนไลน์บนรถเมล์

ผบ.ตร.ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายติดสติกเกอร์เตือนภัยออนไลน์บนรถเมล์โดยสาร เผยยอดทำข้อสอบวัคซีนไซเบอร์ชิงไอโฟนพุ่งเกือบแสนราย

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS โจร หลอกติดตั้ง ThaID ปลอม 

29 กรกฎาคม 2566 กระบวนการหลอกลวงของมิจฉาชีพจะเริ่มจากการส่งข้อความสั้น (SMS) จากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ระบุข้อความว่า  “ ThaiID อัปเดตข้อมูลเรียบร้อยแล้วโปรดยืนยันตัวตนของคุณ ” พร้อมแนบลิงก์มากับข้อความข้างต้น หากเผลอกดลิงก์ไป จะเป็นการให้เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสร้างบัญชีปลอมและใช้สัญลักษณ์ของแอปพลิเคชันจริง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ไลน์ปลอมจะใช้ชื่อว่า “ Thai ID ” จงใจตั้งให้คล้ายกับแอปพลิเคชันจริง “ThaID” หากไม่สังเกต อาจตกเป็นเหยื่อได้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบไปที่ เว็บไซต์ของกรมการปกครอง ยืนยันว่า ไม่มีช่องทางไลน์ทางการ (LINE Official Account) ในการติดต่อกับประชาชน และไม่มีนโยบายในการส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังประชาชนแต่อย่างใด และฝากเตือนประชาชนว่า ห้ามกดลิงก์ที่เเนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือกดลิงก์ติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพราะอาจเป็นการดักรับข้อมูล หรือการฝังมัลแวร์ของมิจฉาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาพร้อมกับข้อความในลักษณะการให้สิทธิพิเศษ หรือให้อัพเดทข้อมูล หรือข้อความที่ทำให้ตกใจกลัว หากเหยื่อหลงเชื่อและกดเพิ่มเพื่อนทางไลน์ มิจฉาชีพที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมการปกครองจะแกล้งสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ ระหว่างนั้นจะส่งลิงก์ให้เหยื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน ThaID ปลอม มีการขอสิทธิ์ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก (ไฟล์ที่อาจเป็นอันตราย หรือไฟล์นามสกุล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามสแกน QR CODE ไปรษณีย์ไทย เงินหายหมดบัญชี จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566 📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌-เอกสารที่แชร์เป็นของไปรษณีย์ไทยจริง ไม่ใช่มิจฉาชีพ-สแกน QR CODE แล้วเงินหาย มีความเป็นไปได้จริงน้อยมาก เพราะก่อนจะโอนเงินออกไปได้ จะต้องผ่านหลายขั้นตอน เช่น การติดตั้งแอป การกรอกข้อมูล ฯลฯ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ รูปภาพเอกสารที่แชร์กันเป็นเอกสารจริงของไปรษณีย์ไทย เขตนำจ่ายภาษีเจริญ 5 ซึ่งเป็นแผนกในสังกัดของไปรษณีย์ภาษีเจริญที่ได้ส่งใบนัดนำจ่ายไว้ที่บ้านผู้รับที่ไม่มีคนอยู่บ้านและไม่สะดวกรับ ให้สามารถติดต่อนัดหมายกับบุรุษไปรษณีย์ให้นำจ่ายพัสดุได้ใหม่อีกครั้ง แต่เพื่อเป็นการป้องกันมิจฉาชีพ ไปรษณีย์ไทยได้ยกเลิกนัดหมายเวลาในการนำจ่ายใหม่ผ่านระบบ QR CODE โดยจะติดต่อผู้รับเพื่อนัดหมายนำจ่ายใหม่ผ่านโทรศัพท์ 👉  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บมจ.ไปรษณีย์ไทย ยืนยันผ่าน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจากรูปภาพเอกสารที่แชร์กันนั้น เป็นเอกสารของไปรษณีย์ไทยจริง จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ไม่อยู่บ้านและไม่สามารถรับพัสดุได้ สามารถสแกน QR CODE เพื่อนัดหมายวันให้ไปส่งใหม่ได้ 👉  อย่างไรก็ตาม ข้อความและภาพดังกล่าว […]

ผบ.ตร.ถกเข้มวางระบบป้องกันแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์

ผบ.ตร.นั่งหัวโต๊ะประชุมเข้ม แลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง วางระบบป้องกัน แก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ พัฒนาระบบรับส่งข้อมูล ผ่านระบบ Banking เร่งช่วยเหลือผู้เสียหาย เดินหน้าปราบปรามบัญชีม้า-ซิมม้า อย่างจริงจัง พร้อมประชาสัมพันธ์ประชาชนทำข้อสอบ 80 ข้อ ให้ความรู้การป้องกันภัยหลอกลวงออนไลน์ หวังสร้างภูมิคุ้มกันโจร

สติเตือน 3 กับดักฮิตมิจฉาชีพ ! | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

ถึงแม้เราจะได้ยินข่าวคราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเอาเงินอยู่บ่อย ๆ ทั้งคิดค้นสารพัดวิธีมาหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล รวมถึงมีข่าวว่าเหยื่อแจ้งความว่าเสียเงินเป็นล้าน แต่ยังมีคนตกหลุมพรางมุกต่าง ๆ อยู่เสมอ  วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ จะมาอัปเดต 3 กลโกงท็อปฮิตของมิจฉาชีพ จากแคมเปญ #อัปเดตสติป้องกันสตางค์ จากธนาคารกสิกรไทย เพื่อให้ทุกคนมีสติ รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ 1. SMS แนบลิงก์แปลก อย่าคลิก !   บางครั้งเราเห็นลิงก์แปลกที่มาพร้อมข้อความล่อใจ เช่น แจกรางวัล แจกเงิน ได้รับการอนุมัติ วงเงินจำนวนมาก แถมส่งมาจากชื่อผู้ส่งเดียวกับธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ สารพัดวิธีที่ทำให้เราหลงเชื่อ เมื่อเหยื่อกดลิงก์ที่แนบมา บางรายโดนหลอกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินโดยไม่ทันได้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เราได้จากระยะไกล (Remote Desktop) มิจฉาชีพสามารถเห็นข้อมูลสำคัญทุกอย่างบนโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น รหัสผ่านเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร ข้อมูลทางการเงิน  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่มิจฉาชีพจะเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร และโอนเงินจนเกลี้ยงบัญชี ดังนั้น #สติ ข้อที่ 1 คือ จำไว้ว่า ปัจจุบันธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบ แนบลิงก์แล้วนะ หากได้รับ […]

เตือนภัยแอบอ้างสรรพากรหลอกเอาเงิน

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับกรมสรรพากร เตือนภัยมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นกรมสรรพากรหลอกลวงประชาชน และในรอบสัปดาห์ พบคดีหลอกขายของออนไลน์จำนวนมาก แนะจุดสังเกต-วิธีป้องกัน

1 2
...