fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ฝีดาษวานรแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne) จริงหรือ?

05 กันยายน 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรค Mpox หรือฝีดาษวานร เผยแพร่ทางเว็บไซต์และ Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าฝีดาษวานรสามารถแพร่เชื้อทางอากาศหรือ Airborne Transmission จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัว


บทสรุป :

ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าไวรัส Mpox หรือฝีดาษวานร มีการแพร่เชื้อทางอากาศในแบบ Airborne แต่อย่างใด

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :


Airborne Transmission กับ Droplet Transmission

การแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne Transmission) คือการแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองที่สามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานและสามารถเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่นได้ ผ่านการหายใจ การพูด การไอ จาม หรือกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดอนุภาคละอองลอย (Aerosol) หรือละอองฝอย (Droplets) ขนาดเล็ก

การแพร่เชื้อจากฝอยละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet Transmission) คือการแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน โดยทั่วไปฝอยละอองเหล่านี้จะอยู่ในอากาศได้ไม่นานและแพร่ไปไม่ไกล

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการแพร่เชื้อผ่าน Droplet Transmission จะมีความเสี่ยงหากอยู่ใกล้กับจุดกำเนิดของการแพร่เชื้อมากกว่า 1 เมตร ต่างจากการแพร่เชื้อผ่าน Airborne Transmission ที่ละอองลอยสามารถแพร่เชื้อโรคไปได้ไกลกว่า 1 เมตร

มีข้อมูลพบว่าละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ไมครอน มักตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่เกิน 2 เมตรจากจุดกำเนิด

CDC ยืนยันว่า Mpox ไม่ใช่ Airborne Transmission

ข้อมูลปี 2022 ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่า การแพร่เชื้อของฝีดาษวานรมีความแตกต่างจากโรคหัดและโควิด-19 เนื่องจากไม่พบว่าไวรัสล่องลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน

โดยปัจจุบันแม้จะพบผู้ติดเชื้อฝีดาษวานรเดินทางข้ามประเทศ แต่ยังไม่พบว่ามีผู้โดยสารบนเครื่องบินลำเดียวกับผู้ติดเชื้อแล้วมีอาการป่วยเป็นไข้ฝีดาษวานร

เมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งยุโรป (ECDC) และกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ (HHS) ประกาศให้ภัยจากการระบาดของไวรัสฝีดาษวานรในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำมากหรือ Very Low โดยปัจจุบัน HHS ยังไม่แนะนำให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการติดเชื้ออีกด้วย

การประกาศ PHEIC โดย WHO

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2024 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) เนื่องจากพบการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรสายพันธุ์ใหม่ในประเทศคองโกเมื่อปี 2023 (Clade Ib) ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์ที่ทำให้ไวรัสฝีดาษวานรแพร่ระบาดในหลายประเทศเมื่อปี 2022 (Clade II)

ไวรัสฝีดาษวานรสายพันธุ์ Clade Ib เริ่มพบการระบาดที่เมืองคามิตูกา ประเทศคองโก เมื่อเดือนกันยายน 2023 ก่อนจะระบาดไปทั่วคองโกในเดือนมกราคม 2024 และกลายเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับทวีปแอฟริกาในเดือนสิงหาคม 2024 หลังพบการระบาดนอกประเทศคองโกเป็นครั้งแรก ทั้งประเทศที่อยู่ใกล้เคียง อาทิ บุรุนดี เคนยา รวันดา ยูกันดา รวมถึงการพบผู้ติดเชื้อในประเทศสวีเดนและประเทศไทย

โดยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อ Clade Ib มากกว่า 18,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 500 ราย

โดยพบว่าไวรัสฝีดาษวานรสายพันธุ์ Clade Ib มีการกลายพันธุ์ที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าไวรัสฝีดาษวานรเมื่อปี 2022 จากต่ำกว่า 1% เพิ่มมาเป็น 3–4%

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (ACDC) พบว่า 70% ของผู้ติดเชื้อในคองโกเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งเด็กยังถือเป็นกลุ่มผู้เสียชีวิต 85% ของผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงอีกด้วย นำไปสู่ความกังวลถึงปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรในเด็กที่อาศัยอย่างแออัดในแคมป์ผู้ลี้ภัยในประเทศคองโก

ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสฝีดาษวานรอย่างมีประสิทธิผล คือการรณรงค์การฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายในชาติที่พบการระบาดในแอฟริกา เพื่อป้องกันไม่ให้การแพร่ระบาดลุกลามไปในวงกว้างกว่าเดิม

ข้อมูลอ้างอิง :

https://leadstories.com/hoax-alert/2024/08/fact-check-monkeypox-virus-not-known-to-spread-through-airborne-transmission.html
https://apnews.com/article/what-is-mpox-monkey-pox-congo-emergency-415d11f9e62d104b4c40dd8fe8e80b47
https://en.wikipedia.org/wiki/2023%E2%80%932024_mpox_epidemic
https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/modes-of-transmission-of-virus-causing-covid-19-implications-for-ipc-precaution-recommendations
https://www.cdc.gov/media/releases/2022/0509-monkeypox-transmission.html

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

คนร้ายฆ่าสาวโบลท์ เครียด ซัดมีอีก 2 คนยังไม่โดนจับ

เครียด! “ไอ้แม็ก” มือฆ่าชิงทรัพย์สาวโบลท์ ใช้หัวโขกลูกกรง สน.มีนบุรี จนตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ ซัดมีอีก 2 คนยังไม่โดนจับ ล่าสุดคุมตัวไปฝากขังแล้ว

กรมอุตุฯ เผยทั่วไทยฝนตกหนักถึงหนักมาก คลื่นลมแรง

กรมอุตุฯ เผยทั่วไทยฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ส่วนทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนคลื่นลมแรง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้