ผบ.ทบ.ชี้หากการเมืองไม่เป็นต้นเหตุการจลาจล ก็ไม่นำไปสู่การปฏิวัติ

กองทัพบก 17 ต.ค.- “พล.อ.อภิรัตช์” เตือนการเมืองอย่าสร้างความแตกแยกอีก หวังใจว่าการเมืองจะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติ ถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุแห่งการจลาจล  มันก็ไม่นำไปสู่การปฏิวัติ  เผยเสียใจที่เห็นกระบวนการยุติธรรมถูกละเมิด หลายคดีคนที่ทำผิดบอกไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกแกล้ง แล้วประเทศจะอยู่อย่างไร 


พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงในวาระพิเศษ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง ว่า ครั้งนี้เป็นการมอบนโยบายให้กับผู้บังคับหน่วยระดับกองพัน โดยส่วนใหญ่สอดคล้องกับนโยบายของพล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ.คนก่อน  ซึ่งได้วางรากฐานที่แข็งแกร่ง มั่นคง อย่างไรก็ตามอีกไม่นานนี้ กองทัพบกจะต้องเผชิญอีกหลายสถานการณ์ โดยปฏิทินการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งกองทัพบกได้ทำความเข้าใจกับกำลังพลว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ที่สำคัญจะต้องแยกแยะภารกิจในฐานะกองทัพบกและเป็นทหารของชาติ ทหารของประชาชน พร้อมที่จะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งแต่เรื่องการรักษาความปลอดภัยและการให้ความรู้ประชาชน 

ผบ.ทบ. กล่าวว่า กองทัพบกจะสนองตอบนโยบายของทุกรัฐบาล ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นก็ตาม เช่น รัฐบาลปัจจุบัน ที่มีโครงการประชารัฐ หรือไทยนิยมยั่งยืน สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะฉะนั้นการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ตนได้สั่งการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) ให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะการช่วยเหลือประชาชน 


“ทหารสวมหมวกสองใบ คือ คสช.และกองทัพ ดังนั้นต่อจากนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้การเมืองเข้ามาฉกฉวย ใช้ประโยชน์ จากการช่วยเหลือประชาชน เพราะกองทัพช่วยเหลือประชาชน ไม่ได้ต้องการที่จะหาเสียง ซึ่ง ในฐานะทหารอาชีพ จะต้องแยกแยะระหว่างภารกิจการเมือง กับภารกิจของกองทัพ โดยเฉพาะจุดยืนของกองทัพ เพราะเราจะถูกจับตามอง ต้องยอมรับว่ากองทัพและคสช. คือเนื้อเดียวกัน ขอไม่ต้องห่วง เพราะจุดยืนการทำงานของกองทัพ มีทิศทางที่ชัดเจน และไม่ว่าใครที่จะขึ้นมาเป็นนาย ผมก็พร้อมที่จะปฏิบัติงาน 100% หรือมากกว่า 100%” ผบ.ทบ. กล่าว 

เมื่อถามถึงความเป็นกลางของกองทัพ  พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า เรื่องของความเป็นกลางนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล แต่ก็ต้องขอความเป็นธรรมด้วย ตนเป็นทหารอาชีพ ผ่านวิกฤติทางการเมือง และการทหารมาทุกยุคทุกสมัย เก็บเกี่ยวประสบการณ์มาตลอดระยะเวลาที่รับราชการ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการทหารบก 

ส่วนที่มีการจับตามองว่า กองทัพจะวางตัวอย่างไร หาก พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศลงสู่การเมือง ผบ.ทบ.กล่าวว่า  ขึ้นอยู่กับแต่ละมุมมอง เช่นการที่ตนไปพบพล.อ.ประยุทธ์ มีคนมองว่าตนไม่เป็นกลาง แต่ต้องเข้าใจว่าพล.อ ประยุทธ์นั้นเป็นหัวหน้ารัฐบาล 


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในสถานการณ์ข้างหน้าหากเกิดวิกฤติขึ้นอีก กองทัพจะออกมาปฏิวัติอีกหรือไม่ พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า ขอชี้แจงว่า สื่อมวลชนได้บันทึกภาพทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ก็อย่าให้เป็นเพียงภาพที่เกิดขึ้นเท่านั้น เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกบันทึกอยู่ในสมองและจิตใจของคนไทยทุกคน ที่บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย คนไทยออกมาตีกัน ยิงกัน ฆ่ากัน  เรื่องที่ผ่านมาไม่มีใครอยากจดจำ ทหารถูกรัฐบาลสั่งการให้ออกมาควบคุมความสงบเรียบร้อย เราทำด้วยหัวใจ ไม่ได้คิดแบบนักการเมืองว่าจะเข้ามาบริหารประเทศ เชื่อมั่นว่าพล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ได้คิดแบบนี้เช่นกัน แต่ต้องเสียสละ และถ้าวันนั้นพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตัดสินใจบ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น  แท้จริงแล้วคนที่ตัดสินใจก็ไม่ใช่พล.อ.ประยุทธ์ แต่เป็นประชาชน 

ผบ.ทบ. กล่าวว่า หวังใจว่าเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ จะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยอีก ไม่อยากเห็นบ้านเมืองมีการเผา หรือยิงกันเหมือนในภาพยนตร์ ที่ผ่านมาไม่เคยมีเหตุการณ์อย่างนี้  แต่ที่เกิดขึ้นเพราะมีการแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่นกัน ทางการเมืองเอาชนะกันโดยไม่รู้จักแพ้ รู้จักชนะ แล้วคนแพ้ก็คือประเทศ ส่วนกองทัพก็ไม่มีวันชนะประชาชน แต่ประชาชนที่ออกมาสร้างสถานการณ์ความเดือดร้อน เชื่อคำยุยงปลุกปั่น มีการเผา การยิง ก็คือประชาชนที่ทำให้ประเทศแพ้  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องมีการฟื้นฟูประเทศ แต่ก็ต้องใช้เวลา เพียงแค่หนึ่งปีหรือสองปีไม่สามารถทำได้  รัฐบาลจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์ 20 ปี ท่านคิดว่าการจุดไฟเผาในเมือง จนเกิดกลียุค  ปีเดียวการฟื้นฟูสิ่งปลูกสร้างทำได้ แต่ทางการค้าไม่ใช่ ความมั่นใจของต่างชาติในการลงทุนไม่ใช่ แต่ปัจจุบันสถานการณ์เริ่มดีขึ้น อาจจะเห็นผลช้า ไม่ทันใจนักการเมืองบางคน

“ผมเชื่อว่ารัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ทำทุกสิ่งทุกอย่างอย่างรอบคอบไม่ผลีผลาม หวังใจว่าการเมืองจะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในชาติ แต่ถ้าการเมืองไม่เป็นต้นเหตุแห่งการจลาจล มันก็ไม่นำไปสู่การปฏิวัติ ที่ผ่านมาเกิดการปฏิวัติมา 10 กว่าครั้งแล้ว แต่มันไม่เหมือนสมัยก่อน ซึ่งระยะหลังเกิดขึ้นเพราะการเมืองทั้งสิ้น ผมไม่ได้บอกว่านักการเมืองดีหรือไม่ดี แต่มันก็มีทั้งดีและไม่ดี ผมเสียใจในหลาย ๆ เรื่อง ที่เห็นกระบวนการยุติธรรมถูกละเมิดในการตัดสิน หลายคดีคนที่ทำผิดก็บอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แล้วประเทศชาติจะอยู่ตรงไหน อะไรเป็นกลาง อะไรคือจุดยืนของประเทศ คนที่ผิดก็บอกว่าไม่ผิด บอกว่าถูกแกล้ง แล้วประเทศจะอยู่อย่างไร ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่าจะให้คนไทยอยู่กันอย่างไร อยู่กันโดยที่ไม่มีกฎไม่มีระเบียบหรือวินัยอย่างไร”  พล.อ.อภิรัชต์ กล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง