ชัวร์ก่อนแชร์ : หลังผ่าตัดคลอด “กินลูกปลาช่อน” ช่วยให้แผลหายไว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปกินลูกปลาช่อนดิบเพื่อช่วยให้แผลผ่าคลอดหายไว จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับอาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในคลิปที่แชร์กัน “กินลูกอ่อนปลาช่อนดิบเพื่อหวังให้แผลผ่าตัดคลอดหายเร็วขึ้น” ไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่กลับจะได้ “พยาธิ” เป็นของแถมด้วย พยาธิที่พบจากการกินปลาช่อนดิบคือ พยาธิตัวจี๊ด (Gnathostoma Spinigerum)  และพยาธิตืดปลา (Fish tapeworm infection หรือ Diphyllobothriasis) วงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ด ปกติแล้วตัวแก่ของพยาธิตัวจี๊ด (ทั้งตัวผู้และตัวเมีย) จะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของสุนัข แมว เสือ หลังจากพยาธิผสมพันธุ์แล้ว พยาธิตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ เมื่อไข่ลงน้ำจะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวกุ้งไร (cyclops) จะกินตัวอ่อนพยาธิ (ระยะที่ 1) และไปเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เมื่อปลากินกุ้งไรที่มีพยาธิ พยาธิจะเจริญในปลาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ ถ้าสุนัขหรือแมวกินปลานี้เข้าไป พยาธิก็ไปเจริญเป็นตัวแก่ในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าคนกินปลาซึ่งมีพยาธิระยะติดต่อเข้าไป พยาธิจะคืบคลานหรือไชไปตาม อวัยวะต่าง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : BRAIN ROT คำแห่งปี 2024 สะท้อนปัญหาใหญ่ในยุคปัจจุบัน !

“BRAIN ROT” ถูกประกาศให้เป็น “คำแห่งปี 2024” โดย Oxford Dictionary สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล “BRAIN ROT” สภาวะการเสื่อมถอยของสภาพจิตใจหรือสติปัญญา อันเกิดจากการบริโภคเนื้อหาออนไลน์ที่ไม่มีคุณภาพมากเกินไป BRAIN = สมอง และ ROT = เน่า ดังนั้น BRAIN ROT หมายถึง สมองเน่า BRAIN ROT เป็นคำเปรียบเปรยหมายถึง สมองของเรามีภาวะเหนื่อยล้า หรือความจำใช้งานระยะยาวทำไม่ได้ หรือมีภาวะการตัดสินใจหรือมีภาวะหลงลืม อันเกิดมาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นระยะเวลานาน ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์นานอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงเนื้อหาที่ดูไม่ค่อยเสริมสร้างความรู้ แต่เป็นเนื้อหาจากวิดีโอสั้น ๆ เช่น Reel ใน YouTube หรือ TikTok หรือเป็นสื่อสั้นอะไรก็ได้บนสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้สมองของคนเราขาดการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) BRAIN ROT ทำลายสมาธิระยะยาว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ต้องเลิกใช้หลอดดูดน้ำ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิปเตือนว่า ต่อไปนี้คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช้หลอดดูดน้ำดื่มแล้ว เพราะนักวิจัยพบสารเคมี PFAS ในหลอดดูดแทบทุกชนิด ทั้งหลอดกระดาษ ไม้ไผ่ พลาสติก แก้ว ยกเว้นแค่หลอดสเตนเลสเท่านั้น แม้แต่ EU ก็สั่งยกเลิกแล้ว 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้อมูลในคลิปมีส่วนที่เป็นความจริงและไม่เป็นความจริง ส่วนที่เป็นความจริงก็คือ ในหลอดกระดาษมี PFAS อยู่จริง แต่ไม่ใช่เป็นสาเหตุที่ทำให้สหภาพยุโรป (EU) ยกเลิกการใช้หลอดกระดาษ หรือหลอดพลาสติกแบบที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง สาเหตุที่ EU แบน หรือยกเลิกหลอดพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นเพราะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดจากการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-used plastic) ไม่ว่าจะเป็นจาน ช้อนส้อม มีด หรือแม้แต่หลอด เพราะฉะนั้น การใช้หลอดที่มี PFAS อยู่ แต่ใช้อย่างถูกประเภทตามที่ผู้ผลิตแนะนำ ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เพราะ PFAS ก็ยังมีใช้กันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว สาร PFAS […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชาถุงจุ่มน้ำร้อน เสี่ยงไมโครพลาสติก จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า ใครที่ชอบดื่มชา กาแฟ “บรรจุซอง” จุ่มน้ำร้อน เลิกได้แล้ว เพราะมีการฉีดเคลือบพลาสติกไว้บนซอง เมื่อชงในน้ำร้อนจะมีไมโครพลาสติกออกมาปนเปื้อน ส่งผลต่อหลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ จนเป็นมะเร็งได้ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากคลิปที่แชร์กันเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ แต่ยังเป็นการพูดแบบเหมารวม และอาจมีข้อมูลบางส่วนยังไม่อาจนำมาอ้างอิงได้ ถุงใส่ชาถึงแม้จะเป็นกระดาษแต่ก็มีการเคลือบพลาสติก ซึ่งอาจมีทั้งถุงชาแบบกระดาษมีการเคลือบพลาสติก และถุงชาแบบพลาสติกก็มีไมโครพลาสติกหลุดออกมาได้ ถ้าไล่เรียงโอกาสพบไมโครพลาสติกก็อาจจะเป็นกลุ่มที่เป็นซองพลาสติก และกลุ่มกระดาษที่เคลือบพลาสติกด้วย กลุ่มสุดท้ายที่อาจพบได้น้อยที่สุด คือถุงผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรชาติร้อยเปอร์เซ็นต์ อาจจะมีบางส่วนที่เรานึกไม่ถึง ก็คือตัวใบชาที่มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกได้ เริ่มตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก น้ำที่ใช้รด ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ ก็มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในนั้นแล้ว ถัดมา เมื่อเก็บเกี่ยวใบชาแล้วนำมาหมัก ถ้าหมักในภาชนะพลาสติก ก็มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกได้เช่นกัน เมื่อหมักใบชาเสร็จแล้วก็นำมาตากแห้ง ในอากาศก็มีไมโครพลาสติก เพราะฉะนั้นก็มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกตั้งแต่ตัววัตถุดิบด้วยซ้ำ ปัจจุบัน สามารถพบไมโครพลาสติกในอาหารทะเลจากแหล่งน้ำที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ ซึ่งรวมถึงเกลือทะเลด้วย นอกจากนี้ อาหารที่บรรจุในถุงพลาสติกก็มีโอกาสปนเปื้อนไมโครพลาสติกด้วย การใช้ชีวิตประจำวัน มีการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก มีบางส่วนที่อาจจะนึกไม่ถึงเลยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 ประโยชน์ของ น้ำด่าง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 8 ประโยชน์ของน้ำด่าง มีทั้งลดความเป็นกรดในเลือด ปรับสมดุลร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ ขับสารพิษ ไปจนถึงการชะลอความแก่ชรา จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องน้ำด่างที่แชร์กันไม่จริง เพราะว่าร่างกายมีระบบ Buffer และกลไกอื่นที่ช่วยควบคุมค่าความเป็นกรดและด่างให้มีความเป็นกลางอยู่แล้ว การดื่มน้ำด่าง ถ้าร่างกายปกติก็ไม่มีผลกระทบต่อระบบกรด-ด่างในร่างกายและของกระแสเลือด ข้อ 1. น้ำด่างช่วยลดความเป็นกรดในกระแสเลือดและปรับสมดุลของร่างกาย จริงหรือ ?   ไม่จริง เพราะเรื่องของการปรับสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย เกิดขึ้นเนื่องจากระบบของร่างกาย และถูกควบคุมไว้อย่างดี ที่ช่วง pH 7.4 (บวก ลบ 0.5) อยู่แล้ว การดื่มอะไรเข้าไปจะไม่สามารถกระทบค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือ pH ในกระแสเลือดได้ ข้อ 2. น้ำด่างมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย จริงหรือ ? ไม่จริง สารเหล่านี้ต้องอาศัยสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ไม่เกี่ยวกับความเป็นด่าง ข้อ 3. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะการมองเห็นภาพตรงกลางผิดปกติ

ภาวะการมองเห็นภาพตรงกลางผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณบ่งบอกโรคหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะมองเห็นภาพผิดปกติตรงส่วนกลางของภาพ เป็นความผิดปกติของลานสายตา ทางการแพทย์เรียกว่า สโกโทมา (Scotoma) สโกโทมา คือ คุณภาพการมองเห็นภาพแย่ลง มองเห็นภาพบริเวณส่วนกลางเปลี่ยนไป อาจมืดลงกว่าเดิม หรือเห็นแสงบางชนิดปรากฏขึ้นมา สาเหตุของการมองเห็นภาพตรงกลางผิดปกติ เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของดวงตาและสมอง ? โดยทั่วไป การมองเห็นภาพที่ผิดปกติหรือการมองเห็นภาพแย่ลง ถ้าสาเหตุเกิดจากดวงตา อาการมองเห็นภาพแย่ลงหรือผิดปกติ มักจะคงอยู่ตลอด เช่น ถ้ามองเห็นภาพเบี้ยว ก็เป็นอยู่ตลอดเวลา ต่อให้ผ่านไปสักพักก็ไม่หาย หรือกะพริบตาอย่างไรก็ไม่หาย ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุจากโรคของดวงตา ตั้งแต่กระจกตาด้านนอกไปจนถึงจอประสาทตา    กรณีที่เป็น ๆ หาย ๆ อาจเกิดจากสาเหตุที่นอกเหนือจากดวงตาของเรา เช่น ความผิดปกติของสมองที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการมองเห็นภาพ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณส่วนการมองเห็นภาพนั้นมีความผิดปกติ (ขาดเลือด) หรือมีอาการเกร็งชั่วคราว มองเห็นภาพมืดไปหลายวินาทีแล้วค่อย ๆ กลับมามองเห็นปกติ อาการเหล่านี้มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุดวงตาโดยตรง การมองเห็นกลางภาพผิดปกติ พบได้บ่อยเกี่ยวข้องกับอะไร ? กรณีเห็นแสงวาบบริเวณตรงกลางภาพ ที่พบได้บ่อย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ยาห้ามใช้ก่อนขับรถ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า ยาบางชนิด ห้ามใช้ก่อนขับขี่รถยนต์ เพราะอาจทำให้เกิดการง่วงซึม และเป็นอันตรายในขณะขับรถได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มียาหลายชนิดไม่ควรกินถ้าจะต้องขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร รวมถึงคนที่ทำงานอยู่บนที่สูง จะทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะยาเหล่านี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดภาวะง่วงซึมได้ มีทั้งง่วงมากและง่วงน้อย ภาวะ “ง่วงซึม” ที่เกิดจากการกินยาเรียกว่า “ผลข้างเคียงจากยา” (side effect) ซึ่งรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ยาชนิดที่ 1 “ยาแก้ปวด” ห้ามกินก่อนขับรถ จริงหรือ ? ยาแก้ปวดทุกชนิดไม่ได้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง ตัวอย่างยาแก้ปวดที่กินแล้วไม่มีภาวะง่วงซึม ได้แก่ 1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ที่ทางการแพทย์เรียกว่า “อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) 2. ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs : non-steroidal antiinflammatory drugs) เป็นยาบรรเทาอาการปวดและอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาไดโคลฟีแนก (Diclofenac) มียาแก้ปวดบางชนิดที่กินแล้วไม่ควรขับรถ ได้แก่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะการมองเห็นภาพบิดเบี้ยว

ภาวะการเห็นภาพบิดเบี้ยวเกิดจากสาเหตุใด จะเกิดขึ้นกับคนกลุ่มไหน และจะเป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว (Distort image) หรือทางการแพทย์เรียกว่า เมทามอร์ฟอปเซีย (Metamorphopsia)  การมองเห็นภาพบิดเบี้ยวพบได้บ่อย เป็นภาวะที่แสดงให้เห็นความผิดปกติของจุดรับภาพชัด (Macular) จอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration)  การมองเห็นภาพบิดเบี้ยวเกิดได้จากสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ 1. ภาวะจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age-related macular degeneration : AMD) จอประสาทตาเป็นอวัยวะของดวงตาที่ทำงานหนักตลอดเวลามากที่สุด บริเวณจุดรับภาพจะถูกแสงกระทบตั้งแต่ลืมตาตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน คนที่จุดรับภาพชัดบริเวณจอประสาทตาเสื่อมจะทำให้มองเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือภาพตรงกลางบางส่วนหายไป หรือเหมือนมีเงาดำบังอยู่กลางภาพแต่ไม่ได้ลอยไปลอยมา แตกต่างจากกรณีมีตะกอนในวุ้นลูกตาที่อาจมองเห็นเหมือนหยากไย่หรือเงาลอยไปลอยมา ในผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จุดรับภาพชัดเสื่อม หรือมีหลอดเลือดผิดปกติเกิดขึ้นทำให้การมองเห็นภาพบิดเบี้ยว กรณีจุดรับภาพชัดที่จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ถ้าเป็นระยะแรกมีอาการไม่มาก ไม่สามารถฉีดยาหรือทำเลเซอร์ได้ จักษุแพทย์จะให้แผ่นตรวจจอประสาทตาด้วยตนเอง ที่เรียกว่า Amsler Grid และถ้ามีอาการมองเห็นภาพบิดเบี้ยวมากขึ้นก็จะต้องรีบไปพบจักษุแพทย์ 2. อาการบวมน้ำที่จุดรับภาพ (macular edema) เพราะในคนอายุน้อยก็อาจมีความผิดปกติของจุดรับภาพชัดบริเวณจอประสาทตาได้เช่นกัน คือมองเห็นภาพบิดเบี้ยว มักจะพบในคนที่อยู่ในสถานการณ์แข่งขันสูงและมีความเครียดมาก คนที่มีอาการบวมน้ำที่จุดรับภาพจะมองเห็นมีสีเทา ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ป้องกันและรักษาโรคไอกรน

“ไอกรน” โรคติดต่อที่อาจรุนแรงในผู้ป่วยบางกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กเล็ก เป็นแล้วจะต้องรักษาอย่างไร ป้องกันด้วยวิธีใดได้บ้าง ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถ้าตัวท่าน หรือลูกหลาน มีอาการไอ ไอนาน มีอาเจียนหลังไอ อาจจะต้องไปพบแพทย์ตรวจว่าเป็นไอกรนหรือไม่ ตรวจแล้วถ้าไม่ใช่ไอกรน เป็นโรคอื่นหรือไม่ ที่ทำให้ไอมากและไอนาน ถ้าเป็นไอกรนจริง มียารักษา เพราะการรักษาง่ายมาก กินยา 5 วันก็หายแล้ว การกินยารักษาไอกรน นอกจากทำให้ตัวเราเองอาการดีขึ้นแล้ว ยังลดโอกาสการแพร่เชื้อให้กับคนอื่นได้ด้วย สมมุติมีประวัติสัมผัสโรค เช่น มีเด็กในบ้านป่วย แพทย์ยืนยันว่าเป็นโรคไอกรนแน่นอน และคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันเริ่มมีอาการไข้คล้ายไข้หวัด ไอ มีน้ำมูก ควรจะต้องไปตรวจเพื่อจะได้รู้ว่าติดไอกรนด้วยหรือไม่ แนวทางการรักษาไอกรน  การรักษาแต่เนิ่น ๆ จะทำให้หายจากโรคได้เร็ว ยับยั้งการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากโรคไอกรน (Whooping Cough) หรือโรคไอร้อยวัน (pertussis or whooping cough or […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “การนวด” ทำให้ตายได้ไหม ?

“การนวด” ถือเป็นวิธีบำบัดที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย การนวดไม่เพียงช่วยผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ แต่ยังส่งเสริมสุขภาพในหลายด้าน เช่น การลดอาการปวดกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด และบรรเทาความเครียด อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจสงสัยว่า “การนวดมีความเสี่ยงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่?” อนุสาขากระดูกสันหลัง ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย มีคำแนะนำดังต่อไปนี้ “การนวด” ทำให้ตายได้ไหม ? คำตอบคือ มีความเป็นไปได้ในบางกรณี ซึ่งโดยมากเกิดจากภาวะ/โรคของระบบหลอดเลือด หรือระบบประสาท (โดยเฉพาะไขสันหลัง) ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้คือไม่ได้เสียชีวิตโดยตรงจากการนวด แต่อาการแย่ลงจากการนวดที่ไม่เหมาะสมกับโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้ตัวเลย หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์มาก่อน โดยทั่วไปจึงแนะนำว่า หากมีโรคและภาวะดังต่อไปนี้ ควรหลีกเลี่ยงการนวด เนื่องจากมีโอกาสเกิดอันตรายได้ภายหลังการนวด 1. โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและข้อ เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Herniated Disc) เนื่องจาก การกดหรือดัดแรง ๆ อาจเพิ่มแรงกดทับต่อเส้นประสาท ทำให้อาการปวดหรืออาการอ่อนแรงนั้นแย่ลง โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนอาจเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูก หากถูกกดหรือดัดแรง โรคข้อต่อกระดูกคอหลวม (C1/2 Instability) หรือโรคหินปูนพอกเส้นเอ็น (Ossified Posterior Longitudinal Ligament: […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “นวดไทย” ไม่ทำให้เสียชีวิต

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข แนะท่านวดที่ถูกต้องได้มาตรฐาน รวมถึงวิธีการตรวจสอบสถานประกอบการฯ ก่อนรับบริการเพิ่มความมั่นใจนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย “ผิง ชญาดา” ว่า ภายหลังข้อมูลการเอกซเรย์และการตรวจ MRI สรุปวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยเป็น “โรคไขสันหลังอักเสบ” และเสียชีวิตจากการ “ติดเชื้อในกระแสเลือด” ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการนวด และขอให้ประชาชนมั่นใจเรื่องการนวดแผนไทยและการแพทย์แผนไทย เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อการตรวจคุณภาพสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทยให้มีมาตรฐานกรมการแพทย์แผนไทยฯ แนะนำการนวดไทยที่ถูกต้อง นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข อธิบายศาสตร์การรักษา “นวดแผนไทย” ว่า การนวดไทยเป็นกระบวนการดูแลสุขภาพที่ต้องมีหลักการหรือองค์ความรู้ในการนวดตามแนวเส้นประธานสิบ ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย สำหรับการนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การนวดเพื่อผ่อนคลาย/นวดเพื่อสุขภาพ และการนวดเพื่อการรักษา ประกอบด้วยหลักสูตรนวดเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง กลุ่มนี้จะไม่มีการบิด ดัด แต่เป็นการนวดคอ บ่า แขน ขา สะบักและหลัง วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  หลักสูตรการนวดเพื่อการรักษา เป็นหลักสูตรการเรียนตั้งแต่ 330-1,300 ชั่วโมง (มีตั้งแต่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัวแบบไหน ต้องไปหาหมอ

“ปวดศีรษะ” หรือ “ปวดหัว” อาการที่หลายคนเคยเป็นและเคยหาย แต่ปวดมากแค่ไหนต้องไปพบแพทย์ ปวดศีรษะแบบไหนกินยาก็เพียงพอแล้ว หรือปวดศีรษะแบบไหน เป็นสัญญาณอันตราย ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย อาการ “ปวดศีรษะ” อาจจะเป็นสัญญาณที่ทำให้ต้องหันมามองตัวเองว่า “ทำไมถึงปวด” มีอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ร่างกายบ่งชี้ หรือเป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องดูแลตัวเองมากขึ้น หรือต้องไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่คนที่ปวดศีรษะมักจะไม่อยากไปพบแพทย์ คิดว่าปวดศีรษะแบบตึงเครียดธรรมดาเดี๋ยวก็หายเอง ดังนั้น ต้องประเมินด้วยว่าอาการปวดศีรษะรบกวนชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ การปล่อยอาการปวดศีรษะทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้เริ่มยาที่ถูกต้อง และมีการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ถูกต้อง สุดท้ายก็จะกลายเป็นปวดศีรษะแบบเรื้อรัง ขอแนะนำว่าควรได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ใช้ขนาดยาที่ถูกต้อง และ/หรือ ได้รับการดูแลรักษาในระยะเวลาที่ถูกต้อง “อาการปวดศีรษะ” ไม่สามารถหายได้เองทุกอาการ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะยิ่งเพิ่มโอกาส “ปวดเรื้อรัง” ? กรณีผู้ป่วยไมเกรน ส่วนหนึ่งร่างกายทำงานหนัก เช่น อดนอน หรือมีภาวะเครียด ก็ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนขึ้นมา ดังนั้น […]

1 2 3 19