ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ป้องกันและรักษาโรคไอกรน

“ไอกรน” โรคติดต่อที่อาจรุนแรงในผู้ป่วยบางกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กเล็ก เป็นแล้วจะต้องรักษาอย่างไร ป้องกันด้วยวิธีใดได้บ้าง ?


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ถ้าตัวท่าน หรือลูกหลาน มีอาการไอ ไอนาน มีอาเจียนหลังไอ อาจจะต้องไปพบแพทย์ตรวจว่าเป็นไอกรนหรือไม่


ตรวจแล้วถ้าไม่ใช่ไอกรน เป็นโรคอื่นหรือไม่ ที่ทำให้ไอมากและไอนาน

ถ้าเป็นไอกรนจริง มียารักษา เพราะการรักษาง่ายมาก กินยา 5 วันก็หายแล้ว

การกินยารักษาไอกรน นอกจากทำให้ตัวเราเองอาการดีขึ้นแล้ว ยังลดโอกาสการแพร่เชื้อให้กับคนอื่นได้ด้วย


สมมุติมีประวัติสัมผัสโรค เช่น มีเด็กในบ้านป่วย แพทย์ยืนยันว่าเป็นโรคไอกรนแน่นอน และคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันเริ่มมีอาการไข้คล้ายไข้หวัด ไอ มีน้ำมูก ควรจะต้องไปตรวจเพื่อจะได้รู้ว่าติดไอกรนด้วยหรือไม่

แนวทางการรักษาไอกรน

 การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะทำให้หายจากโรคได้เร็ว ยับยั้งการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

เนื่องจากโรคไอกรน (Whooping Cough) หรือโรคไอร้อยวัน (pertussis or whooping cough or 100-day cough) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis (B. pertussis) ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียสามารถใช้ได้ และมียากลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) ได้แก่ อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) อีริโทรมัยซิน (Erythromycin) เป็นต้น

ยากลุ่มแมคโครไลด์ตัวที่นิยมใช้ก็คือ อะซิโทรมัยซิน ยาตัวนี้หาได้ไม่ยากเลย เมื่อใดมีอาการและไปพบแพทย์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไอกรน ก็จะได้รับยาอะซิโทรมัยซินมากิน 5 วันเท่านั้น

กรณีที่มีอาการไอแล้วไม่ไปพบแพทย์ ปล่อยให้มีอาการไอนาน 1-2 เดือน อาการก็จะดีขึ้นได้ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นก่อน

ป่วย “ไอกรน” สามารถกินยาแก้ไอ ได้หรือไม่ ?

การกิน “ยาแก้ไอ” เป็นเพียงบรรเทาอาการไอเท่านั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุไอกรนได้

ถ้าจะรักษาไอกรน จะต้องกินยาปฏิชีวนะ “อะซิโทรมัยซิน” กำจัดเชื้อไอกรนออกจากร่างกาย

 การดื่มน้ำ การพักผ่อนให้เพียงพอ หรือกินยาแก้ไอ เรียกว่า เป็นการรักษาแบบประคับประคอง อาจจะทำให้อาการไอดีขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อให้หายไป

ก่อนอื่น จะต้องเข้าใจว่า “ไอกรน รักษาหายขาด แต่เป็นซ้ำได้” เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ตลอดชีวิต

การฉีดวัคซีนไอกรนก็ไม่ได้ป้องกันตลอดชีวิต ถึงแม้จะฉีดวัคซีนไอกรนช่วงวัยเด็ก 5 เข็ม หลังจากนั้นจะต้องฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

เด็กที่เข้าสู่วัยรุ่น อายุ 11-12 ปี จะต้องฉีดวัคซีนไอกรนซ้ำ 1 ครั้งเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคไอกรน และฉีดทุก 10 ปี

กรณีเพศหญิง ฉีดวัคซีนไอกรนทุกการตั้งครรภ์ ช่วงสัปดาห์ที่ 27-36 เพื่อเป็นการปกป้องทารกจากโรคไอกรนในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการคลอด

โรคไอกรน “ป้องกันได้”

“ไอกรน” เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถป้องกันได้ ดังต่อไปนี้

1. ฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนในเด็กแรกเกิดตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถลดการติดเชื้อแบคทีเรียไอกรนได้ แต่ถ้าลดการติดเชื้อไม่ได้สามารถลดความรุนแรงของโรคได้

2. การแยกผู้ป่วยโรคไอกรนอย่างเหมาะสม เช่น ถ้ารู้ว่าคนนี้ป่วยเป็นโรคไอกรน กินยาปฏิชีวนะ 5 วันก็หาย ในช่วง 5 วันนี้จะต้องแยกจากผู้อื่น หรือถ้าจำเป็นจะต้องสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง หลังจาก 5 วันไปแล้วผู้ป่วยโรคไอกรนก็จะไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ

สมมุติว่ามีคนหนึ่งในบ้านป่วยเป็นโรคไอกรน คนรอบตัวที่สัมผัสผู้ป่วยถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรคไอกรน

ดังนั้น แพทย์จะให้ยาป้องกันกลุ่มเสี่ยงสูงก่อนที่จะเกิดอาการ และยาที่ใช้ป้องกันก็คือยาตัวเดียวกับที่ใช้รักษานั่นเอง ใช้ระยะเวลาเท่ากัน ก็คือ 5 วัน

ยาป้องกันไอกรนใช้ต่อเมื่อคนนั้นสัมผัสผู้ติดเชื้อและมีความเสี่ยงสูง ถ้าไม่ได้สัมผัสผู้ป่วยและไม่มีความเสี่ยงสูงก็ไม่จำเป็นต้องกินยา

ไม่ควรซื้อยามากินเพื่อป้องกันโรคไอกรน ?

เมื่อได้รับข่าวทางสื่อสังคมออนไลน์ว่ามี “ไอกรน” ระบาด ก็ยังไม่จำเป็นต้องไปซื้อยาปฏิชีวนะมากินเพื่อป้องกันโรค สิ่งสำคัญก็คือ ควรให้แพทย์ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค และเป็นผู้สั่งจ่ายยาจะดีกว่าไปหาซื้อยามากินเอง เช่น

1. ป่วยเป็นไอกรนจริงหรือไม่

2. ป่วยรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

3. มีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง

สาเหตุที่ไม่แนะนำให้ซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง เนื่องจาก

1. ยังไม่รู้ว่าเป็นโรคไอกรนจริงหรือไม่

2. การใช้ยาปฏิชีวนะสุ่มสี่สุ่มห้าอาจทำให้ร่างกายมีเชื้อดื้อยาอยู่ในตัวได้ เพราะถ้าป่วยเป็นโรคจริง ๆ เชื้อโรคก็จะเป็นเชื้อดื้อยา ทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น

การซื้อยามากินเอง ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าโรคที่เป็นรุนแรงมากน้อยแค่ไหน มีภาวะแทรกซ้อนหรือยัง เพราะถ้าโรคที่เป็นรุนแรงยาที่กินก็อาจจะรักษาไม่หาย จะทำให้ระยะเวลาการรักษาที่ถูกต้องยาวนานออกไป ไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วย

สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ป้องกันและรักษาโรคไอกรน

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผบช.น.ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้คนจีนมีจริง-ตร.แค่เป็นวิทยากร

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยอมรับการอบรมอาสาตำรวจให้กับคนจีนมีจริง แต่เจ้าของโครงการ ไม่ใช่ตำรวจนครบาล 3 เพียงแต่ถูกเชิญไปเป็นวิทยากรเท่านั้น ส่วนเจ้าของโครงการ เป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังย่านฝั่งธนบุรี

ชายวัย 53 เมาคว้าปืนลูกซองยิงเพื่อนบ้านวัย 60 ดับ ฉุนฉลองปีใหม่

ชายวัย 53 ปี อารมณ์ร้อน คว้าปืนลูกซองยิงชายวัย 60 ปี เสียชีวิต ฉุนนั่งย่างเนื้อให้ลูกๆ ที่กลับมาเยี่ยมบ้านฉลองปีใหม่

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

นึกว่าแจกฟรี ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น เมืองเชียงใหม่

เอาใจสายเนื้อ ขึ้นเหนือไปกินก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ย่านถนนราชดำเนิน กลางเมืองเชียงใหม่ ขายดิบขายดี นึกว่าแจกฟรี ลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด

ข่าวแนะนำ

กต.เผยเมียนมาปล่อยตัวนักโทษไทย 152 คน-ไม่มี 4 ลูกเรือประมงไทย

กระทรวงการต่างประเทศ เผยเมียนมาปล่อยตัวนักโทษชาวไทย 152 คน แต่ยังไม่มี 4 ลูกเรือประมง ยืนยันพยายามอย่างเต็มที่

นายหน้าลอยแพ 250 แรงงานไทย ไร้ตั๋วบินทำงานต่างประเทศ

ฝันสลาย แรงงานไทย 250 ชีวิต เหมารถมาสนามบินเก้อ หวังได้ไปทำงานในต่างประเทศ สุดท้ายไม่มีตั๋วบิน รวมตัวแจ้งความตำรวจ หวั่นถูกหลอกสูญเงินกว่า 12 ล้านบาท

ตร.-ผอ.รพ.แจงวิสามัญผู้ป่วยคลั่ง ทำตามยุทธวิธี

ตำรวจ-รพ. แถลงเหตุวิสามัญผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ คลั่งกลาง รพ.สุรินทร์ ตำรวจแจงทำตามยุทธวิธี แต่ผู้ป่วยมีอาการคลั่ง ไม่สงบ จึงจำเป็นต้องใช้อาวุธปืนยิงเพื่อระงับเหตุ ด้าน รพ. เผยเหตุดังกล่าวเกือบเสียคนไข้อีกคน ส่วนกล้องวงจรปิด พบว่าใช้การไม่ได้ อยู่ระหว่างการเปลี่ยน

เพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก เสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสำเร็จรูป อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร จนท.ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง จึงควบคุมเพลิงได้ คาดเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน