200 มหาวิทยาลัยเร่งผลิตบัณฑิตป้อนภาคอุตสาหกรรม

กรุงเทพฯ 20 ก.พ. – ส.อ.ท.จับมือ 200 มหาวิทยาลัย ตั้งคณะกรรมการร่วมผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม S Curve


นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) นำคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งสังกัดภาครัฐและเอกชนกว่า 200 แห่ง หารือนายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เพื่อร่วมกันผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม 

นายเจน กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันตั้งคณะทำงานร่วมพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน โดยปรับหลักสูตรเพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น พร้อมเพิ่มระยะเวลาการฝึกงานในสถานประกอบจริงนาน 8-10 เดือน เพื่อให้มีทักษะพร้อมที่จะปรับตัวเข้างานกับสถานประกอบการได้ง่าย  โดยจะนำรูปแบบที่ ส.อ.ท.ร่วมจัดทำกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นต้นแบบกระจายไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยเน้นในส่วนของอุตสาหกรรม new s Curve ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก่อน มีการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมสามารถนำไปเป็นตัวชี้วัดในการปรับตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ได้ 


“ส.อ.ท.ยืนยันว่าไม่มีนโยบายกีดกันการรับบัณฑิตเข้าทำงานในสถานประกอบการ  เพราะการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานนั้น แต่ละสถานประกอบการจะพิจารณาตามสมรรถนะของบัณฑิตกับความต้องการของสถานประกอบการนั้น ๆ เป็นสำคัญ” นายเจน กล่าว

นายสุชัชวีร์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เอกชนกับมหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาหลักสูตร เพื่อเป็นสะะพานปิดจุดที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ประกอบการที่ต้องการบัณฑิตกับการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษา ซึ่งภายใน 6 เดือนนับจากนี้ไป ส.อ.ท.และตัวแทนมหาวิทยาลัยจะร่วมกันตั้งสถาบันอิสระเพื่อร่วมกันปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังตกลงร่วมกันผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม หรือ University-Industry Linkages :UIL เพื่อสร้างมาตรฐานและความน่าเชื่อถือระหว่างกันผ่านการขับเคลื่อน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การสอดแทรกการเรียนการสอนด้านทักษะแรงงานและผู้ประกอบการ ซึ่งจะเร่งให้แต่ละมหาวิทยาลัยปรับปรุงหลักสูตรการสอน โดยบูรณาการทักษะที่เตรียมความพร้อมในการทำงานของแต่ละสาขา พร้อมเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจจัดทำหลักสูตรพิเศษด้านการทำงานระยะสั้น เพื่อบ่มเพาะความพร้อมให้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกับสถาบันอุดมศึกษาแบบคู่ขนาน โดยจะผลักดันให้เกิดการสนับสนุนบุคลากรจากภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญให้เป็นอาจารย์ผู้สอนในชั่วโมงเรียนพิเศษบางรายวิชา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะและคุณสมบัติที่ภาคธุรกิจต้องการ พร้อมทั้งสามารถเสนอแนะข้อคิดเห็นในหลักสูตรการเรียนเพื่อให้เกิดความทันยุคทันสมัย ตลอดจนการร่วมลงทุนด้านการนำปัญหาของแต่ละภาคอุตสาหกรรมมาร่วมต่อยอดงานวิจัย รวมถึงการจัดตั้งแล็บ สถาบันการศึกษาในรูปแบบทวิภาคี เพื่อให้เกิดรูปแบบการเรียนที่มีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น


ยุทธศาสตร์ดำเนินโครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา เพื่อพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรม หรือ  Work-integrated Learning ซึ่งรูปแบบของยุทธศาสตร์นี้ คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง โดยจะให้นักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้และทดลองงานแต่ละภาคธุรกิจโดยไร้ข้อจำกัด พร้อมนำเทคโนโลยีนวัตกรรมทันสมัยมาปรับใช้จริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้เร็วขึ้น มีเป้าหมายและทัศนคติในการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดช่องว่างการดำเนินงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรธุรกิจในลักษณะต่างคนต่างทำมาเป็นการเชื่อมโยงในด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพ 

นายสุชัชวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนการผลิตบุคลากรรองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ทางมหาวิทยาลัยจะต้องเน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชั้นสูง ซึ่งที่ผ่านมามีเพียงงานวิจัยและนวัตกรรมระดับกลางเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีระดับสูงกว่า ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมเพื่อให้มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกเข้ามาตั้งวิทยาเขตในประเทศไทยเพื่อก่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขึ้นภายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้รัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการตั้งมหาวิทยาลัยของต่างประเทศในประเทศไทยอยู่แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอควรจะมีมาตรการสนับสนุนเข้มข้นมากขึ้นโดยเฉพาะด้านเงินทุน เพราะประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย รัฐบาลสนับสนุนเรื่องเงินทุนอย่างมาก จึงสามารถดึงมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเข้ามาตั้งวิทยาเขตในประเทศได้มากกว่า

 นอกจากนี้ รัฐบาลควรจะเพิ่มงบลงทุนวิจัยและพัฒนาของประเทศจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.28 ของ GDP ควรจะเพิ่มเป็นร้อยละ 2 ของ GDP เพราะประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลีใต้ มีสัดส่วนงบลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 4 ของ GDP อิสราเอล ร้อยละ 5 ของ GDP ซึ่งในส่วนของประเทศไทยหากไม่เพิ่มงบด้านวิจัยและพัฒนาก็จะไม่สามารถก้าวทันประเทศอื่น. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง