เวทีเสวนาฯ ห่วงสื่อเสนอข่าวละเมิดสิทธิเด็ก

รร.เอเชีย 17 ธ.ค.-หลายภาคส่วน ห่วงสื่อนำเสนอข่าวละเมิดสิทธิเด็กมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กบางรายถึงชีวิตและผิดกฎหมาย มีโทษทั้งจำทั้งปรับ แนะใช้ภาพจำลองแทนการสัมภาษณ์เด็กและครอบครัว


ในเวทีเสวนา “สื่อ” ข่าวเด็กอย่างไร? ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิ  ซึ่งจัดโดย คณะทำงานปกป้องเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)และภาคีเครือข่าย  ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ปัจจุบันสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็ก ที่สุ่มเสี่ยงกับการละเมิดสิทธิเด็กมากขึ้น เนื่องจากจำนวนของสื่อมีหลากหลาย ทั้งสื่อกระแสหลัก เช่น ทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ และยังมีสื่อโซเชียลมีเดียอีกนับไม่ถ้วน ทำให้เมื่อมีการนำเสนอข่าวเด็กที่ถูกละเมิดหรือถูกทารุณกรรม ข่าวนั้นจะถูกแชร์ออกไปอย่างไม่มีสิ้นสุด โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวเด็กถูกละเมิด หรือถูกทารุณกรรมในหลายกรณี ที่แม้สื่อจะปกปิดหน้าตาของเด็ก แต่กลับมีภาพคนในครอบครัว เครือญาติ ที่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าเด็กคือใคร ยิ่งไปกว่านั้นบางกรณีมีการนำ เด็กผู้เสียหายกลับไปชี้จุดเกิดเหตุหรือเผชิญหน้ากับสถานการณ์เดิมหรือกับคู่กรณี เป็นการทำร้ายจิตใจเด็กอย่างรุนแรง  และอาจ บางรายอาจถึงขั้นซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย แต่นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่าสื่อไม่ได้มีเจตนาในการจะละเมิดสิทธิเด็กแต่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและต้องการให้ความช่วยเหลือเหยื่อ แต่อาจขาดความรู้ความเข้าใจ ในกฎหมาย ที่ให้การปกป้องคุ้มครองเด็กหลายฉบับ ดังนั้นจึงขอร้องสื่อให้ระมัดระวังในการนำเสนอข่าวเด็กด้วยความรอบคอบ กลั่นกรองข้อมูล และสามารถใช้ภาพจำลองแทนการ ไปสัมภาษณ์เด็กหรือครอบครัว ซึ่งมีการทำแบบนี้ในหลายประเทศ 


ในเวทีนี้มีเยาวชนที่กระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับชีวิตได้ระบายความรู้สึกของตัวเองที่เคยตกเป็นข่าวดังเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งถูกระบุชื่อนามสกุลจริงและที่อยู่บ้านพัก ทำให้ได้รับผลกระทบถูกคนในชุมชนมอง ถูกเรียกว่าบ้านนักเลง พ่อตกงาน แม่ขายของไม่ได้ และเป็นตราบาปที่ติดค้างอยู่ในใจมาตลอด แม้จะได้รับโทษในสถานพินิจแล้วก็ตาม


นายเตชาติ์ มีชัย ผู้ประสานงานเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน  กล่าวว่า ปัจจุบันการรายงานข่าวเด็ก ทางเว็บไซต์หรือโซเชียลต่างๆ ของสื่อมวลชนหลายสำนัก มีการละเมิดสิทธิเด็ก ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่พบมากเป็นการเปิดเผยข้อมูลเด็ก หรือผู้ปกครองผ่านสื่อมวลชน ทำให้โอกาสกลับคืนสู่สังคมของเด็กลดน้อยลง เด็กที่มีคดีร้ายแรงอุกฉกรรจ์ต้องตกอยู่ในอันตราย การที่เส้นเสียงของเด็กในขณะถูกสัมภาษณ์ถูกเผยแพร่ออกไปผ่านช่องทางต่างๆ ซ้ำๆ ย่อมมีโอกาสที่เด็กจะถูกจดจำ เป็นการเปิดเผยตัวตนของเด็กในทางอ้อม บางครั้งอาจสร้างความขัดแย้งในประเด็นนั้นๆ ให้ใหญ่โตขึ้นได้ ดังนั้นสื่อมวลชนจึงควรใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข่าว เพื่อไม่ให้เป็นการขัดกับเจตนาของกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเด็ก 

ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับที่ปกป้องคุ้มครองเด็กให้พ้นจากการถูกละเมิดสิทธิ โดยเมื่อปี 2532 ประเทศไทยมีการลงอนุสัญญาว่าด้วยเด็ก และได้ทำสัตยาบันออกกฎหมาย หรือพ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 27 พ.ร.บ. ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 9 หรือ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 130

ด้าน นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีผลวิจัยทางการแพทย์ที่ระบุชัดว่าเด็กที่ถูกนำเสนอข่าวผ่านสื่อได้รับผล กระทบทางจิตใจ ยิ่งอายุน้อยระหว่าง 2-12 ปีจะได้รับผลกระทบรุนแรง เพราะสมองกำลังเติบโต ส่วนใหญ่แสดงออกในลักษณะวิตกกังวลนอนไม่หลับ มีความหวาดกลัวรุนแรง โดยเฉพาะในกรณีที่สื่อให้เด็กที่ถูกกระทำต้องไปเผชิญหน้ากับผู้กระทำ เพื่อให้ได้ภาพข่าวตามข้อเท็จจริง  แต่การกระทำนี้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กเพราะการเผชิญหน้ากับสิ่งที่หวาดกลัวซ้ำๆ ทำให้เด็กตกอยู่ในภาวะอันตรายทางจิตใจหรือเรียกว่าเป็นการข่มขืนครั้งที่สอง บางรายมีความรุนแรงถึงขั้นซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย ที่ผ่านมามีเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสื่อ เข้ารับการบำบัดทางด้านจิตใจ แต่ไม่มีสถิติ ที่ชัดเจน 

ด้านนายอนุกูล ปีดแก้ว รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า มาตรการกำกับดูแลเรื่องเนื้อหาความเหมาะสมและอายุขั้นต่ำของแหล่งข่าวที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก  แต่ยืนยันว่าจำนวนของเด็กที่ถูกสื่อนำเสนอข่าวที่ เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ไม่ได้มีจำนวนมากขึ้น แต่เนื่องจากจำนวนของสื่อมีมากทำให้ภาพข่าวกระจาย และอยู่ในสื่อต่างๆจนมองว่าเหมือนจะมากกว่าเดิม ซี่งกรมกิจการเด็กได้ร่วมกับหลายภาคส่วน รวมทั้งองค์กรเอกชน ได้พยายามชี้แจงและเผยแพร่กฎหมายและ กลไกปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มีอยู่แล้วให้สื่อเกิดความรู้และความเข้าใจ เพื่อสามารถนำเสนอข่าวได้ ไม่ผิดกฎหมายที่มีโทษทั้งจำทั้งปรับ แนะว่าหากสื่อจะนำเสนอข่าวที่มีเด็กเป็นเหยื่อหรือเป็นผู้กระทำความผิดต้องมีสหวิชาชีพคอยดูแลและกลั่นกรองข้อมูลในการให้ข่าวกับสื่อ และสามารถใช้ภาพจำลองแทนการ  ไปสัมภาษณ์เด็กหรือครอบครัว ซึ่งมีการทำแบบนี้ในหลายประเทศ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง