มาเลเซียเล็งเป็นผู้นำพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในอาเซียน

กัวลาลัมเปอร์ 11 มิ.ย.- นางเหยียว บียิน รัฐมนตรีพลังงาน เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมาเลเซียเผยวันนี้ว่า มาเลเซียตั้งเป้าจะเป็นผู้นำการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 


นางเหยียวกล่าวในการประชุมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่จัดโดยคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำมาเลเซียว่า หลายคนชอบถามเธอว่ามาเลเซียเป็นประเทศเล็ก จะทำสิ่งเหล่านี้ทำไม ในเมื่อสิ่งที่ทำจะมีผลน้อยมาก เธอมักตอบว่า เมื่อใดก็ตามที่เราพยายามทำบางอย่าง เราจะอยู่แถวหน้าของสิ่งนั้น เราจะสร้างงานและการเติบโตผ่านสิ่งนั้น มาเลเซียอยากเป็นผู้นำในการสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคนี้ รัฐบาลจะใช้วิธีการแบบหลากหลายทางในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน มีทั้งการทำให้สาธารณชนเกิดความตระหนัก การให้มาตรการจูงใจทางการเงินแก่บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและย่อม และการออกกฎหมาย 

รัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวต่อไปว่า รัฐบาลจะทำตัวเป็นตัวอย่างในฐานะที่เป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในประเทศ และใช้เงินมากที่สุดผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปี หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งไปยังกระทรวงต่าง ๆ แล้วให้ยึดตามแผนนี้ในการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ รัฐบาลใช้งบประมาณรายจ่ายปีละ 280,000 ล้านริงกิต (ราว 2.1 ล้านล้านบาท) หากใช้อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ที่ทำงานด้านนี้ เพราะนอกจากให้แรงจูงใจทางการเงินเรื่องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังต้องสร้างความต้องการใช้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เธอยังอยากให้เพิ่มเรื่อง Replacement หรือทดแทน ไว้ในหลักการผลิตภาคอุตสาหกรรม 3 อย่างคือ Reduce ลดใช้ Reuse ใช้ซ้ำ และ Recycle หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ด้วย.-สำนักข่าวไทย


 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”